หากคุณพ่อคุณแม่ อยากให้ลูกตัวสูง และกำลังมองหา วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก อยู่ Amarin Baby & Kids มี 8 ผักแคลเซียมสูง มาแนะนำ สามารถกินแทนนมวัวได้ และรับรองว่าลูกกินแล้วช่วยเร่งความสูง ได้แน่นอน
8 ผักแคลเซียมสูง อีก 1 วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก
อยากให้ลูกสูง ต้องทำอย่างไร ?
เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนต่างก็เฝ้ามองพัฒนาการของลูกน้อยมาโดยตลอด และพยายามสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูก ทั้งในเรื่องพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และทางสมอง ซึ่งการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายในเรื่องของ “ความสูง” ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่หลายคนให้ความสนใจ เพราะเมื่อลูกน้อยตัวโตขึ้นและมีร่างกายที่ สูงยาวเข่าดี หรือดูสมส่วนกับร่างกาย ก็จะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้น่ามองยิ่งขึ้น
ซึ่ง น.พ. วรวัฒน์ เอี่ยวสินพานิช แพทย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท ได้ให้คำแนะนำว่า… เด็กจะมีการเพิ่มความสูงใน 2 ช่วงอายุ คือ ช่วงแรกเกิดจนถึง 2 ปีแรก กับช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งผู้หญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นในช่วงอายุ 11.5 ปี จนถึง 16 ปี ส่วนผู้ชายตั้งแต่อายุ 13 ปี จนถึง 20 ปี
โดยจะเห็นได้ว่า ผู้ชายเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นช้ากว่า และจะมีช่วงอายุที่นานกว่า ดังนั้นใครที่มีลูกสาวจึงควรเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ และ ที่สำคัญ…เด็กผู้หญิงควรจะต้องดูว่าได้รับฮอร์โมนที่ทำให้เป็นสาวเร็วกว่า ปกติหรือไม่ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะอยู่กับอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ได้รับการฉีดฮอร์โมน เข้าไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารพวกฟาสต์ฟู้ด ทำให้เด็กผู้หญิงมีโอกาสเป็นสาวได้เร็วกว่าปกติ เช่น เด็กบางคนอายุแค่ 8 ขวบ ก็มีหน้าอกหรือมีประจำเดือนแล้ว ถ้ามีอาการเช่นนี้ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจและฉีดยาที่จะทำให้เป็นสาวได้ ช้าลง มิฉะนั้นจะมีผลต่อความสูงของเด็กได้ … ทั้งนี้สำหรับปัจจัยที่จะช่วย เพิ่มความสูงให้กับเด็กวัยรุ่นได้มี 4 ประการด้วยกัน
1. กรรมพันธุ์
กรรมพันธุ์มีผลต่อความสูงของเด็กถึง 60-80% นั่นคือ ถ้าพ่อแม่สูง ลูกเกิดมาก็จะมีความสูงอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน หรือบางทีก็จะสูงกว่าพ่อแม่ และถ้าพ่อหรือแม่ที่คนใดคนหนึ่งสูงแต่อีกคนไม่สูง เมื่อลูกเกิดมาก็จะมีความสูงอยู่ในระดับกลางๆ คือ ไม่เตี้ย ไม่สูง
โดยเฉลี่ยแล้วความสูงของลูกนั้นมีสูตรคำนวณ คือ
เด็กชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) หาร 2 ความสูงที่ควรจะเป็น + 8
เด็กหญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) หาร 2 ความสูงที่ควรจะเป็น + 6
อ่านต่อ >> “ปัจจัยที่จะช่วย เพิ่มความสูงให้ลูก” คลิกหน้า 2
2. ปัจจัยภายในร่างกาย
มีอยู่ 3 ตัวแปรสำคัญภายในร่างกายที่มีผลต่อความสูงของเด็กๆ นั่นคือ
- โกรทฮอร์โมน (Human Growth Hormone – HGH) ช่วยในการเจริญเติบโตซึ่งสำคัญที่สุดในการเพิ่มความสูง
- ไทรอยด์ (Thyroid Gland)โดยเฉพาะฮอร์โมนไทร็อกซิน (Thyroxin) ทำหน้าที่กระตุ้นให้กระดูกมีพัฒนาการที่ดี ถ้าขาดฮอร์โมนนี้อาจทำให้มีรูปร่างเตี้ย และไม่สมส่วนได้
- ฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจน Estrogen (ฮอร์โมนเพศหญิง) และเทสโทสเตอโรน Testosterone (ฮอร์โมนเพศชาย) มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงที่เริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว เพราะไปกระตุ้นการหลั่งของโกรทฮอร์โมนให้เพิ่มมากขึ้น และกระตุ้นให้กระดูกยืดยาว
3. การออกกำลังกาย
การเพิ่มความสูงจะต้องใช้กีฬาหรือกิจกรรมที่มีความโลดโผนและกระโดด เช่น บาสเกตบอล กระโดดไกล โหนบาร์ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะกระดูกจะไม่เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ ต้องมีแรงกระแทกจึงจะทำให้กระดูกยืดตัวขึ้นนอกจากนั้นเด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ไม่ควรจะเล่นกล้าม หรือเล่นกีฬาที่หนัก ๆ เช่น ว่ายน้ำ หรือเทนนิส ฯลฯ เพราะจะทำให้สรีระหรือแขนขาไม่เท่ากัน ควรเล่นแต่พอดี อย่าหักโหมเกินไป หรือใช้แขนขาในการเล่นให้เท่า ๆ กันทั้ง 2 ข้าง
4. อาหารและโภชนาการ
การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัยครบถ้วน 5 หมู่ มาตั้งแต่ตอนเล็กๆ จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมวัย และนอกจากการทานอาหารครบหมู่แล้ว คุณแม่ควรต้องส่งเสริมเพิ่มเติมให้ลูกได้ทานอาหารที่มีแคลเซียม หรือผักแคลเซียมสูงอย่างสม่ำเสมอให้กับลูกน้อยด้วย เพราะแคลเซียมสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกได้ดี
ความต้องการปริมาณแคลเซียมในแต่ละวัน
อายุ ช่วง 1-3 ปี 500 มิลลิกรัม
อายุ ช่วง 4-8 ปี 800 มิลลิกรัม
อายุช่วง 9-18 ปี 1,000 – 1,200 มิลลิกรัม
อายุช่วง 19-50 ปี 800 – 1,200 มิลลิกรัม
อายุมากกว่า 50 ปี 1,000 มิลลิกรัม
ซึ่งวิธีเสริมแคลเซียมให้กระดูกของลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่นิยม ก็คือ วิธีเพิ่มความสูงด้วยการดื่มนม โดยมีการศึกษาวิจัยในต่างประเทศหลายแห่งพบว่า การดื่มนมนั้นมีความสัมพันธ์กับความสูงของเด็ก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปริมาณแคลเซียมในนม
นมสดรสจืด 1 กล่อง ที่มีขนาด 200 มิลลิลิตร จะมีแคลเซียมอยู่เพียง 226 มิลลิกรัม ซึ่งก็อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
จึงจำเป็นที่ลูกน้อยต้องดื่มจากนมให้ได้ถึงวันละ 3 กล่องเป็นอย่างน้อย โดยการเลือก นมควรเป็นนมสดธรรมดา ส่วนเด็กที่มีน้ำหนักเกินวัย ก็ให้เลือกนมพร่องมันเนยได้ สำหรับนมที่เสริมแคลเซียมนั้นถือว่าไม่จำเป็น เพราะร่างกายจะดูดซึมนมสดธรรมดาได้ดีที่สุด
แต่ถ้าเด็กคนไหนแพ้นมวัว หรือไม่ชอบกินนมวัว ก็สามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมได้จากแหล่งอาหารอื่นๆ นอกเหนือจาก นมวัว ดังนั้น ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงมี 8 ผักแคลเซียมสูง มาแนะนำ ให้คุณพ่อคุณแม่ไปหามาให้ลูกน้อยรับประทานกัน ว่าแต่จะมี ผักแคลเซียมสูง หรือ ผักกินแล้วสูง ชนิดใดบ้าง ตามมาดูกันเลย
อยากให้ลูกสูง อ่านต่อ >> “8 ผักกินแล้วสูง” คลิกหน้า 3
8 ผักแคลเซียมสูง อาหารเพิ่มความสูงลูกน้อย
การให้ลูกกินอาหาร โดยเฉพาะ อาหารแคลเซียมสูง เป็นอีกหนึ่ง วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก ได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเลือกหาซื้อผักแคลเซียมสูง มาให้ลูกกินแทนนมวัวได้ ซึ่งก็มี ผักเร่งสูง 8 ชนิด ด้วยกัน ดังนี้
