AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อาหารขยะ ทำลายความทรงจำของลูกน้อย

อาหารขยะ คืออาหารที่ไม่มีประโยชน์ เพราะสารอาหารส่วนใหญ่มีเพียงแค่ น้ำตาล ไขมัน แป้ง และมีโปรตีน วิตามิน เกลือแร่น้อยมาก เช่น น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน ลูกอม หมากฝรั่ง ของทอด และอาหารจานด่วน การรับประทานอาหารขยะมากจนเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย

ถ้าลูกน้อยรับประทานแต่อาหารขยะ อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไขข้อ และโรคอ้วน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ทำให้มีปัญหาต่อความทรงจำ

อาหารขยะ ทำลายความทรงจำได้อย่างไร?

อาจารย์วิชาเภสัชวิทยา มาร์กาเร็ต มอร์ริส มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ค้นพบว่า การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยไขมันอิ่มตัวและน้ำตาล จะทำให้รู้สึกสมองตื้อขึ้นในทันทีทันใด คิดอ่านอะไรไม่ออก ยังทำให้สูญเสียความจำ หนูที่ถูกป้อนอาหารขยะ ไม่อาจจำวัตถุซึ่งถูกย้ายไปยังที่ใหม่ได้ ทำให้ความจำเสื่อมลง โครงสร้างส่วนในการใช้ความคิด ช่วยการเรียนรู้และความจำ กำลังเกิดการอักเสบอย่างหนัก ยังปรากฏว่ายังไม่กลับเป็นปกติ แม้ว่าจะเปลี่ยนมาให้อาหารบำรุงแล้วก็ตาม

อ่านต่อ “อาหารขยะ ทำลายความทรงจำของลูกน้อย” คลิกหน้า 2

จากงานวิจัยของ จอห์น มอร์เลย์และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูริ ได้ศึกษาหนูที่รับประทานอาหารไขมันสูงเข้าไป ทำให้เสียความทรงจำ นอกจากนี้ ในอาหารขยะยังมีสารแต่งสีอาหาร สารกันบูด สารกันหืน สารเพิ่มเนื้อ สารทำให้ข้น และผงชูรส ซึ่งเป็นสารที่ก่อภูมิแพ้

ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้นำเสนอในการประชุมประจำปีทางด้านประสาทวิทยา ณ เมืองซานดิเอโก ว่า จากผลการศึกษาทุกการทดสอบจากสัตว์ทดลอง พบว่า การเรียนรู้ และความทรงจำนั้น มีผลกระทบมาจากอาหารไขมันสูง

มีการให้อาหารที่มีไขมัน และคาร์โบไฮเดรตสูงกับสัตว์ทดลอง นานกว่า 8 สัปดาห์ เอนซารอต แกรนโฮม แห่งม.แพทย์ศาสตร์ของเซาน์แคโรไลนา เมืองชาร์ลตัน กล่าวสรุปว่า หนูที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง มีโอกาสในการทำผิดพลาดได้มากกว่า ปัญหาด้านความทรงจำ เป็นปัญหาที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูง

อาหารพวกแฮมเบอร์เกอร์ เฟรนซ์ฟราย พิซซ่า น้ำอัดลม ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่มีโปรตีนน้อย คุณค่าทางโภชนาการต่ำ ไม่ควรรับประทานเป็นมื้อหลัก ถ้ารับประทานไปมากๆ อาจส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคหัวใจ เพราะมีคอเลสเตอรอลสูง โรคข้อกระดูกอักเสบ เพราะน้ำหนักตัวมากเกินไป โรคตับ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เพราะใช้ชีวิตเร่งรีบ ไม่มีเวลา ไม่อยากเสียเวลาปรุงอาหารรับประทานเอง จึงเลือกรับประทานอาหารขยะ เพราะสะดวก และรวดเร็ว แล้วเลือกซื้ออาหารเสริม อาหารราคาแพง มาเพิ่มเติมคุณค่าทางอาหารที่ขาดหายไป

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และพักผ่อนให้เพียงพอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความทรงจำของลูกน้อย

อ่านต่อ “ผลของการรับประทานอาหารที่มีต่อสมอง” คลิกหน้า 3

ผลของการรับประทานอาหารที่มีต่อสมอง

ผศ.ดร.นพ.ประกอบ ผู้วิบูลย์สุข ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อสมอง ดังนี้

1.การวิจัยในนอร์เวย์ ศึกษาคุณแม่ และลูกน้อย 23,020 คน มากว่า 5 ปี พบว่า คุณแม่ และลูกน้อยที่รับประทานอาหารขยะบ่อยๆ มักมีปัญหาเป็นเด็กก้าวร้าว ซุกซน งอแง ร้องกวน ขี้กังวล เครียด เศร้าง่าย

2.อาหารประเภทไขมันอิ่มตัว ทำให้เกิดอาหารซึมเศร้า และเครียดง่าย

3.การวิจัยสเปนใช้อาสาสมัคร 9,000 คน พบว่าอาหารขยะ และความเสื่อมสภาพของสมองสัมพันธ์กัน และคนที่รับประทานอาหารอบ เช่น ครัวซอง โดนัท เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

4.อาหารที่มีไขมันสูง จะเข้าไปขัดขวางการกำจัดโปรตีน amyloid ทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ได้

5.การวิจัย Boston Puerto Rican Health Study อาสาสมัคร 737 คน พบว่า การรับประทานน้ำตาลมากๆ ทำให้สมองทำงานแย่ลง

6.ผู้สูงอายุที่รับประทานคาร์โบไฮเดรตสูง มีความเสี่ยงทำให้สมองแย่ลง 3.6 เท่า

7.น้ำตาลฟรุคโตสที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ สามารถทำลายการเชื่อมโยงในระบบสมอง ส่งผลให้ความทรงจำเรื่องตำแหน่ง และสถานที่ รวมถึงการวิเคราะห์ด้านต่างๆ แย่ลง

8.ถ้าจะรับประทานช็อกโกแลต แนะนำให้รับประทาน ดาร์คช็อกโกแลต นอกจากจะไม่ทำลายสมองแล้ว ยังช่วยให้อารมณ์ดี

9.อาหารที่เต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรตปรุงแต่ง โดยเฉพาะข้าวขัดสี เติมน้ำตาล อาหารประเภทไขมันทรานส์ จะนำไปสู่ความเสื่อมของสมอง และทำให้เป็นโรคจิตเวช

10.อาหารที่มีผลดีต่อสมอง คือ อาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ อาหารทะเล และโอเมก้า 3

อ่านต่อ “7 คำแนะนำหลีกเลี่ยงเสี่ยงอัลไซเมอร์” คลิกหน้า 4

7 คำแนะนำหลีกเลี่ยงเสี่ยงอัลไซเมอร์

1.ลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์

2.อาหารที่ควรรับประทานเป็นหลักคือ ผัก ผลไม้ อาหารประเภทถั่ว ข้าวไม่ขัดสี

3.รับประทานอาหารประเภทถั่ว วันละ 30 กรัมทุกวัน เพื่อให้ได้วิตามินอี

4.รับประทานอาหารให้ได้วิตามินบี 12 อย่างน้อยวันละ 2.4 ไมโครกรัม

5.ถ้ารับประทานวิตามินเสริม ควรเลือกที่ไม่มีธาตุเหล็ก และทองแดง ถ้าจะรับประทานธาตุเหล็กควรปรึกษาแพทย์ก่อน

6.หลีกเลี่ยงส่วนประกอบอาหาร เช่น ยาลดกรด ผงฟู หรืออาหารที่เป็นธาตุอะลูมิเนียม

7.ออกกำลังกายแบบแอโรบิกให้ได้เท่ากับเดินเร็ว 40 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

เครดิต: www.nextsteptv.com, ผู้จัดการออนไลน์, วงการแพทย์, ไทยรัฐออนไลน์

อ่านเพิ่มเติม คลิก!

11 วายร้าย!! ทำลายสมองลูก

“อาหารตามวัย” กินอย่างไรให้ลูกแข็งแรง

อาหารตามช่วงวัย ตั้งแต่ทารกถึงเด็กเล็ก