พ่อบุญธรรม ทำโทษลูก ด้วยการให้ยืนนอกบ้านลำพังตอนตี 3 สุดท้ายกลายเป็นศพ!
สำนักข่าว The Sun รายงานว่าพบศพ หนูน้อยเชอริน แมททิวส์ วัย 3 ขวบที่หายตัวไปแล้ว หลังจากถูกพ่อลงโทษให้ยืนออกนอกบ้านลำพังในช่วงเวลาตีสาม ด้วยสาเหตุเพียงเพราะ ดื่มนมไม่หมด เท่านั้น!!
ย้อนกลับไปเมื่อสองสัปดาห์ก่อน (วันที่ 7 ตุลาคม) ได้มีคดีสะเทือนขวัญเกิดขึ้นในเมืองดัลลัส ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังพบว่ามีหนูน้อยวัย 3 ปีหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ข่าวนี้กลายเป็นข่าวที่โด่งดังไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอินเดีย ผู้คนต่างพากันช่วยกันตามหา แต่ก็ไม่มีใครพบหนูน้อยเลย ล่าสุดวันนี้ (วันที่ 23 ตุลาคม) ตำรวจได้พบศพของหนูน้อยเรียบแล้ว
อ่านต่อ >> เนื้อหาข่าวเพิ่มเติม คลิก!
เมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ หนูน้อย เชอริล แมททิวส์ วัย 3 ปี คู่สมรสชาวอเมริกันคู่หนึ่งคือ นายเวสเลียร์ แมททิวส์และภรรยา ได้รับเลี้ยง หนูน้อยเชอริล มาจากประเทศอินเดีย ในวันเกิดเหตุ เวลาตี 3 นายเวสเลียร์ พ่อบุญธรรมของเด็กไม่พอใจที่หนูน้อยไม่สามารถดื่มนมให้หมดได้ จึงเกิดความรู้สึกเครียดและโมโหเป็นอย่างมาก จึงลงโทษ เชอริล ด้วยการไล่ให้ออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไม้นอกรั้วบ้านเพียงลำพัง
สาเหตุที่โกรธนั้นเพราะ เชอริล มีภาวะขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังมีอาการบกพร่องด้านการสื่อสารอีกด้วย ในวันนั้นภรรยาของตันหรือแม่บุญธรรมของหนูน้อยกำลังนอนหลับอยู่ หลังจากนั้นประมาณ 15 นาที ตนจึงได้ออกไปดู แต่ก็ไม่พบหนูน้อยเสียแล้ว
นายเวสเลียร์ ถูกจับข้อหาทำให้หนูน้อยตกอยู่ในอันตราย โดยตำรวจนั้นยังไม่ได้ชี้แจงถึงสาเหตุการตายของหนูน้อยแต่อย่างใด แต่ที่ ๆ พบร่างของหนูน้อยนั้นอยู่ไม่ได้ไกลจากจุดเกิดเหตุเสียเท่าไรนัก แต่ก็ได้ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไม นายเวสเลียร์ถึงไม่รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหลังจากที่ลูกสาวหายตัวทันที ทำไมต้องรอให้เช้าก่อนถึงค่อยแจ้ง
ด้านนายเวสเลียร์และภรรยานั้น มีลูกสาววัย 4 ขวบด้วยกันอีกหนึ่งคน ภายหลังจากที่เกิดเหตุนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้นำตัวหนูน้อยแยกออกไปอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่รัฐต่อไป
ชมคลิป!
อ่านต่อ >> ข้อบังคับกฎหมาย ลงโทษลูกแบบไหนถึงจะไม่ผิด!
เครดิต: ข่าวสด และ The Sun
ทำโทษลูก แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย?
กฎหมายได้กำหนดสิทธิให้บิดามารดาหรือผู้ใช้อำนาจปกครอง สามารถทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอนได้ โดยกำหนด สิทธิไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๕๖๗ ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(๑) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(๒) ทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(๓) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(๔) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
การทำโทษบุตร เพื่อการว่ากล่าว สั่งสอน ตักเตือน โดยสมควรแก่พฤติการณ์ และเลือกใช้วิธีทำโทษ อย่างเหมาะสม ก็ไม่เป็นความผิดทางอาญา เนื่องจากขาดเจตนาในการทำร้ายผู้อื่น จึงไม่เป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๑ ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่มีใครหรอกที่ไม่เคยทำความผิด แต่การลงโทษด้วยวิธีการที่รุนแรงโดยการใช้อารมณ์ และความโกรธเป็นเครื่องตัดสินใจนั้น มักจะนำมาซึ่งความเสียใจและการสูญเสียอยู่เสมอ ๆ
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่