การ เล่นมือถือในห้องน้ำ เป็นกิจกรรมที่ช่วยฆ่าเวลาได้เป็นอย่างดีในขณะขับถ่าย แต่การนั่งบนชักโครกเป็นเวลานาน ๆ ทั้ง ๆ ที่ขับถ่ายเสร็จแล้ว เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากกว่าที่คิด
หมอเตือน! เล่นมือถือในห้องน้ำ เสี่ยงป่วย 5 โรค
สมัยนี้ โทรศัพท์มือถือ ก็เป็นเหมือนอวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกายไปแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไร ไปที่ไหน พอมือว่างเมื่อไร ก็เป็นอันต้องหยิบมือถือมาสไลด์ดู ไม่เว้นแม้แต่ช่วงที่เข้าห้องน้ำ ในขณะขับถ่ายที่มืออยู่ว่าง ๆ มีหรือที่จะไม่หยิบมือถือขึ้นมาดู อ่านข่าว เล่นเกม เพื่อฆ่าเวลา แต่ยิ่งเล่นมือถือไปเรื่อย ๆ ก็ยิ่งสนุก แม้ว่าจะขับถ่ายเสร็จแล้ว หรือเล่นไปเรื่อย ๆ ก็มัวแต่จดจ่ออยู่กับมือถือ จนเสียสมาธิ ทำให้ขับถ่ายไม่เสร็จได้ แต่รู้หรือไม่ว่าการ เล่นมือถือในห้องน้ำ เป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเกิด 5 โรค ต่อไปนี้
-
โรคท้องผูก
การ เล่นมือถือในห้องน้ำ จะทำให้เรามีสมาธิอยู่ที่มือถือมากกว่าใช้สมาธิในการขับถ่าย ซึ่งอาจจะทำให้จังหวะเคลื่อนตัวของของเสียในลำไส้หยุดชะงักแล้วไหลกลับไปคั่งอยู่ในร่างกายเราเหมือนเดิม เป็นเหตุให้ใช้เวลาขับถ่ายนานกว่าปกติ หรือ หายปวดท้องไปเลย ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้
2. โรคริดสีดวงทวาร
เมื่อเกิดโรคท้องผูกแล้ว อาการที่มักจะมีตามมาหลังโรคท้องผูกคือ โรคริดสีดวงทวาร เพราะเมื่อนั่งขับถ่ายไปนาน ๆ แล้ว พอรู้สึกว่าหายปวดแล้ว (เพราะเสียสมาธิจากการ เล่นมือถือในห้องน้ำ) ก็พยายามฝืนเบ่งให้ถ่ายให้ได้ อาจส่งผลให้เกิดแรงดันในช่องท้องมาก เลือดคั่งบริเวณรูทวารหนัก เพราะเส้นเลือดดำถ่ายเทไม่สะดวกและเกิดอาการโป่งพองขึ้น กลายเป็นริดสีดวงทวารในที่สุด หากไม่อยากเป็นโรคริดสีดวงทวาร ควรพยายามกินผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยเยอะ ๆ พร้อมทั้งเลี่ยงการนั่งส้วมนาน ๆ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ หมอเตือน! เล่นมือถือในห้องน้ำ เสี่ยงป่วย 5 โรค
หมอเตือน! เล่นมือถือในห้องน้ำ เสี่ยงป่วย 6 โรค
3. อาการถ่ายไม่สุด
อาการขับถ่ายไม่สุด อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่กลับสร้างความหงุดหงิดให้ได้ง่าย ๆ เพราะการเสียสมาธิจากการขับถ่ายเพราะมือถือนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ถ่ายยากขึ้นเท่านั้น แต่บางคนถ่ายออกมาแบบกะปริดกะปรอย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด ซึ่งจะทำให้รู้สึกมวน ๆ ท้องรบกวนเราไปทั้งวัน หรือถ้าถ่ายไม่สุดบ่อย ๆ อาจกลายเป็นโรคลำไส้แปรปรวนได้อีก
4. โรคท้องร่วง
ห้องน้ำเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อซีดิฟฟิไคล์ (C.difficile) เชื้ออีโคไล (E. coli) เชื้อแซลโมเนลล่า (salmonella) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน และความผิดปกติอื่น ๆ ของลำไส้ โดยเชื้อโรคเหล่านี้ สามารถพบได้เกือบทุกตารางนิ้วในห้องน้ำ ยิ่งหากตอนกดชักโครกแล้วเราไม่ได้ปิดฝาชักโครกไว้ เชื้อร้ายก็มีโอกาสฟุ้งกระจายไปได้ไกลจนโทรศัพท์มือถือของเราก็ไม่รอดพ้น โดนละอองอากาศที่เปี่ยมไปด้วยเชื้อโรคเกาะติดอย่างแน่นหนา คราวนี้เมื่อเราจับโทรศั
พท์มาเล่นอีกครั้ง เราก็รับเชื้อโรคไปอีกที ยิ่งหากกดชักโครกแล้วไม่ล้างมือ หรือทำธุระเสร็จแล้วล้างมือไม่สะอาด เอามือมาหยิบโทรศัพท์ เชื้อโรคก็คงติดมือถือไปอย่างเลี่ยงไม่ได้แน่ ๆ
5. หน้ามืด เหน็บชา
แค่อาการเหน็บชา และ หน้ามืด จากการนั่งนาน ๆ เอง ไม่เห็นจะดูน่ากลัว แค่เดินไม่ไหว หรือ เดินเซแค่ชั่วครู่ หลาย ๆ คนคงจะรู้สึกว่าไม่อันตรายอะไร เป็นกันอยู่บ่อย ๆ แต่อย่าลืมนะคะ ว่าพื้นห้องน้ำมักจะเปียกและลิ่น อาการเหน็บชาและหน้ามืดที่ดูเหมือนเล็ก ๆ ก็อาจจะอันตรายมาก ๆ ได้หากอาการนี้ทำให้ล้มในห้องน้ำได้
แล้วควรใช้เวลาในการขับถ่ายนานแค่ไหนถึงจะไม่เสี่ยงโรค? หมอจากจุฬาแนะนำต่อว่า ไม่ควรใช้เวลาขับถ่ายในห้องน้ำเกิน 10-15 นาที ควรเข้าไปเพื่อตั้งใจขับถ่ายจริง ๆ หากนั่งนานแล้วยังไม่ถ่าย ให้ออกมาจากห้องน้ำก่อน อาจดื่มน้ำ นม หรือผลไม้ให้มากขึ้น แล้วค่อยรอจนกว่าจะปวดท้องเพื่อขับถ่ายอีกครั้ง เมื่อขับถ่ายเสร็จให้รีบออกมาจากห้องน้ำทันที
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ พบเชื้อโรคในห้องสุขาได้ที่ไหนบ้าง?
พบเชื้อโรคในห้องสุขาได้ที่ไหนบ้าง?
ลูกบิดประตู
ลูกบิดประตูเป็นสิ่งแรกที่เราต้องสัมผัสและเป็นช่องทางที่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายสู่บุคคลอื่น เชื้อสำคัญที่พบ ได้แก่ Staphylococcus spp. ที่พบทั่วไปบนผิวหนัง เชื้อนี้ก่อโรคทางผิวหนังหรือสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษบางชนิดได้
ชักโครก
นอกจากที่รองนั่งชักโครก อีกที่หนึ่งที่มีการสะสมของจุลินทรีย์มาก คือ ปุ่มกดชักโครก เชื้อที่พบได้แก่ S. aureus และเชื้อฟีคัลโคลิฟอร์ม (Faecal coliform bacteria) ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการปนเปื้อนอุจจาระ แบคทีเรียกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ ถ้าเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดอาการถ่ายเป็นน้ำ เป็นมูกเลือดได้ นอกจากนี้ การกดชักโครกโดยไม่ปิดฝาครอบ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง และอาจนำไปสู่การอักเสบในลำไส้ได้ นอกจากนี้ยังพบว่า การกดชักโครกโดยไม่ปิดฝาครอบทำให้จุลินทรีย์ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศบริเวณรอบ ๆ ทำให้เชื้อสะสมอยู่ตามตำแหน่งต่าง ๆ ได้ ดังนั้น การปิดฝาครอบก่อนการกดชักโครกจึงสามารถช่วยให้ผู้ใช้สุขาและผู้ที่ต้องใช้สุขารายต่อ ๆ ไปลดความเสี่ยงหรือป้องกันการได้รับจุลินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นได้
สายฉีดน้ำชำระ
สายฉีดน้ำชำระเป็นอีกหนึ่งจุดที่สะสมจุลินทรีย์ไว้มากจากการฉีดน้ำที่มีความแรง ผลการตรวจการปนเปื้อนในสุขาสาธารณะจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่าจุดที่มีเชื้อมากสุด คือ บริเวณที่จับสายฉีดชำระเป็นเชื้อกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์มที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้
สบู่ล้างมือ
สบู่ล้างมือในสุขาสามารถเป็นแหล่งสะสมจุลินทรีย์ได้ โดยเฉพาะสบู่เหลวชนิดกล่องเปิดฝาแบบเติมมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ถึง 25% โดยเชื้อโรคเกิดขึ้นขณะที่มีการเปิดฝา กล่องเพื่อเติมสบู่นั่นเอง ในขณะที่สบู่เหลวในบรรจุภัณฑ์แบบปิด หรือเมื่อใช้น้ำยาหมดแล้วทิ้ง กลับไม่พบเชื้อปนเปื้อน
เครื่องเป่ามือ (Hand dryer)
เครื่องเป่ามือเป็นอุปกรณ์ในสุขาอีกหนึ่งอย่างที่เราสามารถพบได้ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า ซึ่งเรามักจะใช้เป่ามือกันอยู่เป็นปกติ แต่รู้หรือไม่ว่า เครื่องเป่ามือนี้สามารถเป็นแหล่งสะสมและกระจายจุลินทรีย์ได้อย่างดี วิจัยพบว่าอากาศบริเวณเครื่องเป่ามือแบบใช้ลมแรงเป่า มีแบคทีเรียมากกว่าอากาศบริเวณเครื่องเป่ามือแบบใช้ลมร้อน 4.5 เท่า และมากกว่าบริเวณที่ใช้กระดาษเช็ดมือถึง 27 เท่า
ฝักบัวอาบน้ำ
ฝักบัวเป็นแหล่งซุกซ่อนแบคทีเรียที่ไหลมาตามสายน้ำลงสู่ใบหน้าและร่างกาย ทำให้อาจมีอาการไอแหบ หายใจลำบาก เรื้อรังและหมดแรง ซึ่งเชื้อชนิดนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคในปอด ทางเดินอาหารและผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การใช้ฝักบัวโลหะจะช่วยลดและหลีกเลี่ยงจากจุลินทรีย์เพราะว่าจุลินทรีย์เติบโตในวัสดุประเภทนี้ได้ยาก
แปรงสีฟัน
แปรงสีฟันเป็นของใช้ส่วนตัวที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในช่องปาก โดยแปรงสีฟันสามารถสะสมจุลินทรีย์ได้มากที่สุด ถ้าวางใกล้กับชักโครกมากเกินไป เมื่อเวลาเรากดชักโครกโดยไม่ได้ปิดฝาครอบ จุลินทรีย์สามารถแพร่กระจายไปในอากาศรอบ ๆ ได้ และการทำความสะอาดแปรงสีฟันหลังการใช้งานที่ไม่พอเพียง จะทำให้มีเศษอาหาร แบคทีเรีย และน้ำลายสะสมอยู่ เมื่อนำแปรงสีฟันลักษณะข้างต้นมาใช้ จุลินทรีย์ก็จะเข้าสู่ร่างกายของเราได้เช่นกัน
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
รักและห่วงลูก หยุด! เล่นมือถือขณะให้นม
ผัก 8 ชนิด แก้ท้องผูก ลดปัญหาอุจจาระตกค้าง!
มือถือ เชื้อโรค สองสิ่งที่มาคู่กัน เช็กก่อนให้ลูกเล่น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, kapook.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่