AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

จิตแพทย์ตอบ “ พ่อแม่ทะเลาะกัน ” ลูกฝังใจหรือไม่?

เครดิต: Women's Day

จิตแพทย์ดังตอบคำถาม! ลูกจะฝังใจหรือไม่ ถ้าหาก “พ่อแม่ทะเลาะกัน” ต่อหน้าลูก!!

 

การที่สามีภรรยาจะมีปากมีเสียงกันนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มันคงไม่ดีแน่ ๆ หากการเถียงกันนั้น เป็นการถกเถียงกันต่อหน้าลูก!! เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่า ลูกกำลังเห็นอะไรอยู่ และสิ่งที่เขาเห็นนั้น หากเห็นเป็นประจำทุกวันไม่ว่าจะมีการใช้กำลังลงไม้ลงมือ เขวี้ยงปาข้าวของ หรือการใช้คำพูดอันหยาบคายหรือไม่ก็ตาม ลูก … ก็ได้ซึมซับพฤติกรรมเหล่านั้นไปเรียบร้อยแล้ว
เช่นเดียวกับวันนี้ที่จิตแพทย์ชื่อดังอย่าง นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จะมาตอบคำถามให้พวกเราได้เข้าใจว่า การที่ พ่อแม่ทะเลาะกัน ต่อหน้าลูกนั้น ส่งผลกับเด็กมากน้อยเพียงใด
โดยคุณหมอ ได้ยกคำถามขึ้นมาคำถามหนึ่งว่า
“วันนั้นได้ทะเลาะกับสามี มีการเถียงกันค่อนข้างรุนแรง และได้ขว้างปาข้าวของใส่กัน แต่ก็ไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเลือดตกยางออก แล้วลูกก็มาเห็นเข้าพอดี ลูกดูตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาก ตั้งแต่วันนั้นเราทั้งสองคนรู้สึกผิดเป็นอย่างมาก ไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี อยากรู้ว่า ลูกจะฝังใจจนมีปัญหาอะไรหรือไม่คะ”

 

คำตอบของคุณหมอก็คือ: มีแน่นอน ไม่มากก็น้อย ก็ไปก็ไม่ควรทำอีก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ลูกนั้นอายุเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น
คุณหมอยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หากคุณพ่อคุณแม่เผลอไปครั้งเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องที่กล่าวไปแล้วนั้นจะเกิดขึ้น ดังนั้นไม่ต้องกังวลไป แต่สิ่งที่คุณหมอจะพยายามอธิบายก็คือ อย่าทำซ้ำให้ลูกเห็นอีก 

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ


เครดิต: นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

 

 

Christelle Roustit นักวิจัยและทีมงานจาก INSERM ประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้ค้นพบว่า การทะเลาะกันของพ่อแม่นัั้น เป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบนั้นมาจาก
นอกจากนี้ ยังได้มีผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Washington และ มหาวิทยาลัย Pennsylvania รายงานว่า พบว่าฮอร์โมนความเครียด หรือ Cortisol ในเด็กนั้นเพิ่มสูงขึ้น หากเด็กเติบโตมาพร้อมกับครอบครัวที่พ่อแม่ชอบทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำ 

ฮอร์โมนความเครียดคืออะไร?

เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายจะหลั่งออกมา เมื่อต้องเผชิญกับสภาวะเครียดและกดดัน ซึ่งฮอร์โมนที่ว่านี้ จะมีผลต่อการไหลเวียนของกลูโคสในกระแสเลือด เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมให้ร่างกายสามารถรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ดี แต่! ไม่ควรที่จะหลั่งออกมามากหรือบ่อยเกินไปสำหรับเด็ก ๆ
รายงานวิจัยยังพบว่า ฮอร์โมนดังกล่าวนั้นเพิ่มมากขึ้นแล้ว การที่เด็กต้องเติบโตมาในสภาพดังกล่าว ยังส่งผลให้เด็กนั้น มีปัญหาในการเข้าสังคมตามมาได้อีกด้วยเช่นกัน
คุณพ่อคุณแม่คะ การที่ลูกต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวนั้น นอกจากจะส่งผลกระทบตามที่ได้กล่าวไปแล้วยัง ทราบหรือไม่คะว่ายังจะส่งผลกระทบต่อ พัฒนาการทางด้านสมองของลูกน้อย อีกด้วยเช่นกัน

อ่านวิธีการป้องกันได้ที่หน้าถัดไป


เครดิต: ผู้จัดการออนไลน์ Thaimental และ เฮลท์เดย์ นิวส์

 

 

ไม่อยากทะเลาะกันต่อหน้าลูก ป้องกันอย่างไรดี?

แพทย์หญิง วินัดดา ปิยะศิลป์ จิตแพทย์เด็กจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ที่มีปากเสียงกันต่อหน้าลูกว่า
เวลาที่คุณพ่อคุณแม่ทะเลาะกัน ลูกก็จะมองปฏิกิริยาของทั้งคู่ ดูน้ำเสียง ดูสีหน้า ที่พวกเขาไม่เคยเห็นหรือสัมผัสมาก่อน และสิ่งเหล่านี้นี่แหละค่ะ ที่จะไปสร้างความรู้สึกกลัว เศร้าและเสียใจขึ้น
ดังนั้น ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะทะเลาะกัน อยากให้มองปัญหาอย่างมีสติและควบคุมอารมณ์ของตัวเองกันให้ได้ก่อน เพราะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายโกรธกัน แน่นอนค่ะว่า สิ่งแรกที่มาก่อนเหตุผลเลยก็คือ อารมณ์ และถ้าหากทนไม่ไหวหรือควบคุมสติไม่ได้ ก็ย่อมทำให้เกิดการใช้กำลังตามมา
เพื่อเป็นการป้องกันและช่วยเหลือสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมากับลูก คุณพ่อคุณแม่จะต้องรู้ทันตัวเอง รู้ทันสถานการณ์ พร้อมรู้จักเตือนสติของตัวเองกันให้ดี อย่าลืมนะคะว่า ลูกอยากเห็นคุณทั้งสองคนรักกัน หากรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังโกรธ ก็ให้อีกฝ่ายเตือนให้หยุดทะเลาะกันก่อน ถึงแม้ว่าจะทำได้ยาก แต่เพื่อลูกที่คุณรัก … อย่างไรคุณก็สามารถทำได้ จริงไหมคะ?

เครดิต: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

อ่านเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่