ทิชชู่เปียก แก็ดเจ็ตประจำตัวคุณแม่ที่ขาดไม่ได้ สามารถใช้ทำความสะอาดสิ่งสกปรกของลูกน้อยได้สะดวกสบาย โดยเฉพาะลูกน้อยวัยทารกที่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมอยู่บ่อยๆ แต่แม่ๆทราบหรือไม่ว่า ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ไม่เหมือนกระดาษหรือทิชชู่ทั่วไป เพราะมีส่วนผสมหลายชนิด รวมถึงใยพลาสติกขนาดเล็ก จึงไม่สลายเองตามธรรมชาติกลายเป็นขยะล้นโลก
ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย นานถึง 100 ปี ยิ่งใช้มากยิ่งสร้างขยะเพิ่ม
เพราะการดูแลลูกน้อยที่มีเรื่องวุ่นวายต้องทำตลอดวัน ทิชชู่เปียกกลายเป็นตัวช่วยคุณแม่ให้ประหยัดเวลาในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่างๆออกจากตัวลูกน้อยได้อย่างดี บางบ้านใช้ทิชชู่เปียกตั้งแต่ลูกแรกเกิดจนโต แถมพกไว้ใช้จนติดเป็นนิสัย เปื้อนเมื่อไรก็หยิบมาเช็ดแล้วทิ้ง สะดวกทันใจได้ทันที
ด้วยรูปลักษณ์เป็นแผ่นบางมีน้ำชุ่ม ๆ ทำให้แม่หลายคนเข้าใจผิดว่า ทิชชู่เปียกทำจากกระดาษเหมือนกระดาษชำระทั่วไป ความจริงแล้วทิชชู่เปียกจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ทำมาจากโพลีเอสเตอร์ ซึ่งมีส่วนผสมของใยพลาสติกและผ่านกระบวนการทางเคมี จึงมีโอกาสเกิดการระคายเคืองบนผิวลูกน้อย อีกทั้ง ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ยากจึงกลายเป็นขยะสะสมเช่นเดียวกับพลาสติก ดังนั้นคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ
เว็บไซต์กรีนพีซ เปิดเผยข้อมูลจากสถาบัน EarthWatch เกี่ยวกับขยะพลาสติกด โดยระบุว่า คนทั่วโลกใช้ทิชชู่เปียกมากกว่า 9.3 ล้านแผ่นต่อวัน เพื่อเช็ดทำความร่างกายแทนการล้างด้วยน้ำ เมื่อใช้แล้วทิ้ง ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ยากเหล่านี้กลายเป็นตัวการที่ทำให้ระบบท่อน้ำเสียอุดตัน อีกทั้งต้องใช้เวลายาวนานกว่า 100 ปี พอ ๆ กับ ขยะพลาสติกเลยทีเดียว
แม้บนซองทิชชู่เปียกจะมีคำว่า “flushable” หมายถึงสามารถกดลงชักโครกได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติ จึงกลายเป็นขยะตกค้าง ร้านค้าในประเทศอังกฤษไอซแลนด์ราว 800 ร้านค้ายกเลิกการขายทิชชู่เปียกถึง 34 ยี่ห้อที่ถูกระบุว่าเป็นตัวการของขยะอุดท่อ และหากหลุดรอดไปเป็นขยะในแหล่งน้ำหรือทะเล กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป
ทิชชู่เปียก ย่อยสลายได้ดีจริงไหม
ปัจจุบันเจ้าของสินค้าหลายแบรนด์ได้ผลิตทิชชู่เปียกที่ระบุว่าสามารถ “ย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ(Biodegradable) และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าพลาสติกชีวภาพ ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหรือชีวมวลต่างๆ เช่น น้ำตาอ้อยหรือข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง โปรตีนถั่ว เป็นต้น
แม้จะเป็น ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ได้เองด้วยน้ำและแสงแดด แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า จะเป็นการสลายตัวได้สมบูรณ์ เพราะสุดท้ายก็ยังเหลือเป็นใยพลาสติกชนิดเล็ก ๆ ที่ดูดซับสารเคมีอันตราย เช่นดีดีทีและโลหะหนักเอาไว้ กลายเป็นสิ่งตกค้างในผืนดินและแหล่งน้ำต่างๆ
อ่าน ใช้ทิชชู่เกินความจำเป็นส่งผลเสียอย่างไร หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
