ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณสารกันบูดไม่เกินมาตรฐาน แต่เนื่องจากในแต่ละวัน คนเรารับประทานอาหารจากหลายแหล่ง อาจจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารกันบูดในปริมาณสูง ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน และเมื่อได้รับประทานมาเป็นเวลานาน ร่างกายขับถ่ายออกมาไม่หมด อาจสะสม และก่อให้เกิดพิษเรื้อรังได้
และยังพบปัญหาอื่นๆ คือ ผู้ผลิตแจ้งบนฉลากว่าไม่ใส่สารกันบูด แต่ผลการทดสอบพบว่ามีการปนเปื้อนสารกันบูด ความทั้งแสดงฉลากที่มีเลข อย. แต่ไม่แสดงข้อมูลว่าใส่สารกันบูด ไม่ระบุวันผลิต วันหมดอายุ
ตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบ มีดังนี้
1.ตัวอย่างที่ไม่พบสารกันบูด 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ขนมเปี๊ยะเหลืองจาก S & P
2.ตัวอย่างที่พบสารกันบูด 12 ตัวอย่าง ได้แก่ อื้อ เล่ง เฮง, ครูสมทรง, แต้เล่าจิ้นเส็ง, ขนมบ้านอัยการ, บ้านสุดที่รัก (Baan Suntiras), แต้ เซ่ง เฮง, ขนมเปี๊ยะปรุงพิเศษ ท่าดินแดง, วิคตอรี่ เบเกอรี่, ร้านสิงห์เพชร, ร้านหมู, ขนมเปี๊ยะบางกระบือ (โง้วฮั่วเตียง), กาโตว์ เฮาส์

คุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อยที่ชอบรับประทานขนมเปี๊ยะ และยังรับประทานอยู่ แนะนำว่าควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย รับประทานขนมเปี๊ยะแค่เพียงบางครั้ง และเช็ควันหมดอายุของขนมเปี๊ยะที่มีสารกันบูดด้วย ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุได้ 1 – 2 เดือน
นอกจากนี้ คุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อย ควรหลีกเลี่ยงอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป และดูฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลโรคทั้งครอบครัว
เครดิต: ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
7 อันดับ อาหารทำลายสุขภาพ ลูกน้อย
หมอแนะ! 4 เทคนิค ฝึกลูกกินข้าวเก่ง
ลำไส้อักเสบ เพราะกินอาหารเสริมก่อนวัยอันควร
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่