AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พ่อแชร์ประสบการณ์! ลูกนอนกรน จนหยุดหายใจ สุดท้ายต้องผ่าตัด

พบกับเรื่องจริงที่เกิดขึ้นผ่านคำบอกเล่าของคุณพ่อที่ลูกชายต้องเข้ารับการผ่าตัดเพราะ ลูกนอนกรน !

 

พ่อแชร์ประสบการณ์! ลูกนอนกรน จนหยุดหายใจ สุดท้ายต้องผ่าตัด

เรื่องราวนี้ได้มีการถูกแชร์ในกลุ่มของคุณพ่อคุณแม่เป็นจำนวนมาก โดยคุณพ่อท่านนี้ได้โพสต์เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับลูกชาย ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด เพราะ ลูกนอนกรน หนักจนถึงขั้นหยุดหายใจ! ไปอ่านต่อเรื่องราวของคุณพ่อท่านนี้กันเลยค่ะ

ลูกชายเกิดอาการกรนหนักแล้วหยุดหายใจ ได้ปรึกษาหมอหลาย ๆ ท่านก็ได้ข้อสรุปว่าต้องพาไปทำการตรวจที่โรงบาล

ขอเกริ่นเรื่องอาการของลูกก่อนนะครับ แรก ๆ ตอนสองขวบนั้น ลูกชายก็นอนกรนดังเหมือนผู้ใหญ่ จะเป็นมากตอนเค้าเล่นมาทั้งวันแล้วเหนื่อย แรก ๆ ก็เป็นที่ขบขัน และเมื่ออายุได้สามขวบ มันก็เริ่มไม่ตลกแล้ว

ลูกชายเวลานอนจะเหงื่อท่วมหัวเลย ไม่ว่าอากาศในห้องนอนจะเป็นอย่างไร และเริ่มมีอาการสะดุดในการหลับแล้วกรนในแต่ละวันด้วย จวบจนสิ้นปี 60 ลูกชายเริ่มมีอาการหยุดหายใจ เวลาตื่นมาจะดิ้นเหมือนปลาโดนทุบหัวแล้วก็หลับต่อ

อาการเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนท่าจะไม่ใช่เรื่องปรกติเสียแล้ว จากที่เคยอ่านผ่าน ๆ ตามาก็พอจะจำได้ที่ จ่าพิชิต ( ดราม่า ) เคยลงเอาไว้ ผมจึงเข้าไปศึกษาโดยละเอียดและปรึกษาหมอหลาย ๆ ท่านและหลายสถานรักษาเหมือนข้างต้นที่เกริ่นขึ้นมา จนจบที่ โรงบาลกรุงเทพที่อุดรธานี

อ่านต่อเรื่องราวของคุณพ่อ คลิก!

 

 

คุณหมอได้ทำการวินิจฉัยและให้เลือกระหว่าง กินยา พ่นยา และผ่าตัด ซึ่งจริง ๆ โดยปรกติแล้วจะมีการทำ “สลีปเทส” ก่อนจึงจะหาข้อสรุป แต่ผมได้ทำการถ่ายคลิปไว้เยอะ แล้วเอาให้คุณหมอดู เพราะคลิปมันชัดเจนอยู่แล้วจึงได้ขอสรุปไม่ต้องทำสลีปเทสก็ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาไปในส่วนนี้ แต่นอกนั้นก็ตรวจค่อนข้างละเอียด มีการเอ็กซเรย์ ตรวจช่องปากก่อนจึงค่อยทำการวินิจฉัยอย่างที่ผมได้กล่าวมา โดยปัญหา ลูกนอนกรน มาจากสองปัจจัยหลัก

บทความแนะนำ รู้จักโรค ต่อม อดีนอยด์ และ ต่อมทอนซิลโต

จากการปรึกษาและหาข้อมูล ผมจึงตัดสินใจให้ทำการผ่าตัดเอา ต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอลซินออกทั้งคู่ ซึ่งค่าใช้จ่ายมีแบบแพ็คเกจผ่าต่อมสองต่อมออกพอดีในราคาเกือบเจ็ดหมื่นบาท คือค่าผ่าค่ารักษาและค่าพักหนึ่งคืน นอกเหนือจากนั้นเราก็ต้องรับค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ขอข้ามไปจนขั้นตอนการผ่าเสร็จเลยนะครับ เพราะเรื่องการเตรียมตัวก่อนผ่าจวบจนผ่าไม่ได้มีอะไรน่าสนใจนัก

หลังผ่าเสร็จลูกชายยังนอนกรนอยู่ แต่เสียงเบาลงไปเยอะจวบจนได้ออกจากโรงบาล ( ผมให้อยู่เพิ่มวันนึง ) การปฏิบัติตัวหลังผ่าหมอค่อนข้างจะใส่ใจบอกกับเรา ถ้าใครผ่านขั้นตอนนี้จะทราบอยู่แล้ว แต่ผมขอบอกไว้ว่าไม่มีอะไรยากเลย แค่ต้องกินของเหลวอ่อน ๆ และเย็นเท่านั้นเอง

หลังผ่าอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านไปอาทิตย์นึงก็แทบเป็นปรกติ แต่ดีขึ้นคือไม่มีการกรนอีกเลย การหยุดหายใจจึงไม่มีไปโดยปริยาย

หลับสบายและนานขึ้น ไม่มีเหงื่อ เลิกฉี่แตก แต่ซนเหมือนเดิม – -“

กินได้ปรกติตั้งแต่อาทิตย์แรก ๆ จากการไปหาหมอตามที่นัดหนแรก แต่มีเสียงที่เปลี่ยนไปจากเดิม หมอจึงนัดรอบสองเพื่อตรวจกล่องเสียงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก่อนไปตามหมอนัด เสียงก็กลับเป็นปรกติแล้ว แต่ผมก็ไปตามนัด และก็ปรกติดี

สรุปคือหายสนิทในเวลาไม่ถึงเดือน มีช่วงผ่าตัดใหม่ ๆ จะผอมลงอยู่ แต่แป๊บ ๆ ก็น้ำหนักเท่าเดิมเมื่อกินอาหารปรกติได้ ลูกหลับสบาย เราก็หลับสบายไปด้วย

คลิปนี้คือก่อนผ่าตัดหนึ่งวัน และหลังผ่าตัดหนึ่งอาทิตย์ครับ และตอนนี้ตาและปากปิดสนิท ไม่ลอย ๆ เหมือนในคลิปแล้ว ^^

ชมคลิป … คลิก!

 

 

ชมคลิป!

โพสต์โดย ปัญญา ตติยศิริสกุล บน 16 กุมภาพันธ์ 2018

สาเหตุการนอนกรนในเด็ก

ภาวะการนอนกรนในเด็ก ที่ดูว่าน่าจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ แต่ความจริงแล้วเป็นปัญหาที่อันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยมาก เพราะเด็กที่มีภาวะนอนกรน เสี่ยงต่อการเป็นเด็กสมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว เรียนรู้ช้า และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันภาวะนอนกรนในเด็ก ที่มีอันตรายพบมากขึ้นถึงร้อย 10 และส่วนใหญ่จะพบในเด็กอายุ 2 – 6 ปี เพราะในเด็กวัยนี้จะมีต่อมทอมซิล และต่อมอะดีนอยด์ ที่ทำให้เกิดการอุดกั้น ของระบบทางเดินหายใจ จนเกิดเสียงกรนที่เป็นภาวะอันตราย ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงทางด้านร่างกาย และพัฒนาการทางด้านสมอง หรือในอีกด้านหนึ่ง เด็กอาจมีปัญหาของโรคภูมิแพ้ ทำให้ต้องหายใจผ่านทางปาก จึงทำให้เกิดเสียงกรนเล็ก ๆ ซึ่งถ้าเป็นแค่ด้านนี้ เด็กก็จะมีอาการดีขึ้นเองเมื่อตื่นขึ้น ก็จะไม่ส่งผลอันตรายมาก เท่ากับเด็กที่มีปัญหาของต่อมทอนซิลอุดกั้น

วิธีการสังเกต ลูกนอนกรน

  1. ให้คุณพ่อคุณแม่ฟังเสียงกรนของลูก เมื่อลูกหลับแล้วว่า มีเสียงกรนแบบขาด ๆ หาย ๆ หรือมีการหยุดหายใจไปชั่วขณะหรือเปล่า
  2. มีอาการสะดุ้งตื่นหลังเสียงกรน หรือเสียงกรนดังเฮื้อก เหมือนคนขาดอากาศหายใจหรือไม่ พร้อมทั้งสังเกตว่ารอบริมฝีปากของลูกนั้นมีสีเขียวคล้ำหรือไม่อย่างไร
  3. ลองดูว่าตอนช่วงกลางวัน เด็กมีอาการง่วงนอนเหมือนนอนไม่พอ หงุดหงิดง่าย ซนมาก ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ และพฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยรวดเร็วบ้างหรือเปล่า
  4. ลูกเหงื่อออกง่าย และหายใจเหนื่อยหอบตอนหลับ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง หรือไม่

หากสังเกตแล้วพบว่า ลูกมีอาการดังที่กล่าวไปแล้วนั้น อย่ารอช้าค่ะ รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจและรับการรักษาทันที

ขอบคุณที่มา: คุณพ่อปัญญา และ Honestdocs

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids