ปลา หนึ่งใน อาหารบำรุงสมองลูก ที่คุณแม่สามารเลือกนำมาทำเป็นเมนูแสนอร่อยให้กับลูกน้อยได้ ยิ่งทำให้ลูกกินในมื้อเช้าก็ยิ่งได้ประโยชน์เต็มคำ แถมยังอิ่มท้อง ช่วยให้ลูกพร้อมเรียนรู้ได้ตลอดทั้งวันอีกด้วย
การให้ลูกน้อยได้รับประทานอาหารที่ดี เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยบำรุงสมอง ซึ่งคุณแม่สามารถเริ่มต้นดูแลสมองของลูกน้อยอย่างง่ายๆ ด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสมองและความจำที่ดีจะได้อยู่กับลูกน้อยไปนานๆ ซึ่งหากพูดถึงแหล่งอาหารที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง ก็คงหนีไม่พ้น ปลา
ก็จริงอย่างที่เขาว่ากันว่า กินปลาแล้วจะฉลาด โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หรือปลาทูแบบไทยๆ ของบ้านเรา เป็นต้น พวกนี้เป็นอาหารที่ประโยชน์สูงสุดต่อสมองมาก แต่ถ้าหาปลาทะเลมารับประทานลำบาก หรือไม่มีเวลาเตรียมอาหาร ก็สามารถกินอาหารเสริมประเภท น้ำมันปลา แทนได้
Must read : รีวิวทูน่ากระป๋อง ในน้ำเกลือ น้ำแร่และน้ำมัน เลือกแบบไหน?ให้ลูกได้ประโยชน์สูงสุด!
⇒ Must read : รีวิวน้ำมันปลา เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้
เมนูข้าวต้มปลาทู อาหารบำรุงสมองลูก
เสริมความจำดีเยี่ยม
และวันนี้เชฟแม่หมีจึงมีเมนูดี จานเด็ดมาแนะนำคุณแม่ๆ ทั้งหลาย กับ ข้าวต้มปลาทู อาหารบำรุงสมองลูก ช่วยเพิ่มพลังและเสริมความจำที่ดีเยี่ยมให้กับลูกน้อย แต่ก่อนที่จะไปดูขั้นตอนการทำ ชวนคุณแม่ไปรู้จักกับวัตถุดิบสำคัญอย่าง ปลาทู กันว่ามีประโยชน์ และมีวิธีการเลือกซื้อปลาทูสดอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ…
⇒ Must read : รวม 24 ปลาโอเมก้า 3 สูง ที่แม่ควรซื้อให้ลูกกิน!
⇒ Must read : 10 ปลาไทย โอเมก้า 3 สูง! บำรุงสมองสดใส หัวใจแข็งแรง
ปลาทูมีลำตัวแป้นยาวเพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีม่านตาเป็นเยื่อไขมัน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในน่านน้ำที่เป็นทะเลเปิด เช่น อ่าวไทย และทะเลอันดามัน
- ในเนื้อปลาทู 100 กรัม จะมีสารโอเมก้า 3 ประมาณ 2-3 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอกับ ซึ่งจะมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ป้องกัน และแก้ไขโรคความจำเสื่อม ส่งเสริมสภาวะจิตใจ ช่วยบำรุงสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิด
