AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

15 ชนิด อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง

แม้ว่าลูกวัย 6 เดือนจะเริ่มทานอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรระลึกไว้เสมอคือ ลูกน้อยยังไม่สามารถทานและย่อยอาหารได้ทุกอย่างเหมือนผู้ใหญ่นะคะ มีอาหารบางชนิดที่ยังไม่ควรเริ่มป้อนทันที และบางชนิดควรเริ่มหลังอายุ 1 ปี หรือจนกว่าฟันจะขึ้น  อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง จะมีอะไรบ้าง Amarin Baby & Kids รวบรวมไว้ให้คุณแล้วค่ะ

ทั้งนี้เพราะระบบการย่อยอาหารและทางเดินอาหารของทารกยังไม่สมบูรณ์ ระบบย่อยอาหารของทารกยังไม่สามารถย่อยอาหารบางอย่างได้ เมื่อมีอาหารเข้าไปผ่านลำไส้ และเข้าสู่กระแสเลือด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเห็นอาหารเหล่านั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงพยายามกำจัดออก ทำให้เกิดอาการปฎิกิริยาภูมิแพ้ตามมาได้ จึงแนะนำให้เลี่ยงอาหารกลุ่มเสี่ยงไปจนกว่าระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างอาหารและสิ่งแปลกปลอมได้ค่ะ

อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง เสี่ยงต่อการแพ้

อาหารธรรมดาๆ ต่อไปนี้อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็กทารกและวัยเตาะแตะได้นะคะ โดยอาการแพ้ คือ ผื่น ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด งอแง ทั้งนี้ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับการที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืด ก็ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสแพ้อาหารได้มากกว่าครอบครัวที่ไม่มีประวัติมาก่อนค่ะ โดยอาหารที่ส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้หลักๆ มีด้วยกัน 8 ชนิด หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของอาหารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ทั้งหมด ได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง (เช่น วอลนัท พีแคน อัลมอนด์ และมะม่วงหิมพานต์) ปลา สัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้มและหอยชนิดต่างๆ ถั่วเหลือง และข้าวสาลี

1. นมวัว

เด็กที่อยู่ในช่วง 6 เดือนแรก จะพบว่าแพ้นม โดยพบเด็กอเมริกันแพ้นมร้อยละ 2-5 ในช่วงขวบปีแรกพบว่า อาการแพ้นมจะเกิดเป็นสองเท่าของการแพ้ไข่ และสามเท่าของการแพ้ถั่วลิสง สาเหตุอาการแพ้เกิดได้จากพันธุกรรม และการแพ้โปรตีนในนมวัว เนื่องจากทารกยังมีความสามารถในการย่อยโปรตีนในอาหารจำกัด ซึ่งในนมวัวมีโปรตีนที่ทำให้เกิดการแพ้มากกว่า 20 ชนิด ดังนั้น การให้นมแม่จึงดีที่สุดสำหรับทารก เนื่องจากนมแม่ย่อยง่าย และมีสารอาหารจำเป็นอย่างเพียงพอ ทั้งยังมีภูมิต้านทานโรคช่วยให้ร่ายกายลูกน้อยแข็งแรงอีกด้วย

2. ไข่

คุณแม่ไม่ควรให้ลูกน้อยทานไข่ดิบ หรือไข่ไม่สุก นอกจากนี้ยังพบเด็กหลายคนที่แพ้ไข่ โดยอาการแพ้ไข่แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แพ้ไข่ขาว แพ้ไข่แดง และแพ้ไข่ทั้งฟอง แต่ส่วนใหญ่จะแพ้ไข่ขาว จึงควรป้อนเฉพาะไข่แดงก่อน หากครอบครัวไม่มีประวัติแพ้อาหาร อาจเริ่มป้อนไข่ขาวในปริมาณน้อยๆ ได้ และคุณแม่ควรสังเกตอาการแพ้ของลูกด้วยค่ะ แต่ถ้าประวัติครอบครัวมีการแพ้อาหาร หรือคุณแม่ไม่มั่นใจ ควรเริ่มที่อายุ 1 ปีค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง คลิกหน้า 2

