ปลาโอเมก้าสูง คืออาหารทะเลที่มีไขมันสูง ซึ่งควรเป็นเมนูอันดับแรกที่พ่อแม่ควรเลือกให้ลูกกินเพราะดีต่อสุขภาพ ทั้งด้านสมองและหัวใจ
คุณแม่รู้หรือไม่? ปลาทะเลและน้ำมันปลาคือสุดยอดอาหารที่เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยบำรุงสมองให้ลูกน้อยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังป้องกันโรคหัวใจได้ด้วย แต่ถึงแม้จะกินมานานเท่าไหร่ แต่หากกินไม่ถูกวิธีก็อาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ตรงใจ
หลากประโยชน์ของโอเมก้า 3 จากห้องวิจัย
มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (Maryland University) ประเทศสหรัฐอเมริกา รวบรวมผลงานวิจัยจากวารสารหลายฉบับ พร้อมสรุปประโยชน์ของกรดไขมัน โอเมก้า 3 ไว้อย่างน่าสนใจ โดยพบว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ ลดระดับไขมันร้ายในเลือด ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคซึมเศร้า
อีกทั้งมีการศึกษาพบว่า สมองของผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีปริมาณ กรดไขมันโอเมก้า 3 ต่ำ หากกินอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงเป็นประจำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงหรือป้องกันโรคเกี่ยวกับสมองได้
นอกจากนี้อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงยังช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดไขมันร้าย เช่น ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เพิ่มไขมันดี เช่น เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDLCholesterol) ซึ่งทำหน้าที่พาไขมันร้ายไปกำจัดที่ตับ จึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง
ให้ลูกกิน ปลาโอเมก้าสูง เท่าไร อย่างไรดี!
เรื่องต้องรู้ก่อนกินโอเมก้า 3
สมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา (The AmericanHeart Association) แนะนำความแตกต่างในการกินกรดไขมันโอเมก้า 3 ของแต่ละบุคคลไว้ดังนี้
- ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคหัวใจ = แนะนำให้กินปลา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือกินเนื้อปลาสุกสัปดาห์ละ 7 ออนซ์ (198 กรัม) เทียบกับบ้านเราคือ กินเนื้อปลาสุกให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละประมาณ 13 ช้อนโต๊ะ สำหรับวิธีที่ง่ายกว่าไม่ต้องมานับช้อนให้ยุ่งยากคือ แนะนำให้เลือกกินปลาให้หลากหลายแทนเนื้อสัตว์ชนิดอื่น
- ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี = นอกจากกินปลา ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวสำหรับการเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 ในรูปแบบเม็ดร่วมด้วย โดยเบื้องต้นแนะนำให้ผู้ใหญ่เสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีส่วนประกอบของ EPA และ DHA ที่สกัดจากปลาทะเล วันละ 1 กรัม และไม่แนะนำให้เด็กเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 ในรูปแบบอาหารเสริม เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอไรด์ = นอกจากกินปลา แนะนำให้กินกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีส่วนประกอบของ EPA และ DHA ที่สกัดจากปลาทะเลวันละ 2 – 4 กรัม ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว สำหรับการเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 ในรูปแบบเม็ดร่วมด้วย
- เด็กและคุณแม่ตั้งครรภ์ = องค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) และหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) ออกประกาศเตือนให้เด็กและสตรีมีครรภ์ หลีกเลี่ยงปลาทะเลที่อาจปนเปื้อนสารพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น ปลาฉลาม ,ปลาซอร์ดฟิช ,ปลาคิงแมกเคอเรล และปลาไทล์ฟิช เนื่องจากมีปริมาณสารปรอทตกค้างสูง
พร้อมระบุว่า คนในกลุ่มดังกล่าวสามารถกินปลา เช่น ปลาทูน่ากระป๋องที่ผลิตจากปลาทูน่าสายพันธุ์เล็ก ปลาแซลมอน ,ปลาพอลล็อค ,ปลาแคตฟิช ซึ่งอาจมีสารปนเปื้อนปรอท แต่อยู่ในปริมาณต่ำได้สัปดาห์ละ 12 ออนซ์ หรือ 340 กรัม (ประมาณ 22 ช้อนโต๊ะครึ่ง)
ส่วนสมาคมนักกำหนดอาหารอังกฤษ แนะนำให้
⇒ เด็กอายุ 18 เดือน – 3 ขวบ กินปลา สัปดาห์ละ 2 – 6 ช้อนโต๊ะ
⇒ เด็กอายุ 4 – 6 ปี กินปลาสัปดาห์ละ 4 – 8 ช้อนโต๊ะ
⇒ เด็กอายุ 7 – 11 ปี กินปลาสัปดาห์ละ 6 – 10 ช้อนโต๊ะ ร่วมกับผักผลไม้ ธัญพืช และโปรตีนจากแหล่งอื่น ๆ
นอกจากนี้การกินปลาให้หลากหลาย ไม่กินชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำ ๆ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม
อ่านต่อ “รายชื่อชนิดของปลาโอเมก้า 3 สูง จากทั่วโลก ที่แม่ควรหาซื้อให้ลูกกิน” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เช็กรายชื่อ ชนิดของปลาโอเมก้าสูง จากทั่วโลก
สำหรับปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง ไม่เฉพาะปลาทะเลน้ำลึกจากต่างประเทศ ปลาไทยก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่นกัน โดยปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 ทั้งในปลาไทยและปลาเทศมีดังนี้
จากข้อมูลทั้งหมด เมื่อลองสังเกตดูดีๆ แล้วจะเห็นได้ว่าปริมาณไขมันโอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในปลาน้ำจืดของไทยเรานั้น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่แพ้ปลาทะเลน้ำลึกเลยล่ะค่ะเมื่อเทียบกับราคาที่แสนจะแพงกว่าของปลาทะเลน้ำลึกแล้ว อย่างนี้ก็แค่เดินไปตลาดใกล้บ้านแล้วเลือกซื้อปลาไทยบ้านเรามาประกอบอาหารก็ได้คุณค่าทางโภชนาการเต็มเปี่ยม นอกจากได้สุขภาพที่ดีและยังประหยัดเงินแถมคุ้มค่ากับปลาที่เป็นโปรตีนคุณภาพสูงไขมันต่ำ ไม่อ้วนแล้วยังบำรุงสมองของลูกน้อยอีกด้วย
เรื่องต้องรู้ก่อนกินโอเมก้า 3
นอกจากโอเมก้า 3 จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ก็ยังมีข้อควรระวังที่เราทุกคนต้องใส่ใจ ดังนี้
- ผู้ที่แพ้อาหารทะเลควรหลีกเลี่ยง การเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลา แนะนำให้กินกรดไขมันโอเมก้า 3 จากแหล่งอื่น เช่น น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed Oil) โดยสมาคมมังสวิรัติ (The Vegetarian Society) ของอังกฤษแนะนำให้เสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 โดยใช้น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ปรุงอาหารวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
- ไม่ควรกินกรดไขมันโอเมก้า 3 เกินวันละ 3 กรัม หรือกินปลาที่ปนเปื้อนสารปรอทปริมาณสูงในระยะตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ หากต้องการเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูงควรปรึกษาแพทย์
- ควรงดน้ำมันปลาอย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัดหรือทำฟันเพราะน้ำมันปลามีคุณสมบัติทำให้เลือดแข็งตัวช้า เลือดจึงหยุดไหลยาก
- ควรสังเกตปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 บนผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ เช่น จากคำแนะนำที่ให้กินกรดไขมันโอเมก้า 3 วันละ1,000 มิลลิกรัม หมายถึง ปริมาณรวมของกรดไขมันชนิด EPA และ DHA ไม่ใช่ปริมาณของน้ำมันปลาที่บรรจุในแคปซูล เพราะในน้ำมันปลา 1,000 มิลลิกรัม จะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ หรือ 300 มิลลิกรัมเท่านั้น
อ่านต่อ >> “เทคนิคการเลือกปลาโอเมก้า 3 สูง ที่เหมาะสมก่อนนำมาทำอาหารให้ลูกกิน” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูลจากนิตยสารชีวจิต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เทคนิคการเลือกปลาที่เหมาะสม
เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรรู้ให้ได้ว่าปลานั้นมาจากไหนก็เพื่อเป็นการป้องกันตัวคุณเองด้วยรู้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับสารพิษที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น PCB เป็นสารพิษอุตสาหกรรมที่เชื่อกันว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งพบปริมาณมากในแซลมอนที่เลี้ยงในฟาร์มมากกว่าแซลมอนตามธรรมชาติ
เป็นที่รู้กันว่าสารปรอทจะขัดขวางพัฒนาการสมองในตัวอ่อนทารกและในเด็ก รวมถึงมีผลกับการทำงานของสมองในผู้ใหญ่ แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์จำกัดปริมาณการทานปลาสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีระดับปรอทสูงให้อยู่ที่ 340 กรัม (2-3 หน่วยบริโภค) ต่ออาทิตย์
ซึ่งปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ที่มันจะกินปลาอื่นๆ จำนวนมากและกินปรอทที่อยู่ในปลาที่เป็นเหยื่อของมันไปด้วย มันเป็นปลาที่จะอันตรายมากที่สุด ดังนั้น แม้ว่ามันจะเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ที่ดี แต่คุณก็ควรระวังการทานปลาเหล่านี้มากเกินไป เช่น ฉลาม ปลากระโทงดาบ ปลากระเบื้อง ปลาอินทรี ปลากระโทง ปลาออเรนจ์รัฟฟี่ (Orange roughy) และปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ปลาทูน่าครีบยาวในกระป๋องนั้นมีสารปรอทอยู่ในระดับกลาง ขณะที่ทูน่าพันธุ์ท้องแถบในกระป๋องหรือที่รู้จักกันว่าเป็น Light tuna มีสารปรอทน้อย
เตรียมปลาก่อนทำอาหารอย่างฉลาดและถูกวิธี
ขั้นตอนแรกก็คือเลือกปลาสายพันธุ์ที่เหมาะสม เตรียมปลาก่อนทำอาหารให้ถนอมปริมาณโอเมก้า 3 มากที่สุดโดยไม่ต้องใช้ไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพหรือโซเดียมมากเกินไป (แม้ว่าจะทำให้ปลาอร่อย) นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการบริโภคปลาโดยทั่วๆ ไป
- อบหรือย่างปลาแทนการทอด ซึ่งมันจะเป็นการเพิ่มโอเมก้า 6 ที่เราไม่ต้องการไปในโอเมก้า 3
- ในการลดปริมาณของสารปรอทและสารพิษอื่นๆ ให้ลอกหนังและไขมันด้านนอกของปลาออก ซึ่งมันเป็นบริเวณที่มีสารปรอทสูงกว่าตรงอื่น
- ถ้าคุณกำลังจะเทน้ำในทูน่ากระป๋องออกให้ทำเช่นนี้แค่ทูน่าในน้ำไม่ใช่ทูน่าในน้ำมัน โอเมก้า 3 จะติดอยู่กับน้ำมันได้ดีกว่าน้ำ ดังนั้นคุณจะได้ไม่เทโอเมก้า 3 ออกไปขณะที่คุณเทน้ำมันออกจากกระป๋อง
เพิ่มปลาไปในการทานอาหาร
บางทีลูกอาจจะไม่ใช่เด็กที่ชอบทานปลามากนัก หรือบางทีคุณแม่อาจทำให้ลูกทานปลาที่ไม่ใช่แบบฟิชสติกไม่ได้ ก็ให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และคุณจะสามารถเพิ่มปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ลงไปในเมนูได้มากขึ้น
ลองเปลี่ยนเนื้อสัตว์อื่นๆ เป็นปลา ตัวอย่างเช่น เมนูเคบับย่างนั้นสามารถเปลี่ยนจากเนื้อหรือไก่เป็นแซลมอนหรือทูน่าได้ง่ายมาก หรือสาหร่ายนั้นเป็นที่มาส่วนใหญ่ของโอเมก้า 3 ในปลา ซึ่งสาหร่ายที่ทานได้นั้นได้แก่ สาหร่ายทะเลหรือสาหร่ายเคลป์ที่มี DHA สูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโอเมก้า 3 ไม่ซื้อปลาจากพ่อค้าคนกลางบ้างเป็นบางครั้งหรือจับคู่ปลากับอาหารที่ชอบบ้าง
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- เปิดสูตรเด็ด! เมนูบำรุงสมอง ลูกน้อย ซูชิข้าวผัดแซลมอน ทำง่ายได้ประโยชน์เต็มคำ (มีคลิป)
- สารอาหารสำคัญสำหรับพัฒนาสมองเด็ก
- ปลาที่แม่ไม่ควรกิน (และทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า)
- รีวิวน้ำมันปลา เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้
ขอบคุณข้อมูลจาก : th.wikihow.com