หลายคนอาจคิดว่า แค่ทิชชู่เปียกแผ่นบางไม่น่าจะกระทบกับชีวิตของคนเรา ทิ้งลงถังแล้วก็กลายเป็นขยะที่ไปจำกัดต่อไป แต่ความจริงแล้วขยะทิชชู่เปียกเหล่านี้สามารถเล็ดลอดออกไปยังแหล่งน้ำหรือท้องทะเลกว้าง หลังจากถูกย่อยสลายเป็นไมไครพลาสติกหรือนาโนพลาสติก ที่มีขนาดเล็กจิ๋วกว่า 100 นาโนเมตร จนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เมื่อสัตว์น้ำกินเข้าไปก็จะสะสมในร่างกายและสามารถแทรกซึมผ่านเซลล์เข้าสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ได้
ผลกระทบจากทิชชู่เปียกที่มองไม่เห็น
นอกจากสารพิษจากไมโครพลาสติกที่ย่อยสลายจาก ทิชชู่เปียก และขยะพลาสติกอื่นๆ จะทำให้ตัวอ่อนสัตว์น้ำไม่สามารถเจริญเติบโตได้ หลายชนิดใกล้สูญพันธุ์ และทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่คนเราจับมาบริโภคน้อยลงแล้ว
พลาสติกที่สะสมในตัวปลาหรือสัตว์ทะเล รวมถึงน้ำฝนที่เกิดจากการระเหยของน้ำในทะเล ทำให้มีเม็ดพลาสติกปนเปื้อนอยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์และเด็ก อีกทั้งอาจเป็นสารก่อมะเร็งหรือความพิการแต่กำเนิดได้ ภัยร้ายจากพลาสติกจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
เลือกทิชชู่เปียกอย่างไรให้ลูกไม่แพ้
ส่วนประกอบในทิชชู่เปียกแต่ละยี่ห้อมีสัดส่วนแตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการแพ้ในทารกได้ ซึ่งจากการสำรวจคุณภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชนิดเปียกของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยการสุ่มเก็บตัวอย่างที่วางขายในท้องตลาด จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 44 ตัวอย่าง 254 รายการ ยังไม่พบการปนเปื้อนที่อันตราย แต่มีบางตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลชีววิทยา เพราะมีจำนวนแบคทีเรีย ยีสต์ รา ที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศมากกว่า 1,000 cfu/ซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
หากลูกน้อยของคุณแม่ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว วันหนึ่ง ๆ จะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่ราว 15 – 20 ครั้ง ทำให้ต้องใช้ทิชชู่เปียกปริมาณมากเช่นกัน คุณแม่จึงต้องมั่นใจว่าใช้ทิชชู่ที่ปลอดภัยต่อลูกแน่นอน ซึ่งมีวิธีการเลือกซื้อและง่ายๆ ดังต่อไปนี้
1. มีฉลากระบุ ชื่อสินค้า ส่วนผสม วิธีใช้ ข้อมูลผู้ผลิตหรือนำเข้า และวันหมดอายุที่ชัดเจน
2.ไม่ควรพบกลิ่นผิดปกติ สีเปลี่ยนไป หรือมีรอยด่างดำบนแผ่นทิชชู่เปียกซึ่งแสดงว่าสินค้าหมดอายุแล้ว
3.ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ น้ำหอมและสารกันบูด (Paraben)
4.มีปริมาณของเหลวมากพอที่ไม่ทำให้ผิวระคายเคือง
5.หลีกเลี่ยงการเช็ดบริเวณผิวบอบบางมาก เช่น รอบดวงตา ผิวอักเสบหรือมีบาดแผลเพราะอาจติดเชื้อได้
6.วางแผนการใช้ทิชชู่เปียกให้เหมาะสม ถ้าอยู่ที่บ้านอาจใช้สำลีชุบน้ำเช็ดแล้วซับด้วยผ้านุ่ม ๆ ส่วนทิชชู่เปียกแยกไว้ใช้เมื่ออยู่นอกบ้านแทน นอกจากจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋า และลดปริมาณขยะพลาสติกแล้ว ยังเสี่ยงต่อการระคายเคืองต่อผิวลูกน้อยลงด้วย
7. เลือกใช้วิธีทำความสะอาดอื่นแทนๆ หรือทำทิชชู่เปียกใช้เองที่บ้าน ทั้งปลอดภัยและไม่แพ้
บทความน่าสนใจอื่นๆ
ทำความสะอาดอวัยวะเพศของลูกสาว ให้ถูกสุขอนามัย
ทิชชูเปียก เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดจริงหรือ?
ขอบคุณข้อมูลจาก: www.greenpeace.org, www.theguardian.com, voicetv.co.th, my-best.in.th, chulazerowaste.chula.ac.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่