การ ป้อนกล้วยทารก ก่อนวัยอันควร อันตรายหรือไม่ลองอ่านดู! มีคนเตือนย่าว่า “อย่าป้อนกล้วยให้หลานวัย 4 วัน” ย่าไม่เชื่อแถมอธิบายทฤษฎีดังนี้!
เรื่องการ ป้อนกล้วยทารก ก่อนวัยอันควรในบ้านเรา มีข่าวออกมาให้เห็นมากมาย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นข่าวร้าย ที่หลังจากพ่อแม่มือใหม่ ป้อนกล้วยทารก ก่อนวัยอันควร สุดท้ายลุกน้อยก็เจ็บป่วย หรือบางคนอาจเสียชีวิต เพราะลำไส้เน่า อักเสบนั่นเอง
หมอแนะ! ป้อนกล้วยทารก ก่อนวัย…
ส่งผลเสียร้ายแรงกับลูก มากกว่าที่คุณคิด!
แต่ก็ยังมีหลายกลุ่มคนที่ไม่ชื่อว่า การ ป้อนกล้วยทารก ซึ่งกล้วยนั้นมีประโยชน์มาก แล้วจะทำให้ทารกเสียชีวิตได้อย่างไร โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากปู่ย่า ตายาย คนเฒ่าคนแก่ ที่บ้านหรือข้างบ้าน ที่ล้วนเลี้ยงเรามาด้วย กล้วย และสามารโตขึ้นมามีชีวิตอยู่ได้
สำหรับเรื่องนี้แล้วจากป้าหมอสุธีรา จากเฟซบุ๊กเพจ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ได้ให้คำแนะนำไว้ดีมาก ดังนี้ค่ะ
จากกรณีที่มีคุณย่าครูดกล้วยให้หลานวัย 4 วัน ทานครึ่งใบ พร้อมมโนจิตบอกลูกและญาติพี่น้องว่าโบราณเค้าสอนสั่งกันมา โดยย่าให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้แบบมั่นใจว่า ⇓
ซึ่งป้าหมอก็ได้อธิบาย หลักความจริงทางการแพทย์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการ ป้อนกล้วยทารก ว่า…
ประมาณ 1/4 ของช้อนกินข้าว (15 ซีซี) แสดงว่าหนูน้อยได้กล้วยเข้าไปประมาณ 3-4 ซีซี ซึ่งเกือบเต็มกระเพาะทารกแล้ว นั่นมันน้อยที่ไหน ไม่ใช่ขนาดกระเพาะของย่านะ จะได้บอกว่าน้อยมาก
#ทารกแรกเกิดความจุกระเพาะแค่5 ซีซี
กระเพาะทารกแรกเกิดไม่ได้ถูกโปรแกรมมาให้ย่อยอาหารอื่นนอกจากนม การมีความคาดหวังผิดๆว่าให้ของหนักจะได้หลับยาว นั้นไม่ถูกต้อง เพราะแรกเกิดลูกต้องตื่นมาดูดนมแม่บ่อยๆ แม่จะได้ผลิตน้ำนม
การมโนว่าสารกล้วยที่เป็นเมือกจะไปเคลือบสำไส้ให้แข็งแรง..นั่นก็บิดเบือนไปแล้ว😡..สิ่งที่จะเคลือบให้ลำไส้ลูกแข็งแรงคือนมแม่เท่านั้น🤱
มีทารกมากมายที่เสียชีวิต☠เพราะ..กระเพาะอาหารแตก 🤢 ..ลำไส้ทะลุเพราะกล้วยอุดตันไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ไปได้ ..มีเคสเสียชีวิตเพราะสำลักอาหารลงหลอดลม เพราะระบบการกลืนอาหารแข็งยังไม่พัฒนา
ความจุของกระเพาะอาหารทารกมีขนาดเท่าไร?
วันที่แรก ขนาดกระเพาะอาหารของลูก จะเท่ากับ “ลูกแก้ว” หรือ “ผลเชอรี่” หรือประมาณ 5-7 ซีซี
วันที่สาม ขนาดเท่ากับ “ลูกวอลนัท” หรือประมาณ 22-27 ซีซี
วันที่เจ็ด ขนาดเท่ากับ “ผลแอปปริคอต” หรือประมาณ 45-60 ซีซี
วันที่สามสิบ ขนาดเท่ากับ “ไข่ไก่” หรือประมาณ80-150 ซีซี
เนื่องจากขนาดของกระเพาะทารกแรกเกิดมีขนาดเล็ก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทารกแรกเกิดจึงต้องกินบ่อยๆ และคุณแม่ควรมีความมั่นใจว่า ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของทารกแน่นอน หากมีความจำเป็นต้องเสริมนมผง ควรเสริมเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่เสริมมากจนลูกอิ่มมากเกินไป ข้อเสียของการเสริมนมผง คือ
- ลูกจะนอนเยอะเกินไป จนไม่ได้ดูดนมแม่บ่อยอย่างที่ควรจะเป็น
- เกิดภาวะกระเพาะคราก เคยชินกับการกินปริมาณมากๆ จะหงุดหงิดถ้าได้กินน้อยลง
ทั้งนี้คุณป้าหมอยังบอกอีกว่า หากคุณแม่ท่านใดที่กำลังให้นมแม่ ร่วมกับการเสริมนมผง หากเปลี่ยนใจ ต้องการให้นมแม่ 100 % ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่คลินิกนมแม่
กล้วย VS ข้าว ให้ลูกหม่ำแรกอะไรดีนะ
การให้อาหารตามวัยกับลูกน้อยก็เพราะเขาโตขึ้น ร่างกายต้องการสารอาหารและพลังงานมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มราวอายุ 6-8 เดือน หรือบางคนอาจเร็วกว่านั้น (ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนป้อนอาหารเสริมมื้อแรกให้ลูก)
โดย รศ.ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับการ ป้อนกล้วยทารก และการป้อนข้าว ควรป้อนอะไรก่อน ไว้ว่า….
“ชนิดอาหารที่เริ่มให้ลูกนั้นไม่จำกัดค่ะ จะเป็นกล้วยน้ำว้าสุกขูดเอาแต่เนื้อ หรือข้าวสวยบดก็ไม่ผิดแต่อย่างใด เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายทั้งคู่ แต่มีหลักที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจนั่นคือ ควรเริ่มอาหารตามวัยลูก ด้วยอาหารที่ย่อยง่ายและควรเริ่มให้ลูกกินอาหารทีละอย่าง”
ให้ทีละอย่าง คืออย่างไร?
ระยะแรกเริ่มจาก 1 มื้อ โดยอาจเป็นมื้อกลางวัน เช่น ให้กินกล้วยน้ำว้าสุกขูด 1 มื้อ 1 สัปดาห์ และสัปดาห์ต่อไปค่อยเป็นข้าวบด 1 มื้อ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ค่อยกลับมาเป็นกล้วยบด เป็นต้น การให้ลูกน้อยได้รู้จักอาหารทีละชนิดก็เพื่อสังเกตระบบย่อยระบบขับถ่าย หรือผิวหนังของลูกว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร เช่น จากการแพ้อาหารบางชนิด เป็นต้น
เมื่อดูแล้วว่าร่างกายลูกรับกล้วยหรือข้าวได้แล้ว จึงค่อยเพิ่มชนิดอาหารไปพร้อมกับกล้วยขูดหรือข้าวบดทีละชนิด และสังเกตความเปลี่ยนแปลงอีก เช่น ข้าวบดกับตับจะเติมน้ำซุปก็ได้ ข้าวบดกับไข่แดง หรือข้าวบดกับเต้าหู้หลอด ต่อเมื่อลูกเริ่มกินอาหารได้ดี จึงมีการเติมผักเพิ่มเติม เช่น ตำลึง ฟักทอง ผักหวานเสริมเข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้ครบ 5 หมู่
4 ข้อเริ่มถูก จุดเริ่มต้นนิสัยกินดี
1. เนื้ออาหารค่อนข้างละเอียด ด้วยวิธีบด แต่ไม่ปั่น แม้จะเป็นทารกแต่ลูกน้อยก็มีความพร้อมกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่เนื้ออาหารค่อนข้างละเอียด ด้วยวิธีการบด เพื่อให้กลืนได้ง่าย และลูกจะได้ฝึกทักษะการเคี้ยวและการกลืน
ไม่ควรใช้วิธีปั่นอาหาร เพราะอาหารจะละเอียดเกินไป ลูกไม่ได้ฝึกการเคี้ยว การกลืน จะส่งผลให้เมื่อโตขึ้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกกินอาหารยากขึ้น
2. คอยปรับเนื้ออาหารให้เหมาะสม พ่อแม่จึงต้องหมั่นสังเกตว่าลูกสามารถเคี้ยวและกลืนได้ดีขึ้นหรือยัง และค่อยๆ ปรับเนื้ออาหารหยาบขึ้น เป็นชิ้นเล็กๆ เนื้ออาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับอาหาร ได้สัมผัสรสอาหารมากขึ้น รู้สึกว่าอาหารที่กินอร่อย กินแล้วสนุก จะมีทัศนคติที่ดีกับอาหาร
ส่วนเด็กที่กินแต่อาหารเนื้อละเอียดมาก ทำให้เขาไม่ได้รับสัมผัสและรสชาติของอาหาร เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กินยากเมื่อโตขึ้น
3. ค่อยๆ เพิ่มจำนวนมื้อ ตามช่วงวัย เช่น เมื่ออายุ 6-8 เดือน กินอาหารตามวัย 1 มื้อควบคู่กับนมแม่ อายุ 8- 9 เดือน เพิ่มอาหารตามวัยเป็น 2 มื้อ ควบคู่นมแม่ อายุ 10-12 เดือน เพิ่มอาหารเป็น 3 มื้อควบคู่นมแม่ โดยจัดเวลากินอาหารห่างจากมื้อนม 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกท้องว่างและกินอาหารได้ดีขึ้น
ส่วนปริมาณอาหารให้ค่อยๆ เพิ่มตามที่ลูกน้อยจะรับได้
4. จำกัดเวลาการป้อน ควรอยู่ที่ประมาณ 15-20 นาที แต่ไม่ควรเกิน 30 นาที และเมื่ออายุได้ราว 9 เดือนลูกน้อยจะเริ่มใช้นิ้วหยิบอาหารได้ ควรเปิดโอกาสให้ลูกหยิบอาหารกินเอง หรือมีช้อนส้อมให้ลูกถือ เป็นการเริ่มฝึกกินด้วยตัวเองค่ะ
อย่างไรก็ดี การป้อนกล้วยทารก ไม่ใช่เรื่องผิดหรือเรื่องไม่ดี แต่สิ่งที่คุณพ่่อคุณแม่มือใหม่ควรู้คือ ต้องป้อนให้ถูกวัย ถูกเวลา เพราะถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ป้อนกล้วยให้ลูกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เนื่องจากก่อน 6 เดือนเด็กยังมีกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่แข็งแรงเต็มที่ ระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ หากกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมเข้าไป อาจมีความผิดปกติได้ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย หรือแพ้อาหารได้ เนื่องจากเยื่อบุลำไส้ยังอยู่กันหลวมๆ ทำให้โปรตีนแปลกปลอมเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต่อต้านโปรตีนแปลกปลอม แล้วนำไปสู่การเกิดโรคภูมิแพ้ในอนาคตนั่นเอง
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- วิธีป้อนกล้วยทารก ที่ถูกต้อง! ไม่ทำร้ายลำไส้ลูก
- ลูกอายุ 4 เดือน ท้องผูก ถ่ายไม่ออก เพราะแม่ป้อนกล้วยบด
- อาหาร 6 อย่างนี้ “ห้ามให้ลูกน้อยต่ำกว่า 6 เดือน” กินเด็ดขาด!
- อาหารเสริมลูกน้อย เริ่มเมื่อไหร่ถึงจะเหมาะสม?
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.babiesfirstlactation.com