AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เด็กป.1-3 เฮ! มาเลเซียประกาศยกเลิก สอบกลางภาค-ปลายภาค

สอบกลางภาค

กระทรวงศึกษาธิการประเทศมาเลเซีย ประกาศว่าในปีนี้ (2019) มาเลเซียจะไม่มีการ สอบกลางภาค-ปลายภาค สำหรับเด็กนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 อีกต่อไป

เด็กป.1-3 เฮ! มาเลเซียประกาศยกเลิก สอบกลางภาค-ปลายภาค

ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอนำข่าวจากประเทศเพื่อนบ้านเรา เกี่ยวกับระบบการศึกษาของประเทศมาเลเซีย ที่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้ กระทรวงศึกษาธิการของประเทศมาเลเซีย ได้ประกาศยกเลิกการ สอบกลางภาค และ การสอบปลายภาค ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โดยเล็งเห็นว่า การประเมินผลของเด็กนักเรียนภายในประเทศ มีบางสิ่งที่น่าจะดีกว่าการจัดสอบวัดผลความรู้ และอาจจะส่งผลดีต่อนักเรียนมากกว่า และ ระบบการศึกษาของมาเลเซีย ควรโฟกัสไปที่การสอนและการสนับสนุนนักเรียน ค้นพบกับความสุขจากการเรียนรู้มากกว่าการสอบวัดผล

กระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย เล็งเห็นว่าการสอบวัดผลในเด็กเล็ก จะสร้างความกดดันให้เด็กจนไม่อยากเรียน

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า หากไม่มีการสอบแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว และควรเสริมสิ่งใด กระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย ระบุว่า จะใช้ระบบการประเมินผลอย่างต่อเนื่องแทนการสอบ และในส่วนของการเรียนการสอน จะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านระบบ Classroom-Based Assessment (PBD) แทนอีกด้วย โดย กระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียเล็งเห็นว่าระบบการเรียนรู้นี้ จะช่วยเพิ่มความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียน เพิ่มความสนุกควบคู่ไปกับสาระที่จำเป็นและโฟกัสที่ความต้องการของเด็กเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทั้ง 4 ด้านให้แข็งแกร่งมากขึ้น (อ่าน, เขียน, การนับเลข และการใช้เหตุผล) แทนการสอบ ซึ่งจะทำให้เด็กถูกเปรียบเทียบจนอาจหมดกำลังใจ ทำให้มีความรู้สึกในด้านลบต่อการเรียน และข้อดีอีก 1 ข้อ สำหรับการเรียนผ่านระบบนี้ คือ จะช่วยลดช่องว่างระหว่างโรงเรียนในชนบทและโรงเรียนในเมือง เพื่อเป็นยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้เท่าเทียมกันทั้งประเทศมาเลเซียอีกด้วย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ เนื้อหาข่าวการประกาศยกเลิก สอบกลางภาค-ปลายภาค ของมาเลเซีย

เนื้อหาข่าวการประกาศยกเลิก สอบกลางภาค-ปลายภาค ของมาเลเซีย

Datuk Dr Amin Senin อธิบดีกรมสามัญศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย ระบุว่า จะใช้ระบบการประเมินผลแบบอย่างต่อเนื่อง เข้ามาแทนที่การ สอบกลางภาค-ปลายภาค อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสอนและเรียนรู้ผ่านระบบ Classroom-Based Assessment (PBD)

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2018 นาย Maszlee Malik รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เคยเปรยไว้ผ่านทวิตเตอร์ว่าจะตัดการ สอบกลางภาค-ปลายภาค ของเด็กชั้นป. 1-3 ออก ในปี 2019 และจะทดแทนด้วยแบบประเมินตามวัตถุประสงค์ ซึ่งตอนนี้ก็ถูกบรรจุเข้าไปในหลักสูตรสำหรับปีการศึกษาหน้าแล้ว

ทั้งนี้ Dr. Amin ได้อธิบายไว้ว่า การถูกยกมาเปรียบเทียบและการแข่งขันระหว่างโรงเรียน จะกลายมาเป็นการตั้งมาตรฐานสำหรับการสอบต่างๆ เมื่อเด็กถูกเปรียบเทียบก็อาจจะหมดกำลังใจ ส่งผลกระทบด้านลบจนไม่อยากเรียน

เพราะฉะนั้นการให้ความสำคัญกับนักเรียนแต่ละคน ก็ควรจะมีให้มากขึ้น เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตามความถนัดของตัวเอง โดยไม่ใช้เพียงแค่ข้อสอบเป็นตัวชี้วัดความรู้และความสามารถ

เขามีความเชื่อมั่นว่า ระบบ PBD จะช่วยเพิ่มความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียน เพิ่มความสนุกควบคู่ไปกับสาระที่จำเป็น

และโฟกัสที่ความต้องการของเด็กเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทั้ง 4 ด้านให้แข็งแกร่งมากขึ้น (อ่าน, เขียน, การนับเลข และการใช้เหตุผล)

“เด็กๆ จะได้รับการวัดผลอย่างต่อเนื่องด้วย รูปแบบการประเมินที่หลากหลาย ทั้งด้านความรู้ทางวิชาการ ทักษะต่างๆ และคุณค่าในตัวเด็ก ที่จะช่วยให้พ่อแม่รับรู้ได้ว่าบุตรหลานของตัวเอง มีพัฒนาการทางด้านไหน และจะช่วยระบุจุดแข็งกับจุดอ่อนของเด็กได้

