จากที่มีการประกาศ โดยสำนักงานประกันสังคม ว่ามีการอนุมัติเพิ่มสิทธิประโยชน์ กรณี เงินสงเคราะห์บุตร 600 ที่จากเดิม 400 บาท ต่อบุตร 1 คน ไม่เกินอายุ 6 ปี เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2561 ซึ่งล่าสุดได้มีการแจ้ง “การเปลี่ยนแปลงการจ่ายใหม่” โดยจะล่าช้า 2 เดือน
เลื่อนการจ่าย เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท
จากเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทาง นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการประกันสังคม ได้ออกมาเปิดเผยถึง มติคณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 13) ครั้งที่ 18/2560 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณี สงเคราะห์บุตร จากเดิม 400 บาทต่อบุตร 1 คน >> เป็น 600 บาท ต่อบุตร 1 คน ไม่เกินอายุ 6 ปี
สำหรับเหตุผลของการปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร ในครั้งนี้…เนื่องมาจากสำนักงานประกันสังคม ได้ประกาศใช้อัตราเงินสงเคราะห์บุตร ในอัตรา 400 บาทต่อเดือน มาตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 โดยไม่มีการปรับเพิ่มมาหลายปีแล้ว และปัจจุบันมีผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรเฉลี่ย 1,324,848 คนต่อเดือน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2560) อีกทั้งจำนวนบุตรของผู้ประกันตนมีอัตราการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
ซึ่งจากผลการศึกษาของสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่า… ค่าใช้จ่ายด้านอาหารของเด็กเล็กอยู่ที่ 579 – 812 บาทต่อเดือน ซึ่งจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มเป็น เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาทต่อเดือน ในปี 2561 เป็นเงินประมาณการจำนวน 3,036 ล้านบาท ไม่กระทบต่อเสถียรภาพกองทุนประกันสังคมและจะเป็นปริมาณเงินเพิ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
คณะกรรมการประกันสังคมมีมติเห็นชอบ และมีความประสงค์ที่จะมอบสิทธิ์นี้ให้กับคุณแม่ทุกคนที่มีบุตรอายุไม่เกิน 6 ปี เป็นของขวัญรับปีใหม่
อ่านต่อ >> “รายละเอียดประกาศเลื่อนการจ่าย เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท” คลิกหน้า 2
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.khaosod.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
รายละเอียดการจ่าย เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท
โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน และต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น บุตรมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนครั้งละไม่เกิน 3 คน เว้นผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
ทั้งนี้ด้าน นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้กล่าวว่า…
กฎเกณฑ์ของกฎหมายยังเป็นอุปสรรคในบางกรณี เช่น ผู้ประกันตนจะขาดสิทธิสงเคราะห์บุตรเมื่อออกจากงาน ทั้งที่การออกจากงานเพราะถูกเลิกจ้าง เป็นความเดือดร้อนและบุตรก็ยังมีค่าใช้จ่าย ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย ซึ่งอาจใช้เวลาระยะหนึ่ง ก่อนประกาศใช้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.2561
>> แต่ล่าสุด!! …ได้มีเอกสารเป็นข่าวประชาสัมพันธ์ออกมาแจ้งถึง การจ่าย เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท ว่ามีการเปลี่ยนแปลงการจ่ายใหม่ เป็นการจ่ายล่าช้า 2 เดือน
รายละเอียดประชาสัมพันธ์แจ้ง การจ่าย เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท
*หมายเหตุ: กรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง เจ้าหน้าที่จะอธิบายผู้ประกันตนเป็นรายๆ (เนื่องจากแต่ละคนมีเงินสมทบ/หรือมีการเข้าทำงาน – ออกจากงาน ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการมีสิทธิ/ได้รับสิทธิ จึงไม่เหมือนกัน)
**หมายเหตุ: เงินสงเคราะห์บุตร จะจ่ายถึงลูกอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยปี 2560 จ่าย 400 บาท ปี 2561 จ่าย 600 บาท
ซึ่งล่าสุดในเดือนมกราคม 2562 ทางสำนักงานประกันสังคม ได้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เป็น เงินสงเคราะห์บุตร ย้อนหลัง ไปจนถึงเดือน ม.ค. 61 จำนวนเดือนละ 200 บาท รวม 12 เดือน เป็นจำนวน 2,400 บาท … ทั้งนี้กรณีปรับอัตราการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร จาก 400 บาท เป็น 600 บาท จะเริ่มมีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ซึ่งกฎหมายประกาศเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องวิธีเช็กและการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง ได้ที่นี่ >> เงินสงเคราะห์บุตร ย้อนหลัง เริ่มจ่าย 31 ม.ค. 62 เข้าเท่าไหร่ เช็กเลย!
ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเรื่อง การจ่ายเงิน เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับประกันสังคม สามารถโทรไปสอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์ สายด่วน 1506 กระทรวงแรงงาน ส่วนงานประกันสังคมนะคะ หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th/wpr/
อ่านต่อ >> “หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับคุณแม่ที่จะได้รับจากประกันสังคมเมื่อมีลูก” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สิทธิประโยชน์กรณีผู้ประกันตนมีลูก
เมื่อคุณพ่อหรือคุณแม่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร ก็จะสามารมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน คือ เดือนที่คลอดบุตรไม่นับสิทธิ การนับจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน
สิทธิประกันสังคม สำหรับ “คุณแม่” ผู้ประกันตนหญิงที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ได้รับสิทธิจากประกันสังคมดังนี้
1. กรณีคลอดบุตร – ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้าง 90 วัน
อัตราการได้รับเงินดังตารางด้านล่างนี้
- กรณีสงเคราะห์บุตร – เงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 600 บาทต่อบุตร 1 คน ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน
เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์
1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ
2. สำเนาสูติบัตรของบุตรพร้อมตัวจริง (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
3. สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิถ้าไม่มีไม่ใช้ กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิหากไม่มีสำเนาทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของ ผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส)
4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 9 ธนาคาร คือ
– ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
– ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
– ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
– ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
– ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
– ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
– ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBAK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550)
– ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)
หมายเหตุ : หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ทำอย่างไรเมื่อ ป่วยคนละที่กับ สิทธิประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล เบิกได้?
- ยกเลิก บัตรประกันสังคม ผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 61!
- ประกันสังคม กรณีเงินสงเคราะห์บุตร แบบครบถ้วน
- สิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ทั้งหมดที่แม่ท้องควรรู้!
อ้างอิงจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน