ลูกท้องผูก ระบบขับถ่ายไม่ดี ของแบบนี้แก้ไขได้! - Amarin Baby & Kids
ลูกท้องผูก

ลูกท้องผูก ระบบขับถ่ายไม่ดี ของแบบนี้แก้ไขได้!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกท้องผูก
ลูกท้องผูก

เชื่อสิ! ว่าคนเป็นแม่แทบทุกคนต้องคอยแอบลุ้น แอบเบ่งตามทุกครั้งที่ ลูกท้องผูก หรือ เบ่งอึไม่ออก ก็แหมพ่อคุณแม่คุณเล่นเบ่งเอาหน้าดำหน้าแดงแบบนี้ จะให้คนเป็นแม่อย่างเราไม่รู้สึกห่วงกันได้อย่างไร

แบบไหนเรียกว่า ลูกท้องผูก

อุจจาระที่เป็นก้อนแข็ง อีกทั้งยังหมายถึงความยากลำบากขณะขับถ่าย และต่อให้ลูกขับถ่ายทุกวัน แต่เป็นก้อนเล็ก ๆ แข็ง ๆ ก็สามารถเรียกได้ว่า ลูกท้องผูก แล้วละค่ะ ปกติแล้วเด็ก ๆ จะถ่ายอุจจาระเฉลี่ยวันละ 4 ครั้ง ในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรก ไปจนถึงวันละ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 2 ปี ช่วงนี้ปริมาณอุจจาระจะเพิ่มเป็น 10 เท่า และมีน้ำประมาณร้อยละ 75

สำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูกนั้น จะถ่ายออกมาเป็นก้อนเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือที่พวกเราคุ้นเคยกันดีว่า ลูกกระสุน ต้องเบ่งด้วยความยากลำบาก ทำให้มีอาการปวดท้อง จุกเสียด เนื่องจากอุจจาระตกค้างอยู่ในร่างกาย เด็กท้องผูกนั้นสามารถพบได้ในทุกช่วงวัย และพบมากที่สุดคือช่วงอายุประมาณ 6 เดือน – 4 ปี ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน จากการเบ่งอุจจาระของลูกอาจทำให้เกิดอาการเจ็บก้น เขาจึงพยายามหยุดเบ่งโดยไม่รู้ตัว

ปกติเด็กมักถ่ายอุจจาระทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กแรกเกิดที่กินนมแม่ อาจถ่ายวันละ 5 – 6 ครั้ง แต่เมื่อเด็กโตขึ้น ความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะลดลง  ทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลว่านี่คือ ลูกกำลังท้องผูกหรือไม่

ลูกท้องผูก มีอาการอย่างไร?

  • ถ้าหากเคยถ่ายปกติทุกวันแล้วจู่ ๆ เกิดท้องผูกฉับพลันและมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีประวัติอาเจียนเป็นน้ำดี และมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ต้องนึกถึงภาวะอุดตันของทางเดินอาหาร กันก่อนเลยค่ะ โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด ถ้าไม่ถ่ายขี้เทาใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด อาจจะมีภาวะอุดกั้นของขี้เทาตั้งแต่แรกเกิด
  • สัญญาณความถี่ของการอุจจาระที่บ่งบอกว่าลูกท้องผูก คือการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรืออาจถ่ายทุกวันแต่ต้องเบ่งมากและอุจจาระแข็งอาจจะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายลูกกระสุนปืนอัดลมหรือก้อนใหญ่ ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมากเวลาเบ่งถ่าย หรือบางครั้งอาจมีเลือดติดออกมาด้วยเพราะรูทวารฉีกขาด ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้จะส่งผลให้ลูกจะรู้สึกกลัวการถ่ายอุจจาระจึงพยายามกลั้นเอาไว้ จนทำให้อุจจาระยิ่งมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ และเพิ่มความเจ็บปวดในการขับถ่ายในแต่ละครั้งได้
  • อาการท้องผูกที่ว่านี้มักจะไม่คอยพบในเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ เพราะการกินนมแม่นั้น ย่อยง่าย 

อ่านสาเหตุที่ทำให้ลูกท้องผูกได้ที่หน้าถัดไป

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up