- อุดมด้วย EPAและ DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว โดยสารทั้งสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ลดการจับตัวของเกร็ดเลือดที่ผิดปกติ ในบางรายจึงทำให้เป็นภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือพบการอักเสบ นอกจากนั้นทั้ง EPAและ DHA นี้ยังมีส่วนช่วยในการลดระดับไขมันชนิดที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดหรือหลอดเลือดอุดตันได้
- มีโปรตีนสูงในปลาทู 1 ตัวจะให้โปรตีนสูงถึง 20 กรัมต่อน้ำหนัก100 กรัม ซึ่งโปรตีนที่ได้จากปลาทูจะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
- สรรพคุณของปลาทูมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสโดยปริมาณแคลเซียมในปลาทูจะสูงถึง 170 มิลลิกรัมต่อปลาทูสด 100 กรัม นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยฟอสฟอรัสที่จำเป็นต่อร่างกาน โดยสารอาหารเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ
- ที่สำคัญยังมีราคาถูกและหาซื้อง่าย
อ่านต่อ >> “วัตถุดิบและส่วนผสมของ ข้าวต้มปลาทู มื้อเช้าเพิ่มพลังบำรุงสมอง” คลิกหน้า 2
ขอบคุณข้อมูลจาก : sukkaphap-d.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การเลือกซื้อปลาทู (ทั้งแบบปลาทูสด และปลาทูนึ่ง)
ปลาทูสด
มีวิธีเลือกซื้อไม่ต่างจากปลาทั่วไป โดยให้คุณแม่สังเกตว่าเหงือกมีสีแดงสด ตาใส นูน เมื่อลองดมแล้วไม่มีกลิ่นคาวปลา เนื้อแน่นมีน้ำหนัก ส่วนท้องต้องแน่น ไม่กลวงหรือซ้ำ เมื่อใช้นิ้วกดกลางลำตัวแล้วปล่อยออกรอยยุบจะกลับคืนสู่สภาพเดิม
ปลาทูที่สด ไส้และเครื่องในจะยังอยู่ครบ ซึ่งจะเป็นจุดแรก ๆ ที่จะเน่าและส่งกลิ่นออกมา ส่วนลักษณะภายนอก ที่ควรสังเกตก็คือ ผิวต้องไม่ถลอก ส่วนหลังของตัว ปลาทู มีสีเขียวแกมน้ำเงิน ท้องสีขาวหรือสีเงิน ส่วนหางเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ผิวเงาเมื่อโดนแสง จับแล้วตัวจะมีเมือกลื่นเคลือบอยู่ แสดงว่าปลานั้นสดใหม่ ไม่ผ่านการแช่แข็งมานาน
ปลาทูนึ่ง (ต้ม)
บางคนติดเรียกว่า ปลาทูนึ่ง แต่วิธีทำที่แท้จริงคือ การต้มหรือลวก โดยการหักคอปลาแล้ววางลงเข่งไม้ไผ่ ตัวเล็กจะวาง 3 ตัวต่อเข่ง ใหญ่หน่อยก็เข่งละ 2 ตัว จากนั้นนำเข่งเรียงใส่ภาชนะที่ใหญ่กว่าจนเต็ม แล้ววางลงในหม้อหรือกระทะที่มีน้ำผสมเกลือ ต้มเดือด ๆ เพียงชั่วครู่ก็ยกขึ้นได้ เพราะถ้าต้มนานเนื้อปลาทูจะแตกเละไม่น่ากิน
วิธีเลือก ให้คุณแม่ดูที่ตัวแน่นๆ มีกลิ่นหอมที่เป็นลักษณะของปลาทูต้มสุกใหม่ๆ กลิ่นไม่คาว หัวกับลำตัวติดกันแน่น ตัวอวบอ้วน เนื้อไม่เละ ไม่มีเมือกท้อง และหนังไม่ถลอก ตัวที่เกล็ดปูด ๆ หลังไม่เรียบจะเนื้อมันอร่อยกว่าตัวที่เกล็ดเรียบ ที่สำคัญ เข่งบรรจุต้องสะอาด เพราะเข่งต้องอยู่กับปลามาตั้งแต่กระบวกการนึ่ง การขนส่ง ถ้าเข่งไม่สะอาดก็ดูน่าซื้อไปแล้วครึ่งหนึ่ง
⇒ Must read : 19 วิธีแก้ ก้างปลาติดคอ ที่ถูกต้องและปลอดภัย
วัตถุดิบและส่วนผสมของ ข้าวต้มปลาทู มื้อเช้าเพิ่มพลังบำรุงสมอง
วัตถุดิบและส่วนผสม |
ปริมาณตวง |
ปลาทูนึ่ง แกะเนื้อ |
1 ตัว |
ข้าวสวยหุงสุก |
1 ถ้วย |
หอมหัวใหญ่หั่นบางๆ |
¼ ถ้วย |
น้ำซุป |
1 ถ้วย |
แครอท หั่นสี่เหลี่ยมเล็ก |
2 ช้อนโต๊ะ |
ใบตำลึง |
¼ ถ้วย |
ซีอิ๊วขาว |
2 ช้อนชา |
ชมคลิป >> ขั้นตอนการทำ “ข้าวต้มปลาทู” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ขั้นตอนการทำ มื้อเช้าเพิ่มพลัง ข้าวต้มปลาทู
อาหารบำรุงสมองลูก (เหมาะสำหรับวัย 1-3 ขวบ)
1. ให้คุณแม่ นำข้าวสวยไปต้มกับน้ำซุปให้เดือด
2. จากนั้นก็ใส่แครอทและหอมหัวใหญ่ตามลงไป แล้วต้มจนสุก
3. สุดท้ายปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว พร้อมใส่เนื้อปลาทูและใบตำลึงตามลงไป รอจนส่วนผสมเดือด
4. แล้วจึงตักข้าวต้มใส่ถ้วย พักพออุ่น และนำไปป้อนลูกน้อยได้ทันที
ชมคลิป >> ขั้นตอนการทำ “มื้อเช้าเพิ่มพลัง ข้าวต้มปลาทู
อาหารบำรุงสมองลูกน้อย ได้ด้านล่างนี้เลยค่ะ ⇓
โภชนาการดี๊…ดี ข้าวต้มปลาทู อาหารบำรุงสมองลูก
(เหมาะสำหรับวัย 1-3 ขวบ)
♥ ปลาทู มีโอเมก้า 3 และ 6 บำรุงระบบประสาทและสมอง ♠ ตำลึง มีวิตามินเอ บำรุงสายตา ♦ หอมหัวใหญ่ มีรสหวานช่วยให้เจริญอาหาร
ข้อควรระวังในการเลือกปลามากิน
คือ การได้รับสารปนเปื้อนที่มีในปลาตามธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปลาทะเลจำนวนมากรับสารปนเปื้อนของโลหะหนักจำพวกสารตะกั่วกับสารปรอท สารเคมีประเภทไดออกซิน และพีซีบีที่มีอยู่ในแหล่งน้ำจากทะเลและมหาสมุทร สารเหล่านี้อาจจะสะสมและเป็นอันตรายต่อเด็กน้อยและทารกในครรภ์
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่ทารกอาจได้รับสารปนเปื้อนมากับเนื้อปลาแต่ละชนิด จึงขอแนะนำให้เด็กน้อย หรือคุณแม่ท้องจำกัดปริมาณปลาที่กินอยู่ที่สัปดาห์ละ 2 มื้อ และควรหลีกเลี่ยงการกินปลาฉลามและปลากระทบดาบ เนื่องจากมีข้อมูลระบุว่า ปลาประเภทนี้มีปริมาณสารปรอทปนเปื้อนอยู่สูงกว่าปลาชนิดอื่นๆ
♥ ติดตามเมนูเด็ดอื่น ๆ โดยเชฟแม่หมีเพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ!
ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ ⇓
- สุดยอด เมนูต้านหวัด ป้องกันลูกน้อยไม่ให้ป่วยบ่อย (ซุปมักกะโรนีมะเขือเทศต้านหวัด)
- ข้าวต้มหลากสี อาหารต้านหวัดให้ลูก สูตรดี แสนอร่อยช่วยเพิ่มพลัง!
- เปิดสูตรเด็ด! เมนูบำรุงสมอง ลูกน้อยซูชิข้าวผัดแซลมอน ทำง่ายได้ประโยชน์เต็มคำ (มีคลิป)
- เปิดสูตร เมนูไข่เพิ่มพลัง มื้อเช้าแสนง่าย ช่วยลูกน้อยสมองดี มีกำลัง! (ขนมปังหน้าไข่อบชีส)
- ซุปฟักทอง เมนูอร่อย ทำง่าย! บำรุงสายตาลูกน้อย (มีคลิป)