การเลือกซื้อปลาทู (ทั้งแบบปลาทูสด และปลาทูนึ่ง)
ปลาทูสด
มีวิธีเลือกซื้อไม่ต่างจากปลาทั่วไป โดยให้คุณแม่สังเกตว่าเหงือกมีสีแดงสด ตาใส นูน เมื่อลองดมแล้วไม่มีกลิ่นคาวปลา เนื้อแน่นมีน้ำหนัก ส่วนท้องต้องแน่น ไม่กลวงหรือซ้ำ เมื่อใช้นิ้วกดกลางลำตัวแล้วปล่อยออกรอยยุบจะกลับคืนสู่สภาพเดิม
ปลาทูที่สด ไส้และเครื่องในจะยังอยู่ครบ ซึ่งจะเป็นจุดแรก ๆ ที่จะเน่าและส่งกลิ่นออกมา ส่วนลักษณะภายนอก ที่ควรสังเกตก็คือ ผิวต้องไม่ถลอก ส่วนหลังของตัว ปลาทู มีสีเขียวแกมน้ำเงิน ท้องสีขาวหรือสีเงิน ส่วนหางเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ผิวเงาเมื่อโดนแสง จับแล้วตัวจะมีเมือกลื่นเคลือบอยู่ แสดงว่าปลานั้นสดใหม่ ไม่ผ่านการแช่แข็งมานาน
ปลาทูนึ่ง (ต้ม)
บางคนติดเรียกว่า ปลาทูนึ่ง แต่วิธีทำที่แท้จริงคือ การต้มหรือลวก โดยการหักคอปลาแล้ววางลงเข่งไม้ไผ่ ตัวเล็กจะวาง 3 ตัวต่อเข่ง ใหญ่หน่อยก็เข่งละ 2 ตัว จากนั้นนำเข่งเรียงใส่ภาชนะที่ใหญ่กว่าจนเต็ม แล้ววางลงในหม้อหรือกระทะที่มีน้ำผสมเกลือ ต้มเดือด ๆ เพียงชั่วครู่ก็ยกขึ้นได้ เพราะถ้าต้มนานเนื้อปลาทูจะแตกเละไม่น่ากิน
วิธีเลือก ให้คุณแม่ดูที่ตัวแน่นๆ มีกลิ่นหอมที่เป็นลักษณะของปลาทูต้มสุกใหม่ๆ กลิ่นไม่คาว หัวกับลำตัวติดกันแน่น ตัวอวบอ้วน เนื้อไม่เละ ไม่มีเมือกท้อง และหนังไม่ถลอก ตัวที่เกล็ดปูด ๆ หลังไม่เรียบจะเนื้อมันอร่อยกว่าตัวที่เกล็ดเรียบ ที่สำคัญ เข่งบรรจุต้องสะอาด เพราะเข่งต้องอยู่กับปลามาตั้งแต่กระบวกการนึ่ง การขนส่ง ถ้าเข่งไม่สะอาดก็ดูน่าซื้อไปแล้วครึ่งหนึ่ง
⇒ Must read : 19 วิธีแก้ ก้างปลาติดคอ ที่ถูกต้องและปลอดภัย
วัตถุดิบและส่วนผสมของ ข้าวต้มปลาทู มื้อเช้าเพิ่มพลังบำรุงสมอง
วัตถุดิบและส่วนผสม |
ปริมาณตวง |
ปลาทูนึ่ง แกะเนื้อ |
1 ตัว |
ข้าวสวยหุงสุก |
1 ถ้วย |
หอมหัวใหญ่หั่นบางๆ |
¼ ถ้วย |
น้ำซุป |
1 ถ้วย |
แครอท หั่นสี่เหลี่ยมเล็ก |
2 ช้อนโต๊ะ |
ใบตำลึง |
¼ ถ้วย |
ซีอิ๊วขาว |
2 ช้อนชา |
ชมคลิป >> ขั้นตอนการทำ “ข้าวต้มปลาทู” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่