- “สีเปลือกไข่” ซึ่งทุกคนคุ้นตากันดีว่าไข่เป็ดมีเปลือกสีขาวหรือขาวอมชมพู ส่วนไข่ไก่มักจะมีเปลือกสีชมพูอมน้ำตาล สีน้ำตาลอมแดง สีน้ำตาลอมครีม ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของไก่ แต่กระนั้นก็มีไก่บางพันธุ์ที่ให้ไข่มีเปลือกสีขาว อย่างเช่น ไก่ขนสีขาว
ในขณะที่ในด้านความสะอาดของเปลือกไข่นั้น….⇓
- ไข่เป็ด ตามธรรมชาติจะดูมอมแมมกว่าไข่ไก่ตามธรรมชาติ เพราะพฤติกรรมการเลี้ยงเป็ดส่วนใหญ่ในบ้านเรานิยมเลี้ยงในเล้าที่มีพื้นเป็นดินหรือดินโรยแกลบ เป็ดจึงนิยมไข่เรี่ยราดทิ้งไว้ตามพื้นปะปนกับของเสียที่เป็ดขับถ่าย ทำให้ไข่เป็ดดูเปรอะเลอะมอมแมมอม เพราะฉะนั้นก่อนนำไปบริโภคจึงควรล้างทำความสะอาดก่อน
- ส่วน ไข่ไก่ ตามธรรมชาติที่แม้เปลือกจะดูสะอาดตากว่า แต่ว่าที่ผิวของเปลือกไข่ก็มีแบคทีเรียซามอนเนล้าติดอยู่ดังนั้นก่อนบริโภคจึงควรล้างให้สะอาดเช่นเดียวกันกับไข่เป็ด เพราะถ้าแบคทีเรียตัวนี้ เข้าไปในร่างกายผ่านทางปากก็จะทำให้ เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องได้
- อีกสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความแตกต่างระหว่างไข่ไก่กับไข่เป็ดก็คือ “ขนาดฟอง” ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไข่เป็ดมีขนาดฟองใหญ่กว่าไข่ไก่ (แต่ไข่เป็ดที่ฟองเล็กกว่าไข่ไก่ก็มี) แต่ในด้านคุณค่าทางโภชนาการเนื่องจากไข่เป็ดมีขนาดใหญ่กว่าจึงมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าไข่ไก่ แต่ว่าหากมองในเรื่องของตัวคอเลสเตอรอลในไข่แดง ไข่เป็ดก็จะมีมากกว่าไข่ไก่เช่นกัน
นอกจากนี้หากพิจารณาสีของไข่แดงทั้งของไข่ไก่และไข่เป็ดแล้วจะพบว่า…
การที่ไข่แดงของทั้งไข่เป็ดและไข่ไก่ให้สีแตกต่างกันเป็นแดงเข้มแดงอ่อนนั้น ก็เนื่องมาจากอาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ซึ่งแต่ละแห่งต่างก็มีส่วนประกอบไม่เหมือนกัน ซึ่งในอดีตไข่แดงของไข่ไก่และไข่เป็ดจะแดงเข้ม เพราะในอดีตเกษตรกรนิยมเลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติจำพวกเศษหอย ปู ปลา ที่นำมาจากทะเล ส่งผลให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม เนื่องจากในอาหารทะเลเหล่านั้นมีสารให้สีพวกแคโรทีนอยด์ (caroteniod) อยู่มาก แต่ในปัจจุบัน เศษหอย ปู ปลา หายากขึ้นเพราะมีปริมาณน้อยลงและมีราคาแพงขึ้น จึงทำให้ไข่แดงตามธรรมชาติลดความเข้มของสีลงไป
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันได้มีฟาร์มผลิตไข่ไก่ไข่เป็ดหลายแห่งใช้วิธีเติมสีให้กับไข่แดง ด้วยวิธีการซื้อสารแคโรทีนอยด์มาจากต่างประเทศ แล้วใช้ผสมลงในอาหารที่ให้เป็ดและไก่กินโดยตรง เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงเข้มขึ้น เพราะยิ่งสีไข่แดงเข้มก็จะยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาด
นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในการศึกษาหาแหล่งของสารให้สีที่มีอยู่ในบ้านเรา เพื่อนำมาใช้ทดแทนสีจากสารแคโรทีนอยด์ อาทิ เซลล์ของโฟโตแบคทีเรีย, เซลล์พวกสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายเกลียวทองที่มีสารแคโรทีนอยด์สูง รวมถึงจากดอกดาวเรืองที่มีทั่วไปในบ้านเราแต่ว่าต้นทุนในการผลิตยังสูงอยู่
ไข่เป็ด – ไข่ไก่ ฟองไหนอร่อยกว่ากัน?
