อาหารเด็ก มื้อแรกของลูก ลูกกินอะไรได้บ้าง หรือหากต้องเตรียมอาหารทารก 6 เดือนขึ้นไป จะเริ่มอย่างไร และมีเรื่องใดบ้างเกี่ยวกับ อาหารเด็ก ที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ มาดูกันเลย
3 สูตร อาหารเด็ก “ข้าวต้ม ข้าวตุ๋น น้ำสต๊อก”
เพื่อลูกวัย 6-9 เดือน โดยเฉพาะ!!
อาหารเด็ก อาหารทารกตามวัย ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มของชีวิตลูกน้อย ในการรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่จะได้เรียนรู้เรื่องการกิน ซึ่งหลังจากที่ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกแล้ว ก็ควรจะได้รับอาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสมควบคู่กับนมแม่ด้วย ทั้งนี้ไม่ใช่ว่า “นมแม่” หมดคุณค่า!! หรือ ไม่มีประโยชน์แล้ว!!
แต่เป็นเพราะเด็กทารกวัย 6 เดือนขึ้นไป ต้องการพลังงานมากขึ้น และระบบการย่อยอาหารของร่างกายลูกน้อยก็เริ่มพัฒนาได้แล้ว ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกชัดเจน คือลูกเริ่มมีฟันน้ำนมงอกขึ้นมา เพื่อใช้ในการบดเคี้ยวอาหารอื่นนั่นเอง
Must read : ทำความสะอาดช่องปาก และฟันน้ำนมลูกน้อย
แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณหมอประจำตัวของลูก ซึ่งเป็นผู้คอยดูแลลูกเป็นระยะมาตลอด พบว่าในช่วง 4-6 เดือน ที่ลูกกินนมแม่อย่างเดียว มีปัญหาน้ำหนักขึ้นน้อยลง และไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะมีความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่แล้ว คุณหมออาจจะพิจารณาให้ลูกเริ่มกิน อาหารเด็ก อาหารเสริมก่อนอายุ 6 เดือน แต่ไม่ก่อน 4 เดือน โดยควบคู่กับการกินนมแม่ไปด้วย
Must read : นมแม่ป้องกันโรค ช่วยลูกสุขภาพดีตั้งแต่แรกเกิด
ซึ่งที่ต้องบอกประเด็นนี้ เนื่องจากมีคุณแม่ส่วนหนึ่งเข้าใจผิดคิดว่า ทารกก่อน 6 เดือน จะต้องได้แต่นมเท่านั้น ยังไม่สามารถกินข้าวได้ เมื่อมีปัญหานมแม่น้อยลงและไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากคลินิกนมแม่แล้ว ก็หันไปเสริมเป็นนมผง แทนที่จะให้กินเพิ่มเป็นอาหารตามวัย ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อการแพ้นมวัวและโรคภัยต่างๆที่เกิดจากการกินนมผงได้นั่นเอง
Must read : อาหาร 6 อย่างนี้ “ห้ามให้ลูกน้อยต่ำกว่า 6 เดือน” กินเด็ดขาด!
อาหารเด็ก มื้อแรก ทำอะไรให้ลูกดี
ทั้งนี้ อาหารเด็ก ควรให้ลูกได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ที่เหมาะสม โดยทั่วไปแนะนำให้เริ่มอาหารตามวัย ด้วยอาหารที่บดละเอียด หนืดพอควร แบบเกาะช้อนพอประมาณ ไม่เหลวแต่ก็ไม่หนืดหนึบติดช้อน ซึ่งอาหารเด็ก สำหรับลูกน้อยในวัยตั้งแต่ 6 – 9 เดือน จะเน้นข้าวจำพวก ข้าวต้ม ข้าวตุ๋น หรือซุปต่างๆ
ซึ่งสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ไม่เคยทำอาหารเลยและไม่รู้จะเริ่มอย่างไร Amarin Baby & Kids จึงมีสูตรอาหารเด็กพื้นฐานที่คุณแม่ควรทำให้เป็น ทำให้ได้ก่อน จากนั้นจะได้นำมาปรุงรวมกับวัตถุดิบอื่นๆที่มีสานอาหารที่เป็นประโยชน์กับลูกน้อย ซึ่งสูตร อาหารเด็ก พื้นฐานที่จะแนะนำ คือ วิธีการทำ ข้าวต้ม ข้าวตุ๋น และน้ำซุป จะต้องใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง หรือมีขั้นตอนการทำอย่างไร จามมาดูกันเลย
สูตรพื้นฐาน การทำ “ข้าวต้ม”
ส่วนผสม
- ข้าวสาร 1 ถ้วย
- น้ำเปล่า 3 ถ้วย
- ใบเตยหั่นท่อน 2 ใบ
วิธีทำ : ซาวข้าวในน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง แล้วเทข้าวลงในหม้อ ตามด้วยน้ำและใบเตย จากนั้นยกขึ้นตั้งไฟ หมั่นคนบ่อยๆ จนข้าวสุกนุ่ม แล้วจึงตักใบเตยออก
Tip : คุณแม่สามารถใช้ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือแทนได้
Must read : 4 ประโยชน์ของ ข้าวต้ม ที่มีดีมากกว่าการให้ลูกกิน
“ข้าวต้มหลากสี” อาหารต้านหวัดให้ลูก สูตรดี แสนอร่อย…ช่วยเพิ่มพลัง!
อ่านต่อ >> สูตรพื้นฐาน การทำ “ข้าวตุ๋นและน้ำซุป หรือน้ำสต๊อกไก่” คลิกหน้า 2
สูตรการทำ “ข้าวตุ๋น” อาหารเด็ก พื้นฐาน
ส่วนผสม
- ปลายข้าว 1 ถ้วย
- น้ำเปล่า 2½ ถ้วย
วิธีทำ : ผสมปลายข้าวกับน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน แล้วเคี่ยวด้วยไฟปานกลางไปเรื่อยๆ จนนุ่มสุก
แชร์สูตรอร่อย! “ข้าวตุ๋นไข่สามสหาย” เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน (มีคลิป)
เผยสูตรเมนูเด็ด! “ข้าวตุ๋นสามสี” เพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย (มีคลิป)
สูตรพื้นฐาน การทำ “น้ำซุป หรือน้ำสต๊อกไก่”
ส่วนผสม
- โครงไก่ 2 โครง
- แครอทหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 2 หัวกลาง) 250 กรัม
- ฟักเขียวหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 1 ลูก) 500 กรัม
- หัวไชเท้าหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 1 หัว) 200 กรัม
- เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทรายไม่ฟอกขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเปล่า 10 ถ้วย
วิธีทำ : เทน้ำใส่หม้อสำหรับต้มซุป จากนั้นใส่ส่วนผสมทุกอย่างลงไป พักไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้รสหวานของโครงไก่และผักละลายลงในน้ำ
แล้วยกหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลางจนเดือด จากนั้นลดไฟอ่อนลงแล้วเคี่ยวต่อประมาณ 30 นาที (หมั่นช้อนฟองออกเพื่อให้น้ำซุปใส) ยกลงจากเตา แล้วกรองผ่านกระชอน ก็จะได้น้ำซุปสำหรับนำมาใส่ทำ อาหารเด็ก
Tip : คุณแม่สามารถเปลี่ยนจากโครงไก่เป็นกระดูกหมูก็ได้
Must read : แจกสูตรแสนง่าย วิธีทำน้ำซุปผักทารก ให้อร่อยกลมกล่อม
“ ซุปไก่ ใส่นมแม่ ” เสริมภูมิคุ้มกัน รับปลายฝนต้นหนาว (พร้อมคลิปละเอียด)
เผยสูตรดี “ซุปมะเขือเทศ” เมนูบำรุงสายตา เพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ!
คลิปดีสูตรเด็ด! “ซุปผักโขมน้องหมี” เมนูอร่อยบำรุงสายตาลูกรัก
สุดยอด เมนูต้านหวัด ป้องกันลูกน้อยไม่ให้ป่วยบ่อย (ซุปมักกะโรนีมะเขือเทศต้านหวัด)
ขอบคุณข้อมูลสูตรอาหารดีๆ จาก หนังสืออมรินทร์ CUISINE
อย่างไรก็ดีสำหรับอาหารเด็ก 6 เดือนขึ้นไปแนะนำให้เริ่มกิน 1 มื้อก่อน และคุณแม่ควรป้อนผลไม้เป็นอาหารว่างด้วย ส่วนเนื้อสัตว์ สามารถสลับ ไข่แดง เนื้อปลา ตับ ค่อยๆเริ่มทีละอย่างเพื่อสังเกตอาการแพ้
ส่วนลูกวัย 7 เดือน เมื่อเริ่มกินอาหารเด็กไปได้ 1 เดือนแล้ว ก็ถึงเวลาเพิ่มข้าวได้อีก 1 ช้อน และเพิ่มผักให้เต็มช้อน ส่วนไข่ ถ้ากินไข่แดงได้แล้วโดยไม่มีอาการแพ้ ช่วงนี้อาจจะเริ่มให้ไข่ขาวได้แล้วนะคะ ***แต่ถ้ากลัวแพ้อาจจะขยับไปเริ่มหลังจากอายุ 1 ปี โดยให้โปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น เนื้อปลา ตับ หมู ไก่ โดยเริ่มและสังเกตทีละอย่าง
ทั้งนี้ลูกอาจจะกินปริมาณที่เตรียมนี้ไม่หมดในครั้งเดียว คุณแม่ก็สามารถเตรียมให้วันละ 2 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้งต่อวันนะคะ เพราะลูกยังจะมีผลไม้เป็นอาหารว่างอีกมื้อนึง
เมื่อลูกอายุ 8-9 เดือน ก็สามารถเพิ่มข้าวอีก 1 ช้อน เป็น 4 ช้อนต่อมื้อ เนื้อสัตว์และผักอย่างละ 1 ช้อน และในช่วงอายุนี้คุณแม่สามารถเตรียมแบบหยาบกว่าเดิมได้แล้ว และให้วันละ 2 ครั้ง ซึ่งถ้ากินไม่หมดในมื้อเดียว อาจจะปรับปริมาณให้กินเป็นวันละ 3 ครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณต่อวันตามกำหนด และเพิ่มผลไม้เป็น 3 ชิ้นเพื่อเป็นอาหารว่าง
ที่สำคัญเพื่อให้พัฒนาการของลูกน้อยเป็นไปตามวัยที่ดี คุณแม่อย่าลืม!! ติดตามการเจริญเติบโตของลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี ด้วยนะคะ
อ่านต่อบทความอื่น น่าสนใจ คลิก
- 12 เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน กับสูตรอร่อยเพื่อลูกวัยเริ่มกิน!
- 15 สูตรอร่อยอาหารเด็ก 7 เดือน เน้นพัฒนาสมองโดยเฉพาะ!
- อาหารเด็ก1 ขวบ ใน 1 วัน ลูกต้องกินอะไรบ้าง?
- 7 เมนู “อาหารเช้าสำหรับเด็ก” ในวัยเรียน สูตรทำง่ายครบ 5 หมู่
ข้อมูลอ้างอิงจาก : พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข thaibf.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่