ไวรัสซิการะบาด ในกรุงเทพ! เตือนพ่อแม่เฝ้าระวังตัวเองและคนในครอบครัวให้ดี!
เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา แหล่งข่าวจากสำนักอนามัยกรุงเทพมหานครได้เปิดเผยว่า ในขณะนี้พบผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าวๅ นพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานครแล้วจำนวน 60 ราย ซึ่งการแพร่กระจายของโรคนั้นพบในพื้นที่ 27 เขต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตบางนา และเขตสวนหลวง และในจำนวนดังกล่าว ยังพบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวแล้วจำนวนทั้งสิ้น 4 ราย
ล่าสุด กทม. ได้จัดทำมาตรการควบคุมการแพร่กระจายของโรคดังกล่าวด้วยการ ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด โดยดำเนินการกำจัดยุงและแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย กระตุ้นให้ชุมชนและอาสาสมัครมีส่วนในการป้องกันควบคุมโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงตั้งครรภ์ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคอย่างต่อเนื่อง
ทำความรู้จักโรคเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไป
เครดิต: Matichon
ไวรัสซิการะบาด อะไรคือสาเหตุ
เชื้อไวรัสดังกล่าว เป็นเชื้อในตระกูลเฟลวิไวรัส มีลักษณะคล้ายคลึงกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไข้สมองอักเสบจีอี ทั้งหมดเกิดจากยุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสนี้พบได้ในแถบประเทศแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
อาการของโรค
ไวรัสดังกล่าวจะฟักตัวโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 4 – 7 วัน ซึ่งอาการที่พบได้แก่
- มีไข้
- ออกผื่น
- ตาแดง
- ปวดข้อ ปวดตามตัว ปวดหลัง
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- ต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง
- อาการส่วนใหญ่ไม่ค่อยรุนแรง เว้ยเสียแต่ว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับเชื้อดังกล่าว ก็จะส่งผลต่อไปยังทารกในครรภ์ให้มีสมองเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้
ใครคือกลุ่มเสี่ยงบ้าง คลิก!
กลุ่มเสี่ยงของโรคดังกล่าวนี้ ได้แก่
- ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด อันได้แก่ ประเทศในแถวทวีปอเมริกา และแถบทวีปแอฟริกาตะวันตก
- หญิงตั้งครรภ์
พาหะนำโรค
ยุงลายบ้าน ถือเป็นตัวการสำคัญที่นำพาเชื้อไวรัสดังกล่าวมาสู่คน และแพร่กระจายในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ซึ่งยุงลายบ้านเป็นพาหะนำไข้เหลือง ไข้เลือดออก และไวรัสชิคุนกุน ความรุนแรงของไวรัสซิกาเป็นเชื้อโรคที่อันตรายและร้ายแรงมาก ปัจจุบันทำได้แค่เพียงควบคุมและลดปริมาณในการขยายตัวของยุงลาย โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคนั่นเองค่ะ
วิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
การรักษา
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ปัจจุบันวงการแพทย์ยังคงไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยารักษาเฉพาะโรคนี้ สิ่งที่ทำได้ก็คือการรักษาตามอาการเท่านั้น
ซึ่งวิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การทำลายแหล่งเพาะยุง และพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่ ๆ มีการระบาดค่ะ
อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่