1. บร็อคโคลี่
ในบร็อคโคลี่ 1 ถ้วย มีแคลเซียม 114 มิลลิกรัม
เป็นผักที่มีสารอาหารมากที่สุดชนิดหนึ่งจนถูกขนานนามว่าสุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพและนำไปทำอาหารได้อย่างหลากหลาย ทั้งผัด ต้ม นำไปปรุงเป็นซุป หรือจะลวกแล้วนำไปทานกับสลัดก็ได้
2. ตำลึง
สำหรับตำลึง 100 กรัม มีแคลเซียม 126 มิลลิกรัม
ซึ่งตำลึงถือเป็นแหล่งวิตามินเอที่สำคัญ ช่วยบำรุงสายตา เสริมภูมิต้านทานรักษาเบาหวาน อละบำรุงกระดูก แถมช่วยในเรื่องขับถ่าย ได้เป้นอย่างดีอีกด้วย
3. กระถิน
ยอดอ่อนกระถินปริมาณ 100 กรัม มีแคลเซียม 137 มิลลิกรัม
ซึ่งแม้จะเป็นผักริมรั้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่สามารถมองผ่านได้เลยจริง ๆ เพราะกระถินเป็น ผักแคลเซียมสูง ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา แถมยังมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงตับ ขับระดู ขับลม แก้ท้องร่วง และสมานแผลได้อีกด้วย
4. ขี้เหล็ก
ในยอดและใบอ่อนของขี้เหล็ก 100 กรัม จะมีแคลเซียม 156 มิลลิกรัม
ซึ่งขี้เหล็กก็จะมีวิตามินซีอยู่เยอะมากด้วย ทำให้ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด ส่วนในใบอ่อนของขี้เหล็กยังมีสารช่วยคลายเครียด และเป็นยานอนหลับอ่อน ๆ อีกด้วย
5. สะเดา
สะเดา 100 กรัม จะมีแคลเซียม 354 มิลลิกรัม
ซึ่งนอกจากสะเดา จะมีแคลเซียมสูงแล้ว ยังเป็นผักที่มากคุณประโยชน์ เพราะมีสารแอนตี้ออกซิเดนท์ ที่จะช่วยฟื้นฟู และชะลอความเสื่อมต่างๆ ของเซลล์จากการถูกทำร้ายของสารอนุมูลอิสระได้ดีอีกด้วย
6. ผักกระเฉด
สำหรับผักกระเฉด 100 กรัม มีแคลเซียมสูงถึง 387 มิลลิกรัม
ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก เสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้สร้างเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
7. ยอดแค
ในยอดแค 100 กรัม จะมีแคลเซียมสูงถึง 395 มิลลิกรัม
อีกทั้งยอดแค ยังมีโปรตีนมากถึงร้อยละ 36 และเต็มไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
นอกจากนี้วิตามินซีในยอดแคยังช่วยต่อต้านและยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง ได้อีกด้วย
8. ผักแพว
ผักแพว 100 กรัม มีแคลเซียมมากสุด ในบรรดา ผักแคลเซียมสูง ถึง 573 มิลลิกรัม
ซึ่งนอกจากผักแพวจะมีแคลเซียมสูงแล้ว ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก มีคุณสมบัติในการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกายของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี อีกด้วย
อย่างไรก็ดี การดูแลลูกน้อยให้มีพัฒนาการที่ในทุก ๆ ด้านนั้น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสนใจ โดยเฉพาะในด้านร่างกาย ที่ต้องมีการดูแลในเรื่องของโภชนาการให้ถูกต้อง ร่วมกับการออกกำลังกายและการนอนหลับอย่างเพียงพอ เพียงแค่นี้ก็ช่วยเพิ่มความสูงให้ลูกน้อยของคุณได้แล้วล่ะค่ะ
อ่านต่อบทความดีๆ น่าสนใจ คลิก :
- 3 เทคนิค เพิ่มความสูงให้ลูก
- เคล็ดลับเพิ่มความสูง เมื่อถึงช่วง “ยืดตัว”
- โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เช็กน้ำหนักส่วนสูง ความสมส่วนของลูก
- สูตรประมาณส่วนสูงของลูก จากพ่อแม่
- วิธีคำนวณ ส่วนสูงเด็ก ทำได้ด้วย 2 วิธี
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.instagram.com/clean_lovely และ www.edtguide.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่