AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ศาลเยาวชน ลงโทษผู้ปกครอง ‘เด็กตีกัน’ เป็นคดีแรก กระตุ้นให้พ่อแม่เอาใจใส่ในการเลี้ยงดูลูก

จากกรณีที่ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษาก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน รวมทั้งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและสังคม ศาลเยาวชนจึงมีคำพิพากษาให้จำคุกผู้ปกครองนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาทเป็นคดีแรก

ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำพิพากษาจำคุก ผู้ปกครองของเยาวชน อายุ 17 ปี  จำนวน 2 คน  ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดี ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพกพาไปในที่สาธารณะ ซึ่งต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีตามคำสั่งคสช.ที่ 30/2559 กับผู้ปกครองทั้ง 2 ของผู้ต้องหา เป็นเวลา 6 เดือน ปรับคนละ 60,000 บาท ซึ่งผู้ต้องหาทั้ง 2 ให้การรับสารภาพศาลลดโทษให้คงจำคุก 3 เดือนปรับ 30,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมนายบี (นามสมมุติ) อายุ 17 ปีและนายดี (นามสมมุติ) อายุ 17 ปี ในข้อหา ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวเข้าไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันยิงปืนในเมืองหรือหมู่บ้านโดยใช่เหตุ ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีตามคำสั่งคสช.ที่ 30/2559 กับผู้ปกครองทั้ง 2 ของผู้ต้องหา คือ มารดาของนายบี และบิดาของนายดี ในข้อหากระทำการบังคับ ขู่เข็ญ ยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุน ให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 อันเป็นเหตุให้นักเรียนหรือนักศึกษาไปก่อการทะเลาะวิวาท หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น ก่อนจับกุมและดำเนินคดีต่อไป

จากผลการลงโทษของศาลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูลูก ถือเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรตระหนักและให้ความสำคัญ เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าลูกจะทำผิดอย่างไร ผลก็ต้องตกมาที่พ่อแม่เช่นนั้นด้วย

อ่านต่อ >> “สาเหตุที่ลูกทะเลาะกับเพื่อน และวิธีการสั่งสอนลูก เพื่อไม่ให้ลูกไปทะเลาะกับใคร” คลิกหน้า 2

ปัญหาลูกทะเลาะกับเพื่อนมีสาเหตุจาก?

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ลูกทะเลาะกับเพื่อน มีประเด็นที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ดังนี้

อ่านต่อ >> “สาเหตุที่ลูกทะเลาะกับเพื่อน” คลิกหน้า 3

จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งของเด็กๆ ขึ้น ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางคนมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เนื่องจากเห็นว่าเด็กๆ มักทะเลาะกันไม่นานเดี๋ยวก็กลับมาดีกันได้ แถมเมื่อสอบถามถึงต้นเหตุ บางครั้งก็มาจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง (ในมุมของผู้ใหญ่) ความทุกข์จากการทะเลาะกันแบบเด็กๆ จึงเป็นเรื่องน่ารำคาญใจมากกว่าจะมีประโยชน์

แต่ถ้าหันไปถามเด็ก เชื่อว่าคงไม่มีเด็กคนไหนอยากให้พ่อแม่มองข้ามความทุกข์ของตนเองเป็นแน่ เด็กๆ ย่อมต้องการระบายความรู้สึก และอยากได้รับความเห็นใจ ความเข้าใจ การยอมรับจากคนใกล้ชิดไม่ต่างจากผู้ใหญ่เวลาที่เผชิญกับความทุกข์ (แบบผู้ใหญ่) เหมือนกัน

ดังนั้นในฐานะพ่อแม่สิ่งที่สามารถช่วยลูกให้ไม่ต้องกล้ำกลืนอยู่กับความทุกข์ตามลำพัง (กับปัญหาการทะเลาะกับเพื่อน) อาจเป็นเรื่องง่ายๆ ดังนี้ค่ะ…

อ่านต่อ >> “พ่อแม่สามารถช่วยลูกกับปัญหาการทะเลาะกับเพื่อนได้อย่างไรบ้าง” คลิกหน้า 4

วิธีช่วยลูกให้ไม่ต้องกล้ำกลืนอยู่กับความทุกข์ตามลำพัง (กับปัญหาการทะเลาะกับเพื่อน)

1. เปิดใจฟังลูก

เวลาลูกมีเรื่องไม่สบายใจ จะดีกว่าหากพ่อแม่เป็นผู้รับฟังปัญหาของเขา เพราะหากมองว่าความทุกข์ของลูกเป็นเรื่องไร้สาระ ก็เท่ากับว่าคุณก็กำลังผลักไสลูกให้ห่างออกไป ลองใช้คำถาม เช่น “ทำไมวันนี้ไม่เห็น..(ชื่อเพื่อนลูก)..มาเล่นกับลูกเลยล่ะ” และหากลูกเริ่มเปิดใจเล่า ขอให้ฟังปัญหาของลูกให้จบ อย่าเพิ่งให้คำแนะนำหรือตัดสินใดๆ เพราะการที่พ่อแม่พูดแทรกเข้ามา หรือเริ่มให้คำแนะนำโดยที่ยังฟังปัญหาของลูกไม่จบนั้น ลูกเขาจะจบเองค่ะ แต่จบกับพ่อแม่นะคะ

2. แสดงความคิดเห็นอย่างเข้าใจ

การแสดงความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจในความทุกข์ของลูกเป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้ และนั่นจะทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้น เช่น “ลูกคงทุกข์มากเลยสินะที่ทะเลาะกับ…” หรือ “แม่เสียใจด้วยนะจ๊ะที่เรื่องเป็นแบบนี้” ตรงกันข้าม ลูกจะรู้สึกแย่มากขึ้นหากพ่อแม่แสดงความเห็นในเชิงต่อว่า หรือมองว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ เช่น อย่าไปใส่ใจกับเรื่องแค่นี้เลยน่า เดี๋ยวลูกก็หาเพื่อนใหม่ได้เองแหละ

3. ไม่เข้าไปก้าวก่ายในความสัมพันธ์ของลูกกับเพื่อน

การพูดถึงด้านไม่ดีของเพื่อนลูก เช่น “แม่ก็ไม่ชอบ….เหมือนกัน เพราะเขาชอบเล่นแรงๆ ดีแล้วที่ลูกเลิกคบกับเขาไปได้” ไม่เป็นผลดีกับใครเลย พ่อแม่ควรเก็บคำพูดเหล่านี้ไว้ให้ลึกสุดใจ

4. ไม่เข้าไปลุยกับพ่อแม่ของอีกฝ่าย

ปัญหาเด็กทะเลาะกัน มักจะบานปลายหากมีการดึงพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายให้ทะเลาะกันไปด้วย ซึ่งไม่เป็นผลดีกับใครเลย เด็กๆ ก็ได้เห็นตัวอย่างที่ไม่ดีไปด้วย อีกทั้งหากพ่อแม่เข้าไปยุ่มย่ามกับปัญหาของเด็กๆ นั่นเท่ากับว่า เด็กๆ พลาดโอกาสที่จะเรียนรู้การปรับตัว และการอยู่ร่วมกันไป และมันยังทำให้เด็กรู้สึกว่า พวกเขาไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้ด้วยตัวเองอีกด้วย

5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับทัศนคติในการมีเพื่อนของลูก

เด็กบางคน แม้จะโดนเพื่อนแกล้ง ล้อเลียน กีดกันไม่ให้เข้ากลุ่ม แต่เด็กก็ยังมองเพื่อนในแง่ดี และมองว่าเขาคนนั้นไม่ว่าอย่างไรก็คือเพื่อน ในกรณีนี้พ่อแม่อาจต้องช่วยลูกตั้งค่า “ความเป็นเพื่อน” อีกนิดหน่อย เพราะหากปล่อยเป็นเช่นนี้ต่อไป เด็กอาจเข้าใจว่า การจะทำให้ตนเองมีเพื่อนได้นั้น อาจต้องแลกมาด้วยการเป็นตัวตลก เป็นที่ล้อเลียนของเพื่อน ๆ ก็เป็นได้

6. ส่งเสริมการคบเพื่อนให้หลากหลาย

การพาลูกไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือพาไปเยี่ยมญาติที่มีลูกหลานวัยใกล้เคียงกัน เป็นอีกหนึ่งทางออกดีๆ ที่พ่อแม่ทำเพื่อลูกได้ นั่นเท่ากับทำให้ลูกมีเพื่อนหลายกลุ่มมากขึ้น และถ้าหากเด็กมีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียน อย่างน้อยเขาก็ไม่ได้รู้สึกโดดเดี่ยวเสียทีเดียว เขาสามารถนำปัญหานี้ไปปรึกษาเพื่อนอีกกลุ่มหนึ่งได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่า การเตรียมที่เตรียมทางเอาไว้รองรับกับความทุกข์ของลูกไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งสำคัญคือ การทำให้ลูกรับรู้ได้ว่า เขายังมีบ้าน มีพ่อแม่ที่คอยสนับสนุนอยู่เสมอ(สนับสนุนในทางที่ดีที่ถูกที่ควร) ดีกว่าปล่อยให้ลูกทุกข์จนต้องไประบายกับเพื่อนด้วยการทะเลาะ ลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกาย เป็นเรื่องใหญ่โต เพราะนอกจากจะทำให้เกิดการสูญเสียต่อประชาชนและสังคม หรือเพื่อนๆ ก็ตาม ยังทำให้ครอบครัวเดือดร้อนตามไปด้วย จริงไหมคะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจคลิก!

>> วิธีก้าวไปสู่ความเป็นพ่อแม่ที่ดี

>> มงคลที่ ๑๒ “สงเคราะห์บุตรในเข้าถึงธรรม”

>> พ่อแม่รังแกฉัน! บาป 14 ประการ

>> คุณเป็นพ่อแม่แบบไหนสำหรับลูก?


ขอบคุณข้อมูลและข่าวจาก : www.matichon.co.th , news.voicetv.co.th , crime.kachon.com , www.manager.co.th , taamkru.com