AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เปิดตัว Mobile Application “RDU รู้เรื่องยา” ครั้งแรกกับการให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้องผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ

เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการแถลงข่าวเปิดตัว Mobile Application “ RDU รู้เรื่องยา ” ครั้งแรกกับการให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้องผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เปิดตัว Mobile Application “ RDU รู้เรื่องยา ”
ครั้งแรกกับการให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้อง
ผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  ร่วมกันจัดการแถลงข่าว เปิดตัว Mobile Application “RDU รู้เรื่องยา” ครั้งแรกกับการให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้องผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ โดยแอปพลิเคชั่นนี้เป็นผลงานจากโครงการพัฒนานวัตกรรม Mobile Application ของหน่วยงานภาครัฐที่นำร่องโครงการ Health Tech ของประเทศไทย ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาสถาปัตยกรรม ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำข้อมูลความรู้ด้านยาที่เป็นประโยชน์ให้แก่คนไทยได้นำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ความรู้ด้านยา

ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า… ที่มาของการพัฒนาแอปพลิเคชั่น “RDU รู้เรื่องยา” เกิดขึ้นจากแรงสนับสนุนในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational Drug Use : RDU) สามารถรับทราบข้อมูลยาที่ใช้ได้อย่างถูกต้อง และลดความซ้ำซ้อนในการใช้ยารักษาโรค

ซึ่งแอปพลิเคชั่นนี้ได้รับนโยบายสำคัญจากรัฐบาล ในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

การพัฒนาแอปพลิเคชั่น “RDU รู้เรื่องยา” จะเริ่มใช้งานในโรงพยาบาลรามาธิบดี ไปพร้อมกับโรงพยาบาลอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงฉลากยาและข้อมูลที่เข้าใจง่าย สะดวก เชื่อถือได้ รวมทั้งยังสามารถบันทึกข้อมูลยาที่ตนเองได้รับจากโรงพยาบาลต่าง ๆ (personal  drug information) ไว้ในโทรศัพท์มือถือ และยังสามารถใช้แสดงรายการยาที่ได้รับแก่แพทย์ เภสัชกร เมื่อมาพบแพทย์ในครั้งต่อไปอีกด้วย

นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พร้อมให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลโครงสร้างพื้นฐานด้วยการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลบนระบบ GCloud หรือ บริการคลาวด์ภาครัฐที่มีมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยระดับสากล ในโครงการพัฒนานวัตกรรม Mobile Application “RDU รู้เรื่องยา” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันจากหน่วยงานภาครัฐที่นำร่องโครงการ Health Tech ของประเทศไทย

โดยได้ออกแบบและพัฒนาสถาปัตยกรรม ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการจัดทำข้อมูลความรู้ด้านยาที่เป็นประโยชน์มหาศาลในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและยั่งยืนให้กับคนไทยในวันนี้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้แล้วฟรี ทั้งในระบบ Android และ iOS

รายชื่อโรงพยาบาลที่ให้บริการสำหรับ application RDU รู้เรื่องยา

1) โรงพยาบาลรามาธิบดี
2) โรงพยาบาลศิริราช
3) วชิรพยาบาล
4) โรงพยาบาลราชวิถี
5) ศูนย์การแพทย์ มศว. องครักษ์
6) ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ
7) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
8) โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ทั้งนี้โรงพยาบาลที่กำลังจะเริ่มใช้งานยังมีอีก 20 จังหวัด จังหวัดละ 1-2 โรงพยาบาล รวม 40 แห่ง

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์วินัย วนานุกูล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า การใช้งานแอปพลิเคชั่นสามารถทำได้ง่าย การดาวน์โหลดผ่านโทรศัพท์มือถือ เมื่อเข้าใช้งาน ท่านสามารถใช้งานในเมนูต่าง ๆ ได้แก่

ซึ่งการใช้งานแอปพลิเคชั่นนี้ สามารถทำการลงทะเบียนก่อนเข้าระบบ เพื่อการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพสำหรับการบันทึกข้อมูลการใช้ยาของท่าน และข้อมูลส่วนตัวที่ปรากฏจะแสดงก็ต่อเมื่อทำการ Login เรียบร้อยแล้ว

จุดเด่นของแอปพลิเคชั่นนี้คือ การสแกน QR Code บนซองยาเพื่อดูข้อมูลของยาและบันทึกรายการยาที่ได้รับจากสัญลักษณ์ QR Code บนซองยาและใบสรุปรายการยา โดยจะแสดงลำดับยา วันที่และเวลาที่ได้รับยา รูปภาพยา ชื่อของโรงพยาบาลที่ได้รับยา จำนวนยา ชื่อสามัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษของยา รวมทั้งชื่อทางการค้าของยา