เป็นธรรมดาที่พ่อแม่ทุกคนจะห่วงอนาคตของลูกการ ฝากเงินให้ลูก เพื่อสำรองไว้ใช้เมื่อลูกโตขึ้น ก็เป็นสิ่งที่สามารถรับประกันได้ว่าลูกจะมีเงินก้อนไว้ใช้ในยามจำเป็น มาดูกันว่าธนาคารไหนให้ผลตอบแทนสูงที่สุด
ฝากเงินให้ลูก เทียบเงินฝากปลอดภาษี ธนาคารไหนดอกเบี้ยสูง?
การ ฝากเงินให้ลูก เป็นสิ่งที่ดี แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องมั่นใจว่า การเก็บเงินให้ลูกแต่ละบาทนั้น เงินเก็บจะอยู่อย่างปลอดภัย และยังสามารถได้รับผลตอบแทนสูง การฝากเงินในรูปแบบของการฝากประจำหรือฝากออมทรัพย์ อาจได้รับผลตอบแทนที่ต่ำแต่มีความปลอดภัยสูง ในขณะที่การฝากเงินในรูปแบบอื่น ๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงแต่กลับเสี่ยงที่จะสูญเงินได้เช่นกัน แล้วจะมีไหม? ที่การเก็บเงินสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจพร้อมทั้งปลอดภัยไปในพร้อม ๆ กัน ขอบอกว่ามีและปลอดภัยแน่นอนค่ะ กับเงินฝากในรูปแบบของ เงินฝากปลอดภาษี นั่นเอง
เงินฝากปลอดภาษีคืออะไร?
เงินฝากปลอดภาษีคือการออมเงินอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 2 ปี ไปจนถึง 5 ปี ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ดอกเบี้ยที่ได้รับอยู่ในระดับสูงกว่า 2% ต่อปี และไม่ต้องเสียภาษี 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ ยิ่งระยะเวลาเงินฝากยิ่งนาน ผู้ฝากก็ยิ่งได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เช่น เงินฝากปลอดภาษีระยะเวลา 2 ปี ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.25% ต่อปี แต่ถ้าระยะเวลายาวนานขึ้น อัตราดอกเบี้ยมักจะปรับสูงขึ้นอีกประมาณ 0.25% ปัจจุบันเกือบทุกธนาคารมีการออกเงินฝากปลอดภาษีมาให้เลือกฝาก แต่ต้องฝากอย่างไร ฝากธนาคารไหนถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด มาดูกันค่ะ
เงื่อนไขของเงินฝากปลอดภาษี
- ต้องฝากเป็นประจำทุกเดือน ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน โดยแต่ละธนาคาจะกำหนดจำนวนเงินฝากขั้นต่ำในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน แต่จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องฝากจะอยู่ที่ 300-1,000 บาท เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถกำหนดได้ว่าต้องการจะฝากเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ไว้ล่วงหน้าได้เลย วิธีการแบบนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ฝึกวินัยเรื่องการออมเงินได้อีกด้วย
- ต้องฝากในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารกำหนด โดยส่วนมากจะอยู่ที่ 24 เดือนขึ้นไป และยิ่งอายุสัญญาในการฝากเงินยิ่งนานเท่าไร ก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามระยะเวลา
- ต้องฝากให้ครบจำนวน และฝากให้ตรงเวลา ถ้าอยากจะมั่นใจว่า ดอกเบี้ยของเราจะปลอดภาษีแน่ ๆ ก็ต้องมั่นใจว่า เราจะสามารถฝากได้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ได้ทุกเดือนไปจนครบกำหนดอายุเงินฝาก เพราะถ้าเกิดทำผิดเงื่อนไข เช่น ฝากไม่ครบจำนวน หรือ ฝากไม่ครบเวลา (ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ขาดการฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง) เราก็อาจจะไม่ได้ดอกเบี้ยตามที่หวังไว้ เพราะอาจจะได้เท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ หรือ กลับไปเสียภาษีดอกเบี้ยเหมือนกับเงินฝากประจำแบบปกตินั่นเอง
- จะได้รับยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร หากทำตามเงื่อนไขที่กำหนด
- หากถอนหรือปิดบัญชีก่อน 3 เดือน จะไม่ได้รับดอกเบี้ย
- สามารถเปิดได้เพียงคนละ 1 บัญชีเท่านั้น (รวมบัญชีประเภทเดียวกันนี้ทุกธนาคาร)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ตารางเปรียบเทียบดอกเบี้ยและเงื่อนไข ฝากเงินให้ลูก ธนาคารไหนดี?
ตารางเปรียบเทียบดอกเบี้ยและเงื่อนไข ฝากเงินให้ลูก ธนาคารไหนดี?
ธนาคาร | ระยะเวลา | ดอกเบี้ย | จำนวนเงินฝากขั้นต่ำ-สูงสุดไม่เกิน | เงื่อนไข |
ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย | 24 เดือน | 2.75% | 1,000-25,000 บาท | |
ธนาคารธนชาต | 24 เดือน | 2.60% | 300-25,000 บาท | อัตราดอกเบี้ยลอยตัว |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | 24 เดือน | 2.50%-2.60% | 500-25,000 บาท | วันที่ครบกําหนดการจ่ายดอกเบี้ย จะนับจากวันที่ฝากงวดสุดท้ายไปอีก 1 เดือน |
ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) | 24 เดือน | 2.55% | 1,000-25,000 บาท | ระยะเวลาการฝากจะนับแบบ วันชนวัน เดือนชนเดือน |
ธนาคารกสิกรไย | 24 เดือน | 2.50% | 500-25,000 บาท | |
ธ.ก.ส. | 24 เดือน | 2.50% | 1,000-25,000 บาท | |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | 24 เดือน | 2.50% | 1,000-25,000 บาท | |
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ | 24 เดือน | 2.50% | 1,000-25,000 บาท | หากขาดฝากมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป ต้องดำเนินการปิดบัญชีเท่านั้น |
ธนาคารยูโอบี | 24 เดือน | 2.00%-2.50% | 1,000-25,000 บาท | ฟรี ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล |
ธนาคารกรุงไทย | 24 เดือน | 2.25% | 1,000-25,000 บาท | |
ธนาคารกรุงเทพ | 24 เดือน | 2.25% | 1,000-25,000 บาท | |
ธนาคารออมสิน | 24 เดือน | 2.25% | 1,000-25,000 บาท | |
ธนาคารกรุงศรี | 24 เดือน | 2.50% | 1,000-25,000 บาท |
เห็นไหมคะว่าการ ฝากเงินให้ลูก นอกจากจะปลอดภัยแล้ว ยังได้ผลตอบแทนที่ดีอีกต่างหาก หากใครสนใจเปิดบัญชีไหน ลองหาสาขาที่อยู่ใกล้เคียง ไปเปิดบัญชีปลอดภาษีออมเงินเพื่อลูกกันไว้ดีกว่านะคะ ลองเช็กข้อมูลดอกเบี้ยจากตารางข้างต้นเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ออมเงินเพื่ออนาคตลูกรัก เลือกธนาคารไหนดี?
อาชีพเสริม สำหรับคุณแม่บ้าน ทำได้ที่บ้านหรือแม้เลี้ยงลูก
วิธีฝึกลูกน้อยสู่คนคุณภาพ ตามแบบญี่ปุ่น
10 แบบอย่างที่ดี ที่พ่อแม่ควรทำให้ลูกเห็น
ขอบคุณข้อมูลจาก : kapook
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่