แม้ว่าจะไม่มีการสอบ แต่จะมีการประเมินผลผู้เรียนเป็นระยะ

การประเมินผลไม่ควรถูกจำกัดอยู่เพียงแค่วิธีเดียว อาจจะเป็นได้หลากหลายแบบอย่างเช่น การสังเกต, ทำบททดสอบเล็กๆ, ทำควิซ, การบ้าน หรือแม้แต่วาดภาพ ก็ยังใช้ประเมินได้เหมือนกัน”

Amin เสริมอีกว่า พ่อแม่จะได้รับสมุดพกรายงานอย่างต่ำ 2 ครั้งต่อปี เพื่อรับทราบผลการประเมินของเด็กนักเรียน เพื่อให้พ่อแม่รู้ถึงจุดเด่นและจุดด้อยของบุตรหลาน จะได้ส่งเสริมในสิ่งที่เด็กขาดหรือต้องการ

ท้ายที่สุดนี้ Amin ยังพูดถึงข้อดีของระบบ PBD นั่นก็คือจะช่วยลดช่องว่างระหว่างโรงเรียนในชนบทและโรงเรียนในเมือง เพื่อเป็นยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้เท่าเทียมกันทั้งประเทศมาเลเซีย

“ครูผู้สอนต้องทำให้แน่ใจว่า นักเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแล จะต้องผ่านการประเมินผลขั้นต่ำที่สุดทุกคน เมื่อไม่มีการสอบแล้ว พวกเราจะต้องช่วยกันผลักดันความรู้และความเข้าใจของเด็กนักเรียนให้สูงขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะด้านความคิดของแต่ละคน”

ที่มา : https://www.catdumb.com/no-more-school-exam-malay-290/?fbclid=IwAR3EJpp1SHt_sd1f0Ytfd5R6m9KMurf2QMb110Pe_O78PEN9G_xzVTklmpY

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ 7 หลักการ ในการเรียนรู้ผ่านระบบ Classroom-Based Assessment

7 หลักการ ในการเรียนรู้ผ่านระบบ Classroom-Based Assessment

หลายคนสงสัยว่าระบบการเรียนรู้แบบ Classroom-Based Assesssment คืออะไร? มีหลักการในการเรียนการสอนอย่างไร และระบบนี้ จะสามารถแทนที่การสอบกลางภาค ปลายภาคได้หรือไม่? มาดูคำตอบกันค่ะ

  1. เรียนรู้ผ่านทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Approach)

Constructivist Approach เป็นทฤษฎีที่เน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนโดยผู้เรียนเอง โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับ ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็น ความเข้าใจของตนเอง

ทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการสร้างมากกว่า การรับความรู้ ดังนั้น เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ จึงมุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล

2. การสนทนา (Discussion)

เมื่อผู้เรียนได้สร้างความรู้ความเข้าใจในแต่ละหัวข้อแล้ว การสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับครูผู้สอนก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะนอกจากจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้นอีกด้วย

 

การเรียนรู้แบบ Classroom Based Assessment จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

3. วิทยากร (Lecture)

ระบบการเรียนรู้แบบ Classroom-Based Assessment จะมีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ มาบรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พบเจอ ดังนั้นผู้เรียนจะได้พบประสบการณ์ที่อยู่นอกห้องเรียนนอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูผู้สอนผ่านวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย

4. การจำลองเหตุการณ์ (Simulation)

นอกจากการสร้างกระบวนการความคิดด้วยตัวเองแล้ว จะมีการจำลองเหตุการณ์ผ่านเกมหรือคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

5. การสอนแนวคิด (Concept Teaching)

การเรียนรู้ผ่านระบบนี้ การสอนของครูผู้สอนจะไม่ใช่การบอกกล่าวเพื่อให้ผู้เรียนจดจำ แต่จะสอนแนวคิดเพื่อให้ผู้เรียนได้ไปต่อยอดความคิดนั้น ๆ ด้วยตนเอง

6. สอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectic)

เพื่อให้ผู้เรียนไม่ยึดติดกับวิธีคิดการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ โดยใช้การเปรียบเทียบโดยตรง (Direct Analogy) การเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ (Personal Analogy) และการเปรียบเทียบคำคู่ขัดแย้ง (Compress Conflict)

7. เรียนรู้ผ่านวิธีการแบบบูรณาการ (Integrative Approach)

การบูรณาการคือการเรียนรู้ที่ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่จะมุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

แม้ว่าระบบการศึกษาของไทย จะยังใช้การ สอบกลางภาค ปลายภาค เป็นตัวชี้วัดเด็กนักเรียน แต่ระบบการศึกษาของไทยในสมัยนี้ก็ได้มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ของเด็กเป็นหลัก และได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของไทยให้เป็นไปตามแบบอย่างมาเลเซียนั้น อาจจะเป็นไปได้ยาก แต่เราในฐานะพ่อแม่ก็สามารถใช้แนวคิด Classroom-Based Assessment มาสอนลูก ๆ นอกห้องเรียนได้เช่นกันนะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ.ร.บ.ปฐมวัยฉบับแรก ห้ามจัด สอบเข้า ป.1 ฝ่าฝืนปรับ 5 แสน

ทดสอบไอคิวลูก แบบง่ายๆ ด้วย Gesell drawing test ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 2-12 ขวบ

พูดอย่างไร เมื่อ “ลูกสอบตก” และ “คะแนนน้อย”

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.slideshare.net/jamesbriones/classroombased-teaching-strategies

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids