สำหรับครอบครัวไหนที่มีวางแผนจะพาลูกน้อยเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ก็คงต้อง พาลูกไป ทำพาสปอร์ต แล้วถ้าต้องทําพาสปอร์ตให้แก่เด็กทารกตัวน้อย จะต้องใช้เอกสารหรือวิธีการทำอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้ว Amarin Baby & Kids จึงขอแนะนำข้อมูลการ พาลูกไปทําพาสปอร์ต สำหรับครอบครัวที่มีแพลนที่จะพาลูกน้อยไปเที่ยวต่างประเทศ มาฝากค่ะ
พาลูกไป ทําพาสปอร์ต ครั้งแรก!
ซึ่งไม่นานมานี้ก็มีภาพพร้อมคลิปน่ารักๆ ของ น้องเป่าเปา สาวน้อย เมื่อวัย 5 เดือน ลูกสาวของแม่กุ๊บกิ๊บและพ่อบี้ ที่มาถ่ายรูปทำพาสปอร์ตเพื่อเตรียมตัวจะไปเที่ยวเมืองนอกนั่นเองค่ะ
โดยเด็กหญิงพอลลีน่า หรือ น้องเป่าเปา ได้ไปถ่ายรูปทำพาสปอร์ตเล่มแรก นอกจากจะผัดหน้าทาแป้งหน้าผ่องไปแล้ว หนูน้อยเป่าเปา ยังกระโดดโลดเต้น ตื่นเต้นไปกับเสียงกองเชียร์ ที่ลุ้นกันหนักมาก โดยเฉพาะ คุณแม่กุ๊บกิ๊บ ที่ส่งเสียงลุ้นและแซวลูกสาว กับภาพที่ออกมาก็น่ารักน่าชัง … ไปดูข้อความที่คุณแม่สุดแซ่บ แซวลูกสาวตัวน้อยกัน และดูรูปพาสปอร์ต ของน้องเป่าเปา ว่าจะออกมาน่ารักขนาดไหน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
“Her first passport picture #ggbbpp @ggbbpaopao.official ทำพาสสปอรต์ครั้งแรก55555555555555 #ประเทศเค้าจะให้เข้าไหมเนี่ยหมู!!! #หน้าไม่ตรงกับเพศ#หมูจิเที่ยวววว” โดยมีแฟนคลับเข้ามากดไลก์ พร้อมบอกว่าน่ารักมากๆ
อ่านต่อ >> “ขั้นตอนการทำพาสปอร์ตสำหรับเด็ก ๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี” คลิกหน้า 2
พาลูกไป ทำพาสปอร์ต ครั้งแรก มีขั้นตอนอย่างไร?
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี มีเอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมดังนี้ …
- สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอหรือเขต หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากอำเภอหรือเขตมาแสดงพร้อมผู้มีอำนาจปกครอง
- บัตรประชาชนฉบับจริงของพ่อและแม่ หรือผู้มีอำนาจปกครอง นำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของพ่อแม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง หากชื่อนามสกุลพ่อแม่ ในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่แม่หย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ที่ต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากอำเภอหรือเขต
- เอกสารอื่น ๆ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ, เปลี่ยนนามสกุล, เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม, บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของพ่อหรือแม่ เป็นต้น
- อัตราค่าธรรมเนียม เริ่มต้นราคา 1,000 บาท
กรณีที่พ่อและแม่ไม่สามารถเดินทางมาทำด้วยตนเอง
หากผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาดำเนินการได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้เด็กเดินทางไปต่างประเทศ พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อแม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริงมาแสดง ทั้งนี้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้เด็กเดินทางไปต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต และมีบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ รวมทั้งหนังสือยินยอมให้ให้เด็กเดินทางไปต่างประเทศ ที่ผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต
กรณีพ่อ-แม่หย่ากัน
- ให้นำบันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของพ่อหรือแม่มาแสดงพร้อมสูติบัตร
- กรณีพ่อหรือแม่ของเด็กเสียชีวิต พ่อหรือแม่ของเด็กเป็นชาวต่างชาติ มิได้จดทะเบียนสมรส และไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้
- พ่อหรือแม่ ของเด็กเป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรส และไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ และพ่อแม่มิได้จดทะเบียนสมรสแต่ลูกอยู่ในความดูแลของพ่อฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหาแม่ได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง พร้อมสูติบัตรตัวจริง
อ่านต่อ >> “ข้อควรปฏิบัติในวันที่คุณพ่อคุณแม่ พาลูกมายื่นคำร้องทำพาสปอร์ต” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
พาสปอร์ตสำหรับเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี
√ ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
นำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการยื่นคำร้องกรณีเด็กมีอายุต่ำกว่า 15 ปี และเด็กที่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ หากเอกสารที่นำมาแสดงไม่ครบถ้วนจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมในวันรับเล่ม ซึ่งจะทำให้การรับเล่มล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำมาแสดงเพิ่มเติมลงในระบบให้ครบถ้วน ซึ่งในขั้นตอนของการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่ มีดังนี้
- รับบัตรคิว
- ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก (หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล
– ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า)
– แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
- ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์ 40 บาท หากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม
ระยะเวลาการรับหนังสือเดินทาง
- หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
- หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
- กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ
นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลอง เพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ และในกรณีจำเป็นสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS) ได้ ทั้งนี้ ก่อน พาลูกไปทำพาสปอร์ต คุณพ่อคุณแม่สามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมการกงสุล consular.go.th
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
5 เทคนิครับมือเหตุไม่คาดฝัน! เมื่อพาลูกเตาะแตะเที่ยวนอกบ้าน
พาลูกเล็กขึ้นเครื่องบิน เตรียมตัวอย่างไรดีนะ
เตรียมพร้อมก่อนหอบลูกสนุกนอกบ้าน ท่องเที่ยวไปในโลกกว้างกับลูกโดยไม่ป่วนใคร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก consular.go.th
ขอบคุณภาพจาก ig : @gggubgib36 , @stiasiri