ลูก 1 เดือนท้องผูก กินน้ำส้ม ได้หรือไม่? …คำถามนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่หลายคน เนื่องจากลูกน้อยที่กินนมแม่เอง หรือกินนมผง มักมีอาการท้องผูก จึงหาวิธีที่จะช่วยแก้อาการท้องผูกนี้ด้วยการให้ลูกกินน้ำส้มเพื่อหวังว่าจะช่วยในการขับถ่ายได้ แต่แท้จริงแล้วนั้น การให้ ทารกกินน้ำส้ม ไม่ได้เป็นการช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของทารกน้อย แต่อาจเป็นการทำร้ายลูกโดยตรงอีกด้วย
ทารกกินน้ำส้ม ได้หรือไม่?
มีหลายบ้านที่คุณย่าคุณยาย ป้อนน้ำส้มให้ทารกวัยไม่ถึง 6 เดือนทาน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสมัยก่อน คนโบราณยังไม่มีความรู้ว่าเด็กทารกยังไม่ควรทานอะไรอกจากนมแม่ เพราะเรื่องระบบการทำงานของลำไส้ยังไม่แข็งแรง พอที่จะรับอาหารอื่น
สาเหตุที่ทำให้ลูกท้องผูก
เด็กอาจมีอาการท้องผูกได้ทุกช่วงวัยที่พบมากที่สุดคืออายุประมาณ 6 เดือน- 4 ปี ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน และการท้องผูกมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น เด็กบางคนถูกฝึกให้ขับถ่ายเร็วเกินไป แต่เขายังไม่พร้อมที่จะขับถ่ายเอง เด็กไม่ชอบกินผักและผลไม้
และที่พบบ่อยในช่วงวัยอนุบาล คือ เด็กห่วงเล่นและกลั้นอุจจาระเป็นนิสัย แต่ก็ยังมีเด็กอีกส่วนน้อยที่มีอาการท้องผูกจากโรคร้ายแรง
อาการท้องผูกที่แท้จริง
ทั้งนี้ก็มีหลายบ้านที่ลูกทารกน้อยกินนมแม่แต่ท้องผูก คุณแม่จึงอยากหาตัวช่วยอย่างน้ำส้มเพื่อช่วยบรรเทาอาการลูกน้อย ซึ่งการท้องผูกสำหรับเด็กที่กินนมแม่นั้น การกินนมแม่ล้วน ไม่ถ่าย 2-3 สัปดาห์ ไม่ถือว่าเป็นอาการท้องผูก แต่สัญญาณความถี่ของการอุจจาระที่บ่งบอกว่าลูกท้องผูก คือการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรืออาจถ่ายทุกวันแต่ต้องเบ่งมากและอุจจาระแข็งอาจจะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายลูกกระสุนปืนอัดลมหรือก้อนใหญ่ ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมากเวลาเบ่งถ่าย หรือบางครั้งอาจมีเลือดติดออกมาด้วยเพราะรูทวารฉีกขาด ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ลูกจะรู้สึกกลัวการถ่ายอุจจาระจึงพยายามกลั้นเอาไว้ จนทำให้อุจจาระยิ่งมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ และเพิ่มความเจ็บปวดในการขับถ่ายในแต่ละครั้ง
ส่วนเด็กทารกปกติช่วงอายุ 1-3 เดือนที่กินนมแม่ ถึงบางคนอาจถ่ายอุจจาระห่างทุก 3-7 วันโดยที่ยังกินนมดี ร่าเริง น้ำหนักขึ้นตามปกติ ไม่อาเจียน เด็กกลุ่มนี้ไม่นับว่ามีอาการท้องผูกถึงแม้ว่าจะถ่ายน้อยกว่า สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
แต่ขอเน้นว่าเวลาถ่ายแต่ละครั้งต้องถ่ายสะดวก อุจจาระจะดูนิ่มดี อาจมีส่วนแข็งเล็กน้อยในช่วงต้นๆ ลูกจะอารมณ์ดี โตดี น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ก็เพียงพอแล้ว
และถ้าลูกโตแล้ว สามารถกินอาหารเสริมได้ แต่มีอาการถ่ายเหนียว อึดอัดงอแง เบ่งจนหน้าดำหน้าแดง อุจจาระแข็งในส่วนต้นๆ ถ้าถ่ายแข็งแล้วลูกเจ็บก้น มีเลือดออก ก้นเป็นแผล แบบนี้เรียกว่า ท้องผูกแน่นอน ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ปริมาณของอาหารน้อย กินแต่นม จึงได้รับกากใยจากผักผลไม้ไม่เพียงพอ
อ่านต่อ >> “ลูกท้องผูกกินน้ำส้มช่วยแก้อาการท้องผูกได้จริงหรือ” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีช่วยลูกน้อยเมื่อมีอาการท้องผูก
ส้มนอกจากอร่อยและมีกลิ่นหอมหวานแล้วยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างค่ะ เช่น รักษาโรค ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เป็นผลไม้รสเปรี้ยวชนิดซิตริก มีกรด citric & salicylic ก่อน 6 เดือน ไม่ควรให้ทานน้ำลูกพรุน น้ำส้ม หรือใดๆ นอกจากนมแม่
ถ้าอยากให้อึ ซึ่งวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการนี้ได้เบื้องต้น คือ
- การนวดท้องนอกจากการให้อาหารและเครื่องดื่มกับลูกน้อยแล้ว การนวดจะช่วยให้ดีขึ้นเช่นกัน เริ่มด้วยการคลึงเบา ๆ ที่ท้อง วนตามเข็มนาฬิกาและกดเบา ๆ ที่ท้องด้านขวา อย่าลืมสังเกตความรู้สึกเมื่อคุณแม่จับที่ท้องลูก หากท้องลูกของคุณนิ่ม แสดงว่าเขาไม่ได้ท้องผูก ท้องที่แข็งเป็นสัญญาณบอกว่าลูกน้อยกำลังทรมานกับอาการท้องผูก นอกจากนี้ ให้คุณแม่ ยกข้อเท้าของลูกน้อยและหมุนเช่นเดียวกับการปั่นจักรยาน การออกกำลังกายง่าย ๆ และสนุกสนานเช่นนี้สามารถช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวภายในลำไส้ ทำให้ลำไส้ของเขาคลายตัวลงได้
- หลัง 6 เดือนถ้าทานอาหารเสริมแล้วไม่ค่อยอึ ให้น้ำลูกพรุนได้แต่ควรเจือจาง ให้ทานผักใบๆ เช่นผักบุ้ง ตำลึง
ผลไม้กากนิ่ม เช่นมะละกอ แก้วมังกร
- ส่วนมากแล้วคุณแม่จะเริ่มให้อาหารเสริมกับลูกในวัย 6 เดือน อาหารเสริมที่ให้ลูกเป็นครั้งแรกนั้น มักจะเป็นน้ำส้มคั้น คุณแม่จำนวนไม่น้อยใช้วิธีคั้นน้ำส้มใส่ขวดนมให้ลูกดูดเหมือนเวลาให้นมกับเค้า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วควรเริ่มให้ในปริมาณน้อย ๆ เพียงแค่ 1-2 ช้อนชาก่อน หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณทีละน้อย เมื่อลูกคุ้นกับน้ำส้มแล้ว ค่อยเปลี่ยนไปให้น้ำผลไม้หรือน้ำผักชนิดอื่น ๆ หรือเพิ่มกล้วยน้ำว้าสุกครูด ข้าวบด หรือข้าวบดผสมไข่แดง ฟักทองนึ่ง
- สำหรับเด็กโตประมาณ 2-3 ขวบ ต้องฝึกลูกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา ควรฝึกให้นั่งถ่ายอุจจาระหลังอาหารทุกมื้อ ครั้งละอย่างน้อย 10-15 นาที และถ้าทำได้สำเร็จต้องให้คำชมเชย
ข้อห้ามไม่ควรทำเมื่อลูกท้องผูก!!!
- การเจือจางนม เพราะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง อาจทำให้ลูกได้นมที่มีแคลอรีต่ำ และน้ำหนักตัวจะไม่ขึ้นด้วย คุณแม่อาจต้องลองเปลี่ยนนมเป็นสูตรที่ทำให้อุจจาระใกล้เคียงนมแม่ ซึ่งนมบางชนิดผสมเส้นใยลงในนม แต่ใช้ได้กับเด็กโตเท่านั้น
- อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง ถ้าคุณแม่สังเกตเห็นลูกมีอาการท้องผูกและเริ่มที่จะเป็นเรื้อรัง ควรรีบพาลูกมาพบแพทย์ทันที เพราะถ้าปล่อยอาการนี้ไว้นาน ลำไส้จะถูกยืดจนกล้ามเนื้อของลำไส้ยืดมากจนไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งการแก้ไขนี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะทำให้ลำไส้กลับมาทำงานตามปกติ
- ไม่ควรฝึกขับถ่ายเร็วเกินไป ถ้าลูกยังไม่พร้อมคุณแม่ไม่ควรฝึกขับถ่ายลูก และไม่ควรฝึกขับถ่ายก่อนอายุ 1 ขวบครึ่ง เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน และเกิดการกลั้นอุจจาระได้
อ่านต่อ >> “ข้อสำคัญควรรู้ก่อนให้ลูกทารกกินน้ำส้ม” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ส้ม เป็นผลไม้ตระกูล Citrus มีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น ให้วิตามินซีสูง แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 โพแทสเซียม แคลเซียม ใยอาหาร ฟอสฟอรัส เหล็ก ซึ่งส้มแต่ละชนิดจะให้คุณค่าทางสารอาหารไม่ต่างกันมากนัก
น้ำส้มคั้นสดดื่มทุกวันเป็นประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก ได้แก่
- เสริมสร้างกระดูก น้ำส้มสามารถให้แคลเซียม และวิตามินดีแก่ร่างกายได้ดีพอๆ กับนม และแคลเซียมจะไปเสริมสร้างกระดูก
- คอลลาเจนในน้ำส้มช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ให้ผิวมีความยืดหยุ่น ไม่แห้งแตก และยังช่วยสมานแผลหลังผ่าตัด แผลไฟไหม้ ให้หายเร็วและแผลเรียบเนียนขึ้น
- ช่วยรักษาโรคหัวใจ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งอองตาริโอตะค้นพบ สารอาหารในน้ำส้มจะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เพิ่มคอเลสเตอรอลส่วนดี ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบได้ แล้วในน้ำส้มมีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดความเป็นความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดในสมองอุดตันได้ดี
- ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ผลในการวิจัยบอกว่าในเวลาที่เราคั้นน้ำส้ม เรามักจะผ่าส้มออกเป็นสองซีก แล้วคั้นจะมีรสชาติของเปลือกออกมาด้วย รสชาติที่ได้จากเปลือกส้มจะมีสาร ไลมอนอยด์ สามารถต้านมะเร็งในช่องปาก คอ ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ ผิวหนัง ตับ และเต้านม เป็นต้น
- ป้องกันโรคนิ่ว จากผลงานวิจัย ได้ศึกษาผลการดื่มน้ำส้มป้องกันการเกิดนิ่วในไต การดื่มน้ำส้มคั้นจะเพิ่มประมาณของสารซิเตรต ในน้ำปัสสาวะมีความเป็นกรดลดลง ลดการตกผลึกของกรดยูริก และแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งเป็นส่วนจะทำให้เกิดก้อนนิ่วจึงลดการเสี่ยงในการเกิดโรคนิ่วในไตได้
ข้อเสียของส้ม!
มีจากการวิจัยฤทธิ์กรดของน้ำส้มคั้น ทำให้ฟันสึกหรอลงได้ เพราะทำให้เคลือบฟันเสียความแข็งแกร่งลง 84% นอกจากนี้การศึกษาทางการแพทย์ ของทีมวิจัยของเภสัชกรในอังกฤษ พบว่าสารในเปลือกส้มมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะในเปลือกส้มเขียวหวานจะมีฤทธิ์ช่วยต้านทานมะเร็งบางอย่างได้ โดยสาร “ซาลเวสตรอล คิว 40” ในเปลือกส้มเขียว-หวาน สามารถทำลายเซลล์ มะเร็งที่มีส่วนประกอบของเอนไซม์ “พี 450 ซีวายพี 1 บี 1” ลงได้ ซึ่งการค้นพบ ในครั้งนี้อาจนำไปสู่แนวทางใหม่ในการบำบัดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งทรวงอก ปอด ต่อมลูกหมาก และรังไข่ ได้ต่อไปในอนาคต
ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ อเมริกากล่าวเตือนว่า น้ำส้มคั้นมีฤทธิ์เป็นกรด กัดกร่อนฟันให้สึกหรอลงได้ ยิ่งกว่ายาฟอกฟันให้ขาวเสียอีก
โดยคณะนักวิจัยของอาจารย์ยันแฟง เรน ได้พบในการศึกษาว่า น้ำยาไฮโรเจน เปอรอกไซด์ 6 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นตัวยาผสมอยู่ในยาฟอกสีฟันให้ขาว ที่มีวางขายอยู่ตามร้าน จะกลายเป็นของธรรมดา เมื่อเทียบกับฤทธิ์ความเป็นกรดของน้ำส้มคั้น พวกเขาได้ประจักษ์ฤทธิ์เดชของมัน จากการศึกษาโดยอาศัย
กล้องจุลทรรศน์ส่องกวาดแนวตั้งอันใหม่ ได้พบว่าน้ำยาฟอกสีฟันไม่ทำให้ความแข็งแกร่งหรือพื้นผิวของเคลือบฟันบุบสลายแต่อย่างใด หากเคลือบฟันสึกหรอ จะเป็นเหตุให้ฟันสึกกร่อน และผุเร็วขึ้นได้
เขากล่าวว่า “ฤทธิ์กรดของน้ำส้มคั้นแรงมาก ทำให้ฟันสึกหรอลงได้อย่างแท้จริง มันอาจทำให้เคลือบฟันเสียความแข็งแกร่งลง ถึงร้อยละ 84”
และเสริมว่า “เครื่องดื่มน้ำอัดลมเกือบทุกชนิด ไม่ว่าเครื่องดื่มรสหวานที่ใส่น้ำโซดารสต่างๆ และน้ำผลไม้คั้น ล้วนแต่มีธรรมชาติเป็นกรดทั้งสิ้น การศึกษาทำให้เห็นว่า ตัวอย่าง น้ำส้มคั้น อาจทำให้ฟันสึกกร่อนอย่างสำคัญ เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าน้ำส้มคั้นและเครื่องดื่มรสหวานที่ใส่น้ำโซดารสต่างๆ มีความเป็นกรดสูง จึงเป็นอันตรายกับความแข็งแกร่งของเคลือบฟัน”
ยิ่งปล่อยให้ฟันกระทบกับเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดอยู่นานเท่าใด ฟันก็อาจจะสึกหรอมากเท่านั้น แต่ในผู้ที่ค่อยๆ ดื่มโดยใช้เวลากินนาน ไม่ต่ำกว่า 20 นาที ย่อมถูกกัดกร่อน มากยิ่งกว่า ผู้ที่ดื่มรวดเดียวเกลี้ยง
แท้จริงแล้วอาการท้องผูกไม่ใช่เรื่องใหญ่อย่างที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวล เพราะปัญหานี้สามารถแก้ไขและดูแลได้ง่าย ๆ เพียงหันมาใส่ใจดูแลเรื่องนม อาหาร และพฤติกรรมการขับถ่ายของลูกให้เหมาะสมและเป็นไปอย่างปกติ และไม่ควรให้ลูกน้อยทานอะไรที่คุณแม่คิดว่าจะช่วยแก้อาหารท้องผูกให้ลูกน้อย ก่อนอายุ 6 เดือน เพราะนั้นอาจเป็นการทำร้ายลูกทางอ้อมได้โดยไม่รู้ตัว แต่สำหรับเด็กคนไหนที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย ระบบลำไส้ หรืออาการท้องผูกมากกว่าปกติ คือ มีอาการท้องผูกตลอดหรือแก้ไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและขอคำปรึกษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะอาการท้องผูกหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของลูกและทำให้หาทางแก้ไขได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- แม่ใจสลาย ลูกวัย 10 วันเสียชีวิตเพราะอาหาร!!
- 5 โรคทางเดินอาหารยอดฮิตพบบ่อยในช่วงวัยขวบปีแรก
- ลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดของลูกน้อยที่บอกไม่ได้
- สุดเศร้า ทารกวัย 1 เดือนเศษ ตายเพราะป้อน กล้วยบด
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sabuykid.com , www.babyfancy.com , www.doesystem.com