ไม่ได้ต้องการทำร้ายแต่ที่ทำไปเพราะต้องการ เลียนแบบคลิป รุ่นพี่ป. 6 เผยหลังจุดไฟเผาน้องป. 3
เรื่องราวที่ทีมงาน Amarin Baby and Kids จะมานำเสนอในวันนี้ เป็นอุทาหรณ์เตือนใจผู้ปกครองทุกคน ที่ปล่อยให้ลูกเล่นโซเชียลโดยไม่ได้สังเกต หรือมีโอกาสแนะนำลูกเลยว่าสิ่งที่ลูก ๆ กำลังดูอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ถูกหรือว่าผิด เหมาะสมหรือไม่อย่างไร
โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทยบ้านของเรานี่เองค่ะ เมื่อกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้จับรุ่นน้องซึ่งเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กดลงพื้น แล้วนำแอลกอฮอล์ในห้องพยาบาลมาราดตัว พร้อมกับจุดไฟเผา จนรุ่นน้องอาการสาหัส! ซึ่งจากการสอบสวนรุ่นพี่นั้นพบว่า ที่ทำไปเพียงเพราะความคึกคะนองและต้องการเลียนแบบคลิปโซเชียลมีเดียที่ได้ดูมาเท่านั้นเอง!
อ่านต่อเหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ >>
จากการสอบถามเด็กนักเรียนรุ่นน้องพบว่า ในช่วงก่อนพักกลางวันของวันเกิดเหตุนั้น ในขณะที่ตนกำลังวิ่งเล่นอยู่ในห้องเรียน ได้มีรุ่นพี่ประมาณ 5 – 6 คนเข้ามาล็อกตัวแล้วจับตัวเองกดลงที่พื้น ซึ่งตนพยายามที่จะขัดขืนต่อสู้ แต่ก็ไม่สามารถต้านแรงของพี่ ๆ เอาไว้ได้ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มของรุ่นพี่นั้น ได้วิ่งไปที่ห้องพยาบาลแล้วหยิบขวดแอลกอฮอล์ล้างแผลมาราดใส่ตัวจนหมดขวด ก่อนจุดไฟแช็ก จนเปลวไฟลุกไหม้ไปทั้งตัว!
ซึ่งในขณะนั้นไม่มีคุณครูเจ้าหน้าที่อยู่ในห้องเลยสักคนเดียว ส่วนด้านอาการของน้องป. 3 นั้นเริ่มดีขึ้นแล้ว ภายหลังจากที่แพทย์ได้ทำการผัดเพื่อทำแผลบริเวณเอวและลำตัว เนื่องจากผิวหนังบางจุดถูกไหม้ลึกระดับ 2 แต่สภาพจิตใจตอนนี้ น้องยังคงหวาดผวาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่
ด้าน นายมานพ ษมาวิมล ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเขตที่ 1 จังหวัดลพบุรี ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของกรณีนี้ว่า เตรียมเชิญผู้ปกครองของนักเรียนทั้งทั้งสองฝ่ายมาเจรจากันเพื่อยุติเรื่องและตกลงค่าทำขวัญ ไม่อยากให้เป็นคดีความเพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็ยังเป็นเด็กทั้งคู่ และหลังจากนี้เตรียมมาตรการ ว่าช่วงพักกลางวัน หากครูไม่อยู่ในห้องพยาบาล ก็ให้ล็อกห้องเพื่อความปลอดภัย เด็กจะได้ไม่นำแอลกอฮอลมาเล่นแบบนี้อีก ซึ่งครั้งนี้ยังโชคดีแค่เด็กบาดเจ็บ แต่หากไม่มีการว่างมาตรการครั้งหน้าอาจจะบานปลายมากกว่านี้ก็ได้
สอนลูกอย่างไร ให้ใช้โซเชียลมีเดียให้ปลอดภัย อ่านเพิ่มเติม คลิก! >>
เครดิต: Amarin TV
4 วิธีสอน ลูกเล่นโซเชียล ให้ปลอดภัยไร้กังวล
พญ.ภัทรวรรณ ขันธ์แก้ว จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า “พ่อแม่ควรเรียนรู้การใช้สื่อที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก เหมือนวิธีเลือกหนังสือให้ลูกอ่านตามวัย ถ้าบางกรณีเด็กเห็นอะไรที่ไม่เหมาะสมทั้งข้อความ คลิปหรือรูปภาพแล้วมาถาม ก็ให้สอนและตอบคำถามเท่าที่เด็กวัยนั้นควรจะรู้ เพื่อเป็นการชี้แนวทาง และสามารถช่วยลูกได้เรียนรู้และพัฒนาไปในทางที่ดีได้” ดังเช่น 4 วิธีที่จะมานำเสนอดังต่อไปนี้
1.พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกในการใช้สื่อต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์คุยธุระสั้น ๆ ไม่คุยนาน ๆ ให้ลูกรู้ว่าโทรศัพท์สะดวกในการติดต่อ การพูดนาน ๆ อาจทำให้คนที่มีธุระจำเป็นติดต่อเข้ามาไม่ได้ ใช้เฉพาะจำเป็น
2.มีขอบเขตการใช้งานอย่างพอเหมาะ และชัดเจน พูดกับลูกให้เข้าใจ เช่น ให้เล่นได้ 1 ทุ่ม – 2 ทุ่ม เท่านั้น ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้นอกเวลาที่กำหนด ถ้าจำเป็นต้องขออนุญาต หรือคุยกับเพื่อนได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
4.พ่อแม่คอยเป็นห่วงอยู่ห่าง ๆ ไม่เข้าไปก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวของเขา ถ้ามีปัญหาให้ลูกลองแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองก่อน และคอยเป็นที่ปรึกษา ลูกจะแยกแยะได้ว่าคนไหนดี ไม่ดี เช่น เพื่อนต้องไม่รบกวนการเรียน
“การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในปัจจุบันนั้นเป็นเหมือนดาบสองคม คือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องทำความเข้าใจ และจะต้องทำหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงให้กับลูก โดยสามารถสื่อสารพูดคุยกับลูก เพื่อเด็กจะได้รู้สึกว่ามีโอกาสใช้สื่อ ไม่ได้ถูกห้าม แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องหาทางแนะนำ สอนให้เด็กรู้จักวางแผนว่าจะใช้อย่างไรเพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหา หรือรบกวนกิจกรรมอื่น ๆ ของตนเอง และจะต้องไม่เป็นการสร้างความเดือดร้อนหรือเสียหายให้กับคนอื่นโดยเด็ดขาด”
เครดิต: พญ.ภัทรวรรณ ขันธ์แก้ว จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์
อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
- ป้องกันอาชญากรรมแก่เด็ก ไม่โพสต์รูปลูกลงโซเชียล
- นี่คือผลเสีย! ที่ปล่อยให้ลูก เล่นมือถือ จ้องสมาร์ทโฟน เป็นเวลานาน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่