แม่แชร์! ลูกเป็น" โรคเริม " เพราะสัมผัสของใครบางคน! - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
โรคเริม

แม่แชร์! ลูกเป็น” โรคเริม ” เพราะสัมผัสของใครบางคน!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคเริม
โรคเริม
โรคเริม
เครดิต: Medthai

เริมเกิดจากอะไร

  • เกิดจากการติดเชื้ิอไวรัสเริม ซึ่งเป็นไวรัสต่างชนิดกับงูสวัดและอีสุกอีใส โดยเชื้อไวรัสที่ว่านี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท
    • ไวรัสเริมชนิดที่ 1 หรือ เอชเอสวี-1 (Herpes simplex virus 1 หรือ HSV-1) พบที่ปากมากกว่าอวัยวะเพศ
    • ไวรัสเริมชนิดที่ 2 หรือ เอชเอสวี-2 (Herpes simplex virus 1 หรือ HSV-2) พบที่อวัยวะเพศมากกว่าที่ปาก

ติดต่อได้อย่างไร

ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรค ซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ ผ่านทางรอยถลอกของผิวหนังหรือทางเยื่อเมือก (เช่น เยื่อบุตา ช่องปาก องคชาต ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก) จากน้ำลายหรือสิ่งคัดหลั่ง รวมไปถึงจากการใช้ของใช้ร่วมกัน การกิน การจูบ หรือจากมือติดโรคแล้วป้ายเข้าตา ดังนั้น ผู้ที่คลุกคลีอยู่ใกล้ชิดกัน เช่น สามีภรรยา สมาชิกในครอบครัว เด็กในโรงเรียนหรือในสถานรับเลี้ยงเด็ก จะมีโอกาสติดเชื้อเริมได้ง่าย

กว่าที่จะแสดงอาการติดเชื้อนั้นจะใช้เวลาประมาณ 2 – 20 วัน เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายและฝังอยู่ในชั้นผิวหนัง ก็จะเริ่มแบ่งตัวทำให้เกิดอาการบวมเป็นตุ่มน้ำและเกิดการอักเสบ แต่พอหายจากโรคแล้ว เชื้อเริมจะเข้าไปหลบซ่อนที่ปมประสาทในบริเวณใต้ผิวหนังหรือเยื่อบุและแฝงตัวอยู่อย่างสงบ โดยไม่มีการแบ่งตัว (เชื้อจะอยู่ในตัวตลอดชีวิตในปมประสาท เพื่อรอให้มีปัจจัยต่าง ๆ มากระตุ้นแล้วจึงแสดงอาการ) แต่เมื่อมีปัจจัยมากระตุ้น เช่น เป็นไข้ ถูกแดดจัด ร่างกายอิดโรย เกิดความวิตกกังวล มีอารมณ์เครียด มีประจำเดือน มีการตั้งครรภ์ ได้รับบาดเจ็บหรือผ่าตัดบริเวณใบหน้า การทำฟัน ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เป็นต้น เชื้อเริมที่แฝงอยู่ตัวอยู่ขณะนั้นจะเกิดการแบ่งตัวเจริญเติบโตเกิดการปลุกฤทธิ์คืน ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ

 วิธีการรักษา

หากผู้ป่วยแสดงอาการชัดเจน แพทย์ก็จะให้การรักษาไปตามอาการ ยกตัวเช่น หากปวดก็จะให้ยาแก้ปวด หากคันก็จะให้ยาบรรเทาอาการคัน ให้สารน้ำในรายที่มีภาวะขาดน้ำ ร่วมไปกับยาต้านไวรัส

เพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ตรวจเช็คสุขภาพร่างกายของตัวเองก่อนที่จะมีลูกนะคะ แล้วที่สำคัญหากทำได้ พยายามอย่าให้ใครมากอด หอมหรือจูบโรคจะดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนแปลกหน้า เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า ใครจะป่วยหรือเป็นโรคอะไรบ้าง

เครดิต: Medthai

อ่านเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up