8 วิธีทาน "อาหารต้านมะเร็ง" กินอย่างไรให้ห่างไกลโรค? - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
อาหารต้านมะเร็ง

8 วิธีทาน “อาหารต้านมะเร็ง” กินอย่างไรให้ห่างไกลโรค?

Alternative Textaccount_circle
event
อาหารต้านมะเร็ง
อาหารต้านมะเร็ง

8 วิธีทาน “อาหารต้านมะเร็ง” กินอย่างไรให้ห่างไกลโรค?

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

ไขมันในอาหารพบได้ทั้งในพืชและในสัตว์ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือกรดไขมันซึ่งสามารถแบ่งประเภทของกรดไขมัน ได้ดังนี้

  • กรดไขมันอิ่มตัว พบมากในอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์และน้ำมันที่ได้จากพืชบางชนิด เช่น เนย ไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม หากร่างกายได้รับกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณมากเกินจำเป็น จะทำให้เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัว พบในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวันและปลา เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลม่อน ปลาทูน่า ปลาจาระเม็ด เป็นต้น การบริโภคกรดไขมันชนิดนี้จะช่วยลดระดับ LDL Cholesterol หรือ คลอเรสเตอรอลตัวร้ายในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

ดังนั้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงการทานไขมันชนิดอิ่มตัว และเลือกทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวแทน

5. ลดเกลือ อาหารหมักดอง อาหารผ่านกรรมวิธี อาหารปิ้งย่าง

เราควรได้รับโซเดียมไม่เกินวันละ 6 กรัมต่อวัน โซเดียม มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกายได้เช่นกัน เราจะพบโซเดียมได้มากในเนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดองและผลไม้ดอง เป็นต้น ดังนั้นจึงควรลดการรับประทานอาหารประเภทหมักดองหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป โดยเฉพาะที่มีการถนอนอาหารหรือปรุงสีด้วยดินประสิว เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

สำหรับอาหารประเภทปิ้งย่าง รมควัน เนื้อสัตว์จนไหม้เกรียมนั้น จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ การนำอาหารไปทำให้สุกโดยไมโครเวฟก่อนนำไปปิ้งย่าง และการนำส่วนที่ไหม้เกรียมทิ้งก่อนการรับประทานจะช่วยลดสารพิษดังกล่าวได้ แต่หากเป็นไปได้ก็ควรลดการทานอาหารประเภทนี้ไปเลย

6. หลีกเลี่ยงขนมและเครื่องดื่มรสหวาน เน้นอาหารหวานน้อย

น้ำตาลให้พลังงานแต่ไม่ได้ให้สารอาหารที่จำเป็นในการลดความเสี่ยงของมะเร็ง น้ำตาลธรรมชาติสามารถหาได้ในผลไม้และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งสามารถเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ น้ำตาลผสม ประเภทที่ถูกเติมลงไปในอาหารระหว่างการแปรรูป เช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อมข้าวโพด และ น้ำผลไม้เข้มข้น ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการรับประทาน การรับประทานน้ำตาลแคลอรี่เกินขนาดสามารถนำไปสู่ภาวะโรคอ้วนและระดับอินซูลินสูง ซึ่งจะมีส่วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง การลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ลูกกวาด ขนมเบเกอรี่ ซีเรียลผสมน้ำตาล และเครื่องดื่มรสหวาน จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้

อาหารป้องกันโรค
อาหารต้านมะเร็ง

7. ลดการรับประทานเนื้อแดง

เนื้อสัตว์สีแดงเช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ รวมถึงเนื้อที่ผ่านกรรมวิธี เช่น เบคอน ไส้กรอก เป็นอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง การบริโภคเนื้อสัตว์สีแดงเป็นประจำอาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้และทวารหนัก มะเร็งเต้านมและโรคอ้วน การรับประทานปลาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากปลาเป็นอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงและยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมีปริมาณไขมันน้อย นอกจากนี้ในปลาทะเลน้ำลึกยังพบว่ามีกรดไขมันที่เรียกว่า โอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกายช่วยให้การทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้

8. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สารเอทานอล ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เมื่อถูกย่อยสลายในร่างกายแล้ว จะกลายเป็นสารที่มีชื่อว่า อะเซทแอลดีไฮด์ ซึ่งมีผลทำให้เซลล์ในร่างกายอ่อนแอลง สำหรับผู้สูบบุหรี่เป็นประจำก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้นตามไปด้วย มีคำแนะนำในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อวัน ดังนี้

  • ผู้ชายไม่ควรดื่มกิน 2 หน่วยต่อวัน
  • ผู้หญิงไม่ควรเกิน 1 หน่วยต่อวัน
  • (1 หน่วย = ไวน์ 1 แก้ว / สุรา 1 เป๊ก / เบียร์น้อยกว่า 5 ดีกรี 1 กระป๋อง)

วิธีทาน อาหารต้านมะเร็ง นั้นทำได้ไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะคะ หากทำตามวิธีดังกล่าวนี้ นอกจากจะทำให้เราห่างไกลจากโรคมะเร็งแล้ว ยังทำให้เรามีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีได้อีกด้วย

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจคลิก

10 อาหารก่อมะเร็ง ยิ่งกินมาก ยิ่งทำลายสุขภาพ

7 เมนู “อาหารเช้าสำหรับเด็ก” ในวัยเรียน สูตรทำง่ายครบ 5 หมู่

พบ! 10 ผักที่มีสารเคมีตกค้างมากที่สุด

แม่ลูกอ่อนกินข้าวเร็ว เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด อาจป่วยได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : อ.นพ. นริศร ลักขณานุรักษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, สสส., สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, Honestdocs.co

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up