เพราะตระหนักถึงสุขภาพของคนไทย กรมควบคุมโรคจึงมีมติเพิ่ม วัคซีนใหม่ เข้าสู่แผนคุ้มกันโรค
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 3/2560 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้มติคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเห็นชอบตารางการให้วัคซีนใหม่ที่จะเข้าสู่แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จำนวน 3 ชนิด ให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงตั้งครรภ์และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข พร้อมเตรียมขยายคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่จากโครงการนำร่อง 4 อำเภอ 4 จังหวัด ในปี 2560 เป็น 12 จังหวัด ภายในปี 2561
ซึ่งตารางการให้วัคซีนใหม่ที่จะเข้าสู่แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ว่านี้จะมีอะไรบ้างนั้น ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันได้ที่หน้าถัดไปเลยค่ะ
อ่านต่อ วัคซีนใหม่สู่แผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค >>
รายชื่อ วัคซีนใหม่ สู่แผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี นั้นได้มีการกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน เข้ารับการฉีด วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี และฮีโมฟีลุส อินฟูลเอนเซ่ ทัยป์บี (DTP-HB-Hib)
2. สำหรับหญิงตั้งครรภ์ กำหนดให้มีการฉีด วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tdap) ในหญิงตั้งครรภ์ โดยกำหนดให้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ 1 เข็ม อายุครรภ์ระหว่างไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 3 และควรให้วัคซีนอย่างน้อย 15 วันก่อนคลอด ในทุกการตั้งครรภ์ สำหรับกรณีหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีนที่มีองค์ประกอบของบาดทะยัก (T) ต้องให้วัคซีนรวมคอตีบและบาดทะยัก (dT) ร่วมด้วย
3. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นั้นให้มีการฉีดวัคซีนรวมหัดและหัดเยอรมัน (MR) 1 เข็ม โดยระบุให้รวมถึงนักศึกษากลุ่มวิชาแพทย์และสาธารณสุขด้วย
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์นี้ว่า ต้องการทำเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการวัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการในปี 2560 ใน 4 อำเภอ ใน 4 จังหวัด
- อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
- อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
- อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
- อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยการมุ่งเน้นที่จะใช้วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นต้นแบบ ซึ่งจากการติดตามการดำเนินงานในปีนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการเข้ารับการฉีดวัคซีน และต้องการที่จะขยายพื้นที่ในการดำเนินการเป็น 12 จังหวัดในปีหน้า ซึ่งได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสระบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเลย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา
นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณาปรัชญาของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ อันได้แก่ “บุคคลที่อาศัยในประเทศไทยทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่จำเป็น มีคุณภาพ และปลอดภัย โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา หรือฐานะ” ซึ่งเป็นการแสดงหลักการที่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ยึดถือและปฏิบัติตามให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
อ่านต่อวัคซีนพื้นฐานของหญิงมีครรภ์ >>
เครดิต: hfocus
วัคซีนที่จำเป็นสำหรับหญิงมีครรภ์
1.วัคซีนป้องกันบาดทะยัก (Tetanus) