AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พ่อแม่ระวัง! ลูกน้อยกินขนมเปี๊ยะมีสารกันบูด

เครดิตภาพ: มติชน

ขนมเปี๊ยะ เป็นขนมที่นิยมใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ของชาวจีน มีความหมายแห่งความเป็นศิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีของผู้ให้ที่มีต่อผู้รับ แสดงถึงความสามัคคี ขนมเปี๊ยะมีหลากหลายรสชาติ แต่เป็นขนมที่เน่าเสียง่าย คุณพ่อ คุณแม่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าขนมเปี๊ยะปลอดภัยกับลูก

ขนมเปี๊ยะ พบสารกันบูด

ขนมเปี๊ยะส่วนใหญ่ ทำจากแป้งที่มีไส้ด้านใน ประกอบด้วย แป้งสาลี ไขมัน หรือน้ำมัน น้ำตาล น้ำ เกลือ ไข่ และส่วนผสมอื่นๆ และมีหลากหลายไส้ เช่น ไส้ถั่วเขียว ไส้ถั่วแดง ไส้ถั่วดำ ไส้ฟัก ไส้เผือก ไส้งาดำ เป็นต้น ซึ่งเป็นขนมที่มีไส้เยอะ และมีความชื้นสูง ทำให้มักเกิดเชื้อรา และจุลินทรีย์ปนเปื้อนได้ง่าย จึงเน่าเสียง่าย พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ จึงต้องใส่สารกันบูดลงไป เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก เพื่อให้ขนมอยู่ได้นาน

เครดิตภาพ: ไทยรัฐ

กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอต เป็นสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ดี แต่ถ้าร่างกายได้รับกรดเบนโซอิกเข้าไปในปริมาณสูงมากๆ อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และมีอาการเลือดตกใน เป็นอัมพาตได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “พ่อแม่ระวัง! ลูกน้อยกินขนมเปี๊ยะมีสารกันบูด” คลิกหน้า 2

เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา น.ส.มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านอาหาร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้แถลงข่าว เกี่ยวกับการทดสอบสารกันบูดในขนมเปี๊ยะ โดยสุ่มทดสอบขนมเปี๊ยะจำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่ามีเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้น ที่ไม่มีการปนเปื้อนของสารกันบูด

ส่วนที่เหลืออีก 12 ตัวอย่างพบสารกันบูดทั้งหมด และมี 3 ตัวอย่างที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย เพราะแจ้งบนฉลากว่าไม่ใส่สารกันบูด

เครดิตภาพ: มติชน

ตามกฎหมายแล้ว จะอนุญาตให้ใช้สารกันบูดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งพบว่าขนมเปี๊ยะที่นำมาทำการทดสอบ มีปริมาณของสารกันบูดอยู่ระหว่าง 12.85 – 58.77 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือเฉลี่ย 20.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งพบน้อยมาก และไม่เกินมาตรฐาน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “พ่อแม่ระวัง! ลูกน้อยกินขนมเปี๊ยะมีสารกันบูด” คลิกหน้า 3

ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณสารกันบูดไม่เกินมาตรฐาน แต่เนื่องจากในแต่ละวัน คนเรารับประทานอาหารจากหลายแหล่ง อาจจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารกันบูดในปริมาณสูง ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน และเมื่อได้รับประทานมาเป็นเวลานาน ร่างกายขับถ่ายออกมาไม่หมด อาจสะสม และก่อให้เกิดพิษเรื้อรังได้

และยังพบปัญหาอื่นๆ คือ ผู้ผลิตแจ้งบนฉลากว่าไม่ใส่สารกันบูด แต่ผลการทดสอบพบว่ามีการปนเปื้อนสารกันบูด ความทั้งแสดงฉลากที่มีเลข อย. แต่ไม่แสดงข้อมูลว่าใส่สารกันบูด ไม่ระบุวันผลิต วันหมดอายุ

ตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบ มีดังนี้

1.ตัวอย่างที่ไม่พบสารกันบูด 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ขนมเปี๊ยะเหลืองจาก S & P

2.ตัวอย่างที่พบสารกันบูด 12 ตัวอย่าง ได้แก่ อื้อ เล่ง เฮง, ครูสมทรง, แต้เล่าจิ้นเส็ง, ขนมบ้านอัยการ, บ้านสุดที่รัก (Baan Suntiras), แต้ เซ่ง เฮง, ขนมเปี๊ยะปรุงพิเศษ ท่าดินแดง, วิคตอรี่ เบเกอรี่, ร้านสิงห์เพชร, ร้านหมู, ขนมเปี๊ยะบางกระบือ (โง้วฮั่วเตียง), กาโตว์ เฮาส์

เครดิตภาพ: มติชน

คุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อยที่ชอบรับประทานขนมเปี๊ยะ และยังรับประทานอยู่ แนะนำว่าควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย รับประทานขนมเปี๊ยะแค่เพียงบางครั้ง และเช็ควันหมดอายุของขนมเปี๊ยะที่มีสารกันบูดด้วย ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุได้ 1 – 2 เดือน

นอกจากนี้ คุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อย ควรหลีกเลี่ยงอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป และดูฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลโรคทั้งครอบครัว

เครดิต: ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

7 อันดับ อาหารทำลายสุขภาพ ลูกน้อย

หมอแนะ! 4 เทคนิค ฝึกลูกกินข้าวเก่ง

ลำไส้อักเสบ เพราะกินอาหารเสริมก่อนวัยอันควร

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save