แต่หากพูดถึงความอร่อยของไข่เป็ดและไข่ไก่นั้น ไม่มีดัชนีชี้ตายตัว ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวและรสนิยมการบริโภคชนิดที่สามารถลอกเลียนแบบกันได้
โดยไข่ไก่เหมาะสำหรับการทำไข่ต้ม/ไข่ดาว/ไข่เจียว/ไข่หวาน และไข่ลวก แต่ถ้าไปทำไข่พะโล้จะไม่อร่อยเพราะไข่ขาวนุ่มเกินไป
ส่วนไข่เป็ดเหมาะต่อการทำเป็น ไข่ต้ม/ไข่พะโล้/ไข่เค็ม แต่ถ้าใครนำไข่เป็ดไปทำไข่ลวก บางทีคนกินอาจมีการ “อ้วก” กันได้ง่ายๆ เพราะกลิ่นคาวของไข่เป็ดนั้นแรงอย่าบอกใครเชียว
สำหรับเรื่องนี้ในมุมมองของแม่น้องฮันน่าห์ที่ชอบ เมนูไข่ คิดว่า ถ้านำไข่เป็ดมาทำไข่ต้มแบบยางมะตูมจะอร่อยมากๆ แต่ถ้านำมาทำเป็นไข่ลวกจะกินไม่ได้เลย กลิ่นของมันจะเหม็นคาวจนกินไม่ได้ แต่ไข่ที่ส่วนใหญ่ซื้อไว้ติดบ้าน มักจะเป็นไข่ไก่มากกว่าไข่เป็ด เพราะไข่ไก่นั้นสามารถทำอาหารได้หลายเมนู เช่น บางครั้งที่บ้านไม่มีกับข้าว เราก็สามารถทำไข่เจียว ไข่ดาว ไข่ต้มไว้ทานแก้หิวได้ ข้อดีของไข่ไก่คือ สามารถทำอาหารได้หลายประเภทด้วยวิธีง่ายๆ
แต่อย่างไรก็ตามจากข้อสงสัยที่ว่่า ไข่ไก่กับไข่เป็ดอะไรดีกว่ากัน ก็อยู่ที่การพิจารณาตามสารอาหารและความแตกต่างที่แม่ฮันน่าห์ได้ให้ข้อมูลไว้ข้างต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น “ไข่” ก็ถือว่ามีโคเลสเตอรอลมากกว่าเนื้อสัตว์ถึง 2 เท่า ดังนั้นการบริโภคไข่เพียงสัปดาห์ละ 3-4 ฟอง ก็มากพอแล้ว ไข่ เป็นอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารในกลุ่มนี้จะให้โปรตีนซึ่งช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาหารในกลุ่มนี้ไม่ใช่เฉพาะไข่ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ยังมีอาหารประเภทหนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทะเลประเภทกุ้ง หอย และน้ำมันจากสัตว์ต่างๆ ก็ล้วนมีโคเลสเตอรอลสูง
ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จึงต้องระมัดระวัง นอกจากไข่ไก่และไข่เป็ดแล้ว ก็ยังมีไข่ของสัตว์อื่นๆ ล้วนมีโคลเลสเตอรอลสูง ไม่ว่าจะเป็นไข่ปลา ไข่ปลาหมึก ไข่กุ้ง ไข่มดแดง เป็นต้น ดังนั้นการรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงจึงควรปฏิบัติตามโภชนบัญญัติ โดยเฉพาะในเรื่องการรับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย ซึ่งก็คือในแต่ละหมู่ของอาหารจะมีอาหารหลากชนิดก็ควรรับประทานอาหารหลายชนิดสลับกันไปไม่ซ้ำซากเพื่อที่จะทำให้ได้สารอาหารครบถ้วน และหากอาหารนั้นๆ มีการปนเปื้อน ก็จะได้ไม่เกิดการสะสมจนเกิดอันตรายเพราะร่างกายกำจัดได้ทัน
อ่านต่อบทความอื่นๆ ของแม่น้องฮันน่าห์ คลิก :
- วิธีดูไข่เก่าไข่ใหม่ เลือกอย่างไรให้ได้ไข่สด!
- เผยวิธีเลือก อัลมอนด์ แบบไหน ลูกกินแล้วปลอดภัย?
- เผยวิธี ปอกแอปเปิ้ล อย่างไรไม่ให้ดำ! (มีผลการทดลอง)
- ตำลึง ตัวผู้ ตัวเมีย ดูให้ดี! เลือกผิด? ลูกกินอาจท้องเสีย
- เผยเคล็ดลับ! วิธีเลือกส้มหวาน อร่อย ไม่เปรี้ยว ไม่ฟ่าม
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงข้อมูลจาก : www.scimath.org, mgronline.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่