ไม่อยากให้ลูกหลานเป็นโรค ฝีในปอด พ่อแม่และผู้ปกครองสองปลูกฝัง ห้ามทำสิ่งนี้โดยเด็ดขาด!
บ้านไหนเลี้ยงหรือชอบปล่อยให้ลูกหลานวิ่งไล่นกพิราบ ต้องอ่าน! พบกับเรื่องใกล้ตัวที่ดูเหมือนเล็ก แต่หากเป็นทีละก็เป็นเรื่องใหญ่ กับคำเตือนของคุณหมอชื่อดัง พร้อมอุทาหรณ์ที่เกิดขึ้นจริง บอกเลยว่า คุณพ่อคุณแม่ห้ามพลาดโดยเด็ดขาดเลยละค่ะ
แต่ก่อนที่เราจะไปดูเรื่องราวของคุณหมอนั้น เรามาทำความรู้จักกับโรค ฝีในปอด กันก่อนนะคะ
โรคฝีในปอดคืออะไร?
คือ การที่ปอดมีการอักเสบติดเชื้ออย่างรุนแรงแล้วมีการทำลายเนื้อปอดจนเกิดเป็นโพรงหนอง อันมีสาเหตุดังนี้
1.ทางหลอดลม เช่น การสำลักน้ำลายหรือเศษอาหาร การอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอม
2.ทางกระแสเลือด เช่น การติดเชื้ออย่างรุนแรงแล้วมีเชื้อเข้ามาในกระแสเลือด
3.ปอดอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย
4.ฝีที่เกิดแถวใต้กระบังลม เช่น ฝีในตับจะติดเชื้อลุกลามเข้าสู่ปอด เป็นต้น
อ่านต่อ >> เรื่องราวของคุณหมอพร้อมคำเตือน คลิก!
โดย นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก ได้โพสต์เรื่องราวที่เป็นอุทาหรณ์ถึงเรื่องความเสี่ยงจากการได้รับสปอร์จากเห็ด และเชื้อราจากนกพิราบ ที่ทำให้เกิดฝีในปอดสุดอันตราย เอาไว้ดังนี้
“อย่าหยิบเห็ดสดทุกชนิดมาสูดดม เสี่ยงสปอร์เห็ดเข้าปอด โดยพบ ผู้ป่วยชายไทยอายุ 23 ปี เมื่อ 5 ปีก่อนได้กินเห็ดสด magic mushroom 6 ดอก ( คนไทยเรียกเห็ดขี้ควาย ) ก่อนกินได้หยิบเห็ดขึ้นมาสูดดม หลังกินเห็ดมีอาการประสาทหลอน เห็นสัตว์ประหลาดและหน้าตัวเองเลือดออก หลังจากนั้น 1 ปีไอมีเสมหะเป็นๆหายๆต่อเนื่องมา 4 ปี
ข้างบ้านเลี้ยงนกพิราบ มีขี้นกตกมาตามพื้นบ้านของตนเอง คอมพิวเตอร์สแกนพบมีฝี 2 จุดในปอดขวาล่าง( ดูรูป CT scan ปอด)ได้ทำการผ่าตัดเอาปอดขวาล่างออก ตรวจเจอทั้งเห็ดและเชื้อราจากขี้นกพิราบในปอด
คนไข้คนนี้มีเห็ดในปอดจากการสูดดมสปอร์ของเห็ด สปอร์เห็ดมีขนาดเล็กมากสามารถเข้าปอดได้ นอกจากนี้ ยังหายใจเอาเชื้อราจากขี้นกพิราบ คือติดเชื้อ 2 ชนิดพร้อม ๆ กันซึ่งเกิดขึ้นน้อยมาก ๆ ยังไม่มีใครรายงานมาก่อน การรักษาจำเป็นต้องผ่าตัดเพราะไม่มียารักษาโรคจากเห็ด และได้ให้ยารักษาเชื้อราจากขี้นกพิราบต่อจนครบ 1 ปี ผู้ป่วยปัจจุบันติดตามมา 4 ปี หายเป็นปกติ คำเตือน..หลีกเลี่ยงสูดดมเห็ดสดทุกชนิด เพราะเห็ดอาจทำให้เกิดฝีในปอด และหลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ขี้นกพิราบ”
อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติม คลิก
ขอบคุณที่มา: ข่าวสด และ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู
อาการของโรค
ก่อนที่จะเกิดฝีในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการแบบปอดบวมทั่วไป 1-3 สัปดาห์ เมื่อมีฝีในปอดเกิดขึ้นผู้ป่วยจะไอ และมีเสมหะเป็นหนองจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น บ่อยครั้งมีเลือดปนด้วย ผู้ป่วยจะไข้ตลอดเวลา อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก
ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีฝีในปอดหนองอาจจะลุกลามเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด หรือถ้าฝีแตกเชื้อจะลุกลามเข้าไปตามกระแสเลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือถ้าเชื้อหลุดลอยเข้าไปในสมอง อาจเกิดฝีในสมองได้
วิํธีการรักษา
1.ฝึกการหายใจ โดยเน้นปอดบริเวณที่มีหนองให้มาก เพื่อเป็นการเพิ่มการขยายตัวของปอดส่วนนั้นได้อย่างเต็มที่
2.ทำ chest trunk mobilize คือ การหายใจเข้าออกพร้อมการขยับรยางค์บนอย่างเร็วๆ เพราหนองมีลักษณะเหนียวข้นกว่าเสมหะ การทำเร็วๆช่วยระบายหนองทางสายยางได้ดีขึ้น และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอก เพราโรคนี้มักเรื้อรังจนทำให้เกิดพังผืดยึดรั้ง ทำให้การขยายตัวของทรวงอกลดลง
3.Postural drainage คือการจัดท่าให้หนองไหลเข้าสู่ขวดระบายให้ได้มากที่สุด (ดังภาพ)
4.Percussion / vibration คือการเคาะปอดหรือการสั่นปอด เพื่อเป็นการเร่งระบายหนองออกทั้งนี้ สามารถรักษาทางกายภาพบำบัดโดยใช้หลายวิธีร่วมด้วย เช่น เคาะปอดในท่าที่ต้องระบาย เมื่อเคาะเสร็จให้ผู้ป่วยทำ chest trunk mobilize เพื่อเป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่คะ ในเมื่อมาถึงตอนนี้เราทราบกันแล้วถึงวิธีป้องกันไม่ให้ลูกหลานหรือแม้แต่ตัวเราเองต้องกลายเป็นเหยื่อของโรคดังกล่าวละก็ อย่าลืมนะคะ “ห้ามดมเห็ดสด และห้ามเข้าใกล้นกพิราบ โดยเด็ดขาดเลยละค่ะ
ขอบคุณที่มา: Khaosod และ firstphysioclinics
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- พ่อแม่ระวัง! โรคจูบ โรคติดต่อที่พบได้ในเด็กวัย 2 ปีขึ้นไป
- เตือนพ่อแม่! ร้อนนี้ระวังโรค พิษสุนัขบ้า ให้ดี
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่