 

3. ถั่วลิสง

เนื่องจากในปัจจุบันพบเด็กที่แพ้ถั่วลิสงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และมักจะมีอาการแพ้ตลอดชีวิต แม้ว่าบางรายจะมีอาการแพ้ไม่มาก แต่ยังมีความไวและความรุนแรงของอาการเกิดขึ้นอยู่ จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการเลวร้ายลงได้ตลอดเวลา อาจถึงขั้นช็อคได้ในบางกรณี ถั่วลิสงสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น เนยถั่ว รวมทั้งลูกกวาด โดยเฉพาะลูกกวาดรสช็อกโกแลต จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการอ่านฉลากด้วย

4. ถั่วเปลือกแข็ง

หมายถึงถั่วที่เติบโตบนดินได้แก่ วอลนัท (walnut) อัลมอนต์ (almond) มะม่วงหิมพานต์ (cashew nut) ถั่วบราซิล (Brazil nut) ฮาเซลนัท (hazelnut) พิสตาชิโอ (pistachio) เป็นต้น ถั่วเปลือกแข็งสามารถก่อปฏิกิริยาภูมิแพ้ในทารกและเด็กเล็กได้ จึงควรหลีกเลี่ยงถั่วเปลือกแข็งไปจนกว่าลูกน้อยจะอายุ 2-3 ปี  ส่วนใหญ่อาการแพ้ถั่วเปลือกแข็งจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น พบเพียง 20% ที่ยังคงแพ้และมีอาการมากขึ้น นอกจากนี้ การทานถั่วในเด็กเล็กยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงติดคอ สำลักอาหารอีกด้วย

5. ปลา

เด็กบางคนแพ้ปลา เช่น ปลาค้อด ปลาเฮริง ปลาทะเล ปลาที่มีลำตัวแบน ปลาแมคเคอเรล ปลาเทราต์ และปลาแซลมอน จึงควรหลีกเลี่ยงปลาเหล่านี้ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ของร่างกายซึ่งอาจทำให้วิงเวียน หมดสติ หายใจลำบาก และอาจรุนแรงส่งผลถึงชีวิตลูกน้อยได้ค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง คลิกหน้า 3


6. สัตว์น้ำที่มีเปลือกและหอยชนิดต่างๆ

สัตว์น้ำที่มีเปลือกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม เช่น อัลบาโลน หอยนางรม หอยแมลงภู่ และปลาหมึก (Calamari) และสัตว์ทะเลประเภทกุ้ง ปู กุ้งทะเลขนาดใหญ่ กุ้งแม่น้ำ กุ้งก้ามกราม และปู แนะนำให้เริ่มอาหารทะเลเหล่านี้หลังจากอายุ 1 ขวบเป็นต้นไปค่ะ

7. ถั่วเหลือง

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกแพ้นมวัว อาจให้ลูกหันมาดื่มนมถั่วเหลืองแทน แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า เด็กที่แพ้นมวัวส่วนหนึ่งก็แพ้นมถั่วเหลืองได้เช่นกัน ไม่เพียงแต่นมถั่วเหลืองเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบก็เสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้เช่นกัน

8. ข้าวสาลี

มีองค์ประกอบที่เป็นโปรตีนชนิดต่างๆ ที่อาจไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในผู้แพ้ข้าวสาลี รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมที่ทำมาจากข้าวสาลี ขนมปัง เค้ก คุกกี้ และส่วนผสมที่มีคำเหล่านี้ เช่น ข้าวสาลี แป้ง จมูกข้าวสาลี สตาร์ชจากข้าว รำ สตาร์ชดัดแปร แป้งชนิดหยาบ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธัญพืช เป็นต้น

นอกจากอาหารกลุ่มเสี่ยง Top 8 แล้ว ยังมีอาหารบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง คลิกหน้า 4

9. องุ่น

องุ่นไม่ใช่อาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ แต่องุ่นเป็นผลไม้ที่กลืนได้ง่าย อาจหลุดเข้าไปติดคอลูกได้ จึงควรหลีกเลี่ยงองุ่นไปจนกว่าลูกน้อยจะมีฟันและสามารถเคี้ยวองุ่นได้

 

10. ผลไม้รสเปรี้ยว

ผลไม้รสเปรี้ยว รวมถึงมะนาว ส้ม กีวี สับปะรด มะเขือเทศ เบอร์รี่ และสตรอเบอร์รี่ เป็นอาหารที่มีกรดธรรมชาติ เสี่ยงต่อการแพ้ ควรหลีกเลี่ยงจนกว่าลูกจะมีอายุ 1 ขวบ

11. เกลือ

แนะนำให้หลีกเลี่ยงเกลือไปจน 1 ขวบเมื่อลูกน้อยพร้อมที่จะทานอาหารปกติได้เหมือนผู้ใหญ่ เนื่องจากเกลือนั้นยากต่อการขับถ่ายออกจากร่างกายทารก จึงอาจมีผลต่อไตของลูกน้อยได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง คลิกหน้า 5


12. ชีส

ชีสอาจจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญสำหรับทารก แต่เป็นอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งลูกน้อยอายุ 2-3 ปี โดยเฉพาะชีสที่ทำจากนมไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ อาจปนเปื้อนเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยค่ะ

13. สตรอเบอร์รี่

นอกจากความเปรี้ยวของสตรอเบอร์รี่จะเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้แล้ว โปรตีนที่อยู่ในสีแดงของสตรอเบอร์รี่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้ ดังนั้น ควรให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยงสตรอเบอร์รี่จนกว่าจะอายุ 1 ขวบนะคะ

14. ช็อคโกแลต

ไม่ควรให้ลูกกินช็อคโกแลตก่อนอายุ 1-2 ขวบ เพราะช็อคโกแลตทำจากโกโก้ซึ่งมีคาเฟอีนสูงมากพอที่จะทำให้ลูกน้อยปวดศีรษะ นอกจากนั้นในช็อคโกแลตยังมีส่วนผสมของถั่วลิสงและนมวัว ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นอาหารกลุ่มเสี่ยงต่ออาการแพ้ที่ควรเลี่ยงเช่นกัน

15. น้ำผึ้ง

ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบทานน้ำผึ้ง เนื่องจากความหวานของน้ำตาลซูโครสและฟรุกโตสเพิ่มความเสี่ยงฟันผุและในน้ำผึ้งมีเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า โบทูลินัม ซึ่งลำไส้เด็กทารกยังไม่พัฒนาพอที่จะทำลายเชื้อนี้ได้ เชื้อนี้จะผลิตสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อไม่ทำงาน และทำให้เสียชีวิตอันเนื่องจากกล้ามเนื้อล้มเหลว

หลังอายุ 1 ขวบลำไส้ของลูกพัฒนาสมบูรณ์และสามารถรับประทานอาหารได้เหมือนผู้ใหญ่ ความเสี่ยงในการแพ้อาหารบางอย่างก็จะลดลง หรืออาการแพ้อาหารก็จะหายไปเอง แต่อาหารบางอย่างก็อาจจะยังแพ้ต่อไป ทางที่ดี คือป้องกันไว้ก่อนโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่กล่าวมาก่อน 1 ขวบค่ะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

กรดไหลย้อน ทารกป่วยง่าย อันตรายกว่าที่คิด

นมข้นหวาน อันตรายใกล้ทารกแรกเกิด & 1 ขวบ

13 ประโยชน์ดี๊ดีจาก “อินทผลัม” ผลไม้สุดเริ่ด สำหรับลูกน้อย


ที่มา parentinghealthybabies.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids