ในช่วงนี้ที่มีอากาศร้อนจัด นอกจากต้องเผชิญกับแสงแดดและอากาศร้อนแล้ว อาการป่วยและอุบัติเหตุต่าง ๆ ก็คงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 2 ภัย 3 โรคฤดูร้อน ที่ต้องระวังมีอะไรกันบ้าง
ร้อนจัดระวัง! 2 ภัย 3 โรคฤดูร้อน ในเด็ก
แน่นอนว่าเมื่ออากาศร้อน เราทุกคนมักจะหาทางคลายร้อนด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ทราบหรือไม่ว่าบางพฤติกรรมที่ใช้ในการคลายร้อนนั้นอาจเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ รวมถึงอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงได้ นายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จึงได้ออกมาเตือนถึงพฤติกรรมที่เสี่ยงให้เกิด โรคฤดูร้อน และภัยต่อสุขภาพ ดังนี้
-
เสี่ยงต่อภาวะอ้วนและโรคเบาหวาน
ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าอากาศร้อนจะเกี่ยวข้องอะไรกับโรคอ้วนและเบาหวาน ตัวการที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวนั้น มาจากพฤติกรรมการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมหวาน และผลไม้รสหวานจัดเป็นประจำ เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัด ทำให้รู้สึกเพลียหรือเหนื่อยได้ง่าย วิธีการคลายเหนื่อยและทำให้สดชื่นคลายร้อน ที่ทำได้ง่ายก็คือหาเครื่องดื่มที่มีรสหวานและเย็นมาทาน แต่การทานบ่อย ๆ ก็อาจทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจนทำให้น้ำตาลสะสมอยู่ในร่างกายมากจนเกินไปจนนำไปสู่ภาวะอ้วนและโรคเบาหวานได้
2. เสี่ยงไฟไหม้
ในช่วงที่มีอากาศร้อน อากาศมักจะแห้ง จนเป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย การเปิดพัดลมทิ้งไว้นาน ๆ หรือการลืมปิดพัดลมก่อนออกจากบ้าน ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้เช่นกัน
3. เสี่ยงเด็กจมน้ำ
ในช่วงปิดเทอมหน้าร้อน เด็ก ๆ มักจะชอบเล่นน้ำเพื่อคลายร้อน ทำให้เกิดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุจากการจมน้ำได้มากกว่าในช่วงอื่น เพราะเด็กมักจะขาดความระมัดระวังในการเล่นน้ำ โดยถึงแม้จะเป็นน้ำที่ตื้น คู คลอง ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
4. เสี่ยงต่อการเกิดโรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ
โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ปรุงไม่สุก อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีรสจัด เช่น ส้มตำ ยำต่าง ๆ เป็นต้น
5. เสี่ยงต่อการกระทบกระทั่งจากการใช้อารมณ์
เนื่องจากอากาศร้อน ทำให้หงุดหงิดได้ง่าย ส่งผลกระทบตทางอ้อมต่อสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเครียด มีปัญหาส่วนตัวอยู่แล้ว อาจเพิ่มความเครียดให้สูงขึ้น ทำให้อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ใจร้อน และขาดสติ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ วิธีดูแลสุขภาพเพื่อป้องกัน 2 ภัย 3 โรคฤดูร้อน
วิธีดูแลสุขภาพเพื่อป้องกัน 2 ภัย 3 โรคฤดูร้อน
วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในช่วงหน้าร้อน เพื่อลด 2 ภัย 3 โรคฤดูร้อน โดยการนำหลักสุขบัญญัติมาปฏิบัติ ทำได้ดังนี้
-
ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน
น้ำหวาน ขนมหวาน ทุกชนิด มากไป = อ้วน สามารถดื่มน้ำหวาน ทานขนมหวานเพื่อคลายร้อนได้บ้าง แต่ไม่ควรดื่มหรือทานบ่อย ๆ การดื่มน้ำเปล่า ก็สามารถคลายร้อนได้เช่นกัน แนะนำให้ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว โดยดื่มหรือจิบเป็นระยะตลอดวัน เพื่อช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกายช่วงอากาศร้อน ลดเสี่ยงโรคฮีตสโตรก ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
2. ไม่ประมาท
ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ควรระมัดระวังอุบัติภัยจากไฟไหม้ โดยการตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ชำรุด โดยเฉพาะพัดลมและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้งานหนักในช่วงอากาศร้อนและมีอายุการใช้งานมานาน อย่าเปิดทิ้งไว้นาน ๆ ปิดสวิตช์และถอดปลั๊กก่อนออกจากบ้านเสมอ
3. ดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ให้เทน้ำในภาชนะที่มีน้ำขังออก กั้นบริเวณให้เด็กเล่นในที่ปลอดภัย ปิดฝาภาชนะใส่น้ำ เพราะแม้น้ำจะตื้นแค่ไหนในสายตาของผู้ใหญ่ แต่ก็จะลึกมากสำหรับเด็กเล็กที่ตกใจกลัวและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ส่วนบ้านที่มีเด็กอายุมากกว่า 5 ขวบ ให้เฝ้าระวังการชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพัง ฝึกให้เด็กหัดว่ายน้ำ ลอยตัว ย้ำเตือนเรื่องการพบเห็นคนตกน้ำห้ามลงไปช่วยเอง ให้ใช้การตะโกน โยน ยื่น และสอนเรื่อง อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ในบริเวณใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ และในการท่องเที่ยวพักผ่อนคลายร้อนที่ทะเล น้ำตกหรือแหล่งเก็บน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ควรเลือกเล่นน้ำในบริเวณที่ปลอดภัย สังเกตป้ายหรือสัญลักษณ์คำเตือน และปฏิบัติตามคำแนะนำและกฎแห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
4. ทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก
เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงใหม่ ๆ เนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก และไม่มีแมลงวันตอม ในช่วงหน้าร้อนที่อาหารเสีย เน่า บูดได้ง่าย ก่อนทานอาหารทุกครั้งควรสังเกตให้ดีว่าอาหารที่กำลังจะทานนั้นเสียหรือยัง ที่สำคัญ ควรล้างมือบ่อย ๆ โดยล้างให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
5. ใช้สติควบคุมอารมณ์
ฝึกฝนการใช้สติควบคุมอารมณ์ จะช่วยยับยั้งปัญหาการกระทบกระทั่งที่อาจลุกลามรุนแรงได้ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหาเวลาออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ช่วยให้มีความสุข แก่ช้าลงอีกด้วย
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
หวัดแดด โรคหน้าร้อน ที่ต้องระวังในเด็กเล็ก
ใช้ขวดลอยตัวในน้ำ ช่วยลูกจากการจมน้ำ เทคนิคที่พ่อแม่ต้องรู้
ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่