AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เตือนแม่! ทานอาหารรสจัด โซเดียมสูง ระวัง ไตเสื่อม

นักวิชาการเตือน! ทานอาหารโซเดียมสูง รสจัด ระวัง ไตเสื่อม อาจถามหาไม่รู้ตัว

 

 

เมื่อไม่นานมานี้ ผศ. วันทนีย์ เกรียงสินยศ นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดัล กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกและโคเด็กซ์ได้กำหนดค่าปริมาณสูงสุดของโซเดียมที่รับได้และไม่ทำให้เกิดอันตรายไว้ที่ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่คนไทยนั้นได้รับโซเดียมสูงถึง 4,352 มิลลิกรัมต่อวัน คิดเป็น 2.2 เท่าของปริมาณสูงสุดของโซเดียมที่รับได้ แต่ไม่ทำให้เกิดอันตราย

อย่างไรก็ตาม  ก็ได้มีหน่วยงานที่อยู่ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ สถาบันโภชนาการ ได้ทำการสำรวจผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปพบว่า มีประมาณโซเดียมในอาหารดังนี้

อ่านต่อ >> ผลการสำรวจอาหาร ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ >>

 

 

ผลสำรวจอาหารที่เต็มไปด้วยโซเดียม ได้แก่

และนอกจากนี้นะคะ ยังได้ทำการสำรวจโซเดียมในเมนูอาหารไทย พบว่า อาหารแต่ละชนิดนั้น มีโซเดียมต่อหน่วยดังนี้

เครดิต: สสส.

เป็นต้น

อ่านต่อ >> ผลการสำรวจอาหาร ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ >>

 

ผศ. ดร. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ได้กล่าวว่า การที่ร่างกายได้รับโซเดียมสูง จะมีผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไต” เพราะจะส่งผลให้ไตของเรานั้นทำงานหนัก และเกิดไตเสื่อมได้ และเมื่อไตเสื่อมก็ต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต โดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง หรือฟอกเลือดด้วยไตเทียม ซึ่งค่ารักษานั้นก็เฉลี่ยปีละ 240,000 บาทต่อปี ซึ่งราคาที่ว่านี้นั้น ยังไม่รวมค่ายาและค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นเลย

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพบว่าในปี 2558 นั้น ใช้งบประมาณในการล้างไตไปทั้งสิ้น 5,247 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 6,318 ล้านบาทในปี 2559

เห็นไหมคะว่า การรับประทานอาหารรสจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูงนั้น ส่งผลให้กับร่างกายของเราอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว แต่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคุณพ่อคุณแม่ทุกคน เรามาทำความรู้จักกับโรคไตเสื่อมที่ว่านี้กันค่ะ

โรคไตเสื่อมคืออะไร?

นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์  อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่ขจัดของเสีย รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย เมื่อร่างกายมีน้ำมากเกินไป ไตจะขับน้ำส่วนเกินออก แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ในร่างกาย รักษาสมดุล กรด ด่างและเกลือแร่ในร่างกายให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ควบคุมความดันโลหิตผ่านการควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่บางชนิด สร้างฮอร์โมนทำให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง  และควบคุมการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสทำให้กระดูกแข็งแรง ซึ่งโรคไตอาจเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดไต  หลอดเลือดฝอยในไต  เนื้อเยื่อ ตลอดจนความผิดปกติของกรวยไตและท่อไต

อาการที่สำคัญ คือ บวม ปัสสาวะเป็นเลือด มีลักษณะคล้ายสีน้ำล้างเนื้อ หรือเป็นเลือดสด ปัสสาวะเป็นฟอง เนื่องจากมีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น เนื่องจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ในเวลากลางคืน ปวดหลัง หากเป็นรุนแรงจะมีอาการปัสสาวะออกน้อย ซีดและอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้จากน้ำท่วมปอด เนื่องจากภาวะน้ำและเกลือแร่เกิน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คันตามผิวหนัง เลือดออกง่ายหยุดยาก กล้ามเนื้อกระตุก ไม่มีแรง ในรายที่เป็นมากอาจซึม ชัก  หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้  อาการเหล่านี้เกิดจากการคั่งของเสีย และการเสียสมดุลกรดด่างและเกลือแร่ในร่างกาย

ผู้มีความเสี่ยงสูงควรได้รับการคัดกรองโรคไตเรื้อรัง คือ ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  โรคแพ้ภูมิตนเองที่อาจก่อให้เกิดไตผิดปกติ โรคติดเชื้อในระบบที่อาจก่อให้เกิด
โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเก๊าท์หรือระดับกรดยูริกในเลือดสูง โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนซ้ำหลายครั้ง ผู้ที่ได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือสารพิษที่ทำลายไตเป็นประจำ ผู้ที่มีมวลเนื้อไตลดลงหรือมีไตข้างเดียว ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว ตรวจพบนิ่วในไตหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ตรวจพบถุงน้ำในไตมากกว่า 3 ตำแหน่งขึ้นไปฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงข้างต้น ควรได้รับการคัดกรองหากพบในระยะแรก ๆ  สามารถชะลอไตเสื่อม เพื่อไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

โรคไต โรคใกล้ตัว ที่น่ากลัว และไม่มีใครอยากเป็น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคะ เพื่อเป็นการป้องกันในสิ่งที่ทำได้ อย่าลืมเลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์กันนะคะ

เครดิต: มติชน และกระปุกดอทคอม

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids