การแพ้อาหารในเด็ก สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และไม่เฉียบพลัน ในที่นี้จะกล่าวถึง ชนิดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน คือที่เกี่ยวข้องกับ อิมมูโนโกลบูลิน อี อาการแพ้อาหารที่พบนั้นแตกต่างกันตามความรุนแรง ตั้งแต่น้อย ปานกลาง และรุนแรงที่สุด
การแพ้อาหารในเด็ก
อาการแพ้อาหารที่รุนแรง จะเกิดปฏิกิริยาเฉียบพลันต่อระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป ซึ่งมีผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไข่ นม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวสาลี งา เมล็ดพืช อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และผลไม้ ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น มีดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพ้อาหาร
1.กรรมพันธุ์ พบว่าถ้ามีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ 1 คน จะมีความเสี่ยงให้เกิดการแพ้อาหาร 40% ถ้าคุณในครอบครัวเป็นภูมิแพ้ 2 คน จะมีความเสี่ยงให้แพ้อาหาร 80%
2.เผ่าพันธุ์ โดยเฉพาะคนผิวดำที่ไม่ใช่คนเอเชีย และเป็นเพศชาย จะมีความเสี่ยงสูงในการแพ้อาหาร
3.การขาดวิตามินดี ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพ้อาหารได้
4.การรับประทานอาหารชนิดเดียวกันซ้ำๆ ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์ เช่น คุณแม่ที่โด๊ปนมวัวขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้ลูกน้อยเกิดความเสี่ยงในการแพ้นมวัวได้
อ่านต่อ “อาหารที่ทำให้แพ้ และช่วงวัยของลูกน้อย” คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ”คลิก!
- อุทาหรณ์เตือนใจทุกครอบครัว! ทารกวัย 7 เดือนเสียชีวิต หลังพ่อแม่หวังดีให้ดื่มนมชนิดนี้แทน นมแม่
- เตือนจากแม่ถึงแม่!! ลูกแพ้อาหาร เพราะแม่ท้องโด๊ปอาหารกลุ่มเสี่ยงมากเกินไป
- สุดยอดไอเดีย คุณแม่ปักข้อความที่เสื้อนักเรียน เตือนเรื่องอาหารที่ลูกแพ้!
- อาหารก่อภูมิแพ้ 8 ชนิดที่พ่อแม่ควรระวัง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สังเกตอาการ แพ้อาหาร
อาการแพ้อาหารแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น
- ทางผิวหนัง ผื่นคันตามตัว ข้อพับ ซอกคอ
- ทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด
- ทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ คันตา คันจมูก ปากบวม ตาบวม
- อื่นๆ นานๆ ครั้งจึงจะพบอาการแพ้ที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ หรือช็อก
การวินิจฉัยส่วนใหญ่ได้จากการสังเกต แต่บางครั้งการเจาะเลือดหรือการตรวจโดยการสะกิดผิวหนังอาจช่วยให้วินิจฉัยได้ ควรปรึกษาแพทย์
การแพ้อาจเป็นครั้งแรกที่กินหรือเคยกินอาหารชนิดนั้นมาก่อนก็ได้ คุณแม่ต้องสังเกตเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงไม่กินอีก ไม่เช่นนั้น ลูกอาจมีอาการแพ้ที่รุนแรงมากขึ้น ความเชื่อที่ว่า ถ้าแพ้สิ่งใด ให้กินสิ่งนั้นเข้าไปเพื่อให้ร่างกายเคยชิน เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น แต่หากหลีกเลี่ยงได้นานหลายปี ภายหลังอาจกลับมากินได้อีก
หากมีอาการอาเจียนจากการแพ้ การรักษา คือการให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้แพ้ น้ำเกลือแร่ชนิดกินเพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียจากร่างกาย
กรณีที่อาการรุนแรง จนกินอาหารหรือน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำและพลังงานอย่างมาก หรือมีอาการแพ้ชนิดที่มีอาการหายใจลำบากหรือภาวะช็อก จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดและแก้ไขภาวะวิกฤติ
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลการรับประทานอาหารของลูกได้โดยการให้รับประทานนมแม่ เพราะนมแม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หลังจากนี้คือการให้อาหารเสริมที่เหมาะสมตามช่วงอายุ โดยแนะนำให้เริ่มประมาณช่วง 4-6 เดือน หลังจากนั้นค่อย ๆ ปรับอาหารเสริม หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้เปลี่ยนอาหารเสริมทุก 3 วัน แต่ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นภูมิแพ้ อาจจะต้องสังเกตอาการดี ๆ และเริ่มทำการปรับอาหารในทุก 1 สัปดาห์
Q : ลูกแพ้นมวัว มีผื่นขึ้นเต็มตัว ควรเริ่มให้อาหารเสริมตอนอายุเท่าไร และควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง
ถ้าลูกแพ้นมวัว ก็แปลว่าเขามีความเสี่ยงที่จะแพ้อาหารชนิดอื่นร่วมด้วย ที่พบบ่อยได้แก่ ไข่ อาหารทะเล (ปลา น้ำปลา กุ้ง หอย น้ำมันหอย ปู ปลาหมึก) แป้งสาลี (ขนมปัง) ถั่วเมล็ดแข็ง (วอลนัท ฮาเซลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์) ผลไม้รสเปรี้ยว (มะเขือเทศ ส้ม มะนาว สตรอเบอรี่ บลูเบอรี่ ราสเบอรี่ กีวี) จึงแนะนำว่า ควรเริ่มป้อนอาหารเหล่านี้หลังจากลูกอายุครบ 2 ขวบ และเมื่อเริ่มให้ ก็ต้องลองทีละอย่างและเริ่มจากปริมาณน้อยๆ ก่อน แล้วดูว่าเขาแพ้อาหารชนิดนั้นหรือเปล่า
ส่วนอาหารเสริมที่ให้ได้ตามปกติ ได้แก่ ผักส่วนใหญ่ เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัวและปลาน้ำจืด แต่ให้เริ่มหลังลูกอายุครบ 6 เดือนไปแล้ว ไม่ควรเริ่มก่อนหน้านั้นเพราะระบบภูมิต้านทานในลำไส้ยังพัฒนาไม่เต็มที่
เด็กบางคนที่แพ้นมวัวอาจแพ้นมถั่วเหลืองด้วย จึงต้องใช้นมชนิดพิเศษที่ย่อยโปรตีนจนกลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก คือ นิวตรามิเจน หรือพรีเจสติมิล ที่สำคัญคือ อย่าลืมเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัว (เนย ชีส ช็อกโกแลต เค้ก คุกกี้ ไอศกรีมนม) และถั่วเหลืองด้วย(เต้าหู้ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊วขาว) และถ้าลูกกินนมแม่ คุณแม่ก็ต้องเลี่ยงอาหารเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อโตขึ้น เด็กที่แพ้นมวัวอาจเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด และแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ละอองหญ้า และขนหมาหรือขนแมว จึงควรเลี่ยงการสัมผัสสารดังกล่าวด้วย
อ่านต่อ “อาหารที่ทำให้แพ้ และช่วงวัยของลูกน้อย” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ”คลิก!
- อาหารอีกหลายอย่างที่เด็กแพ้นมวัวจะเสี่ยงแพ้ด้วย
- 7 เมนูอาหารและขนม สำหรับเด็กแพ้อาหาร
- เด็กชายญี่ปุ่นวัย 6 เดือน เสียชีวิตด้วยโรคโบทูลิซึมในทารก เพราะน้ำผึ้งเป็นเหตุ!
- 15 ชนิด อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids และแพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาหารที่ทำให้แพ้ และช่วงวัยของลูกน้อย
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
- ทดสอบการหายแพ้ของลูกน้อยเอง ระวังช็อกตาย
- อาหารแม่ท้องและให้นมลูก กินอย่างไร? ไม่ให้ลูกแพ้อาหาร
- แพ้อาหาร ภัยเงียบที่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
เครดิต: www.pharmacy.mahidol.ac.th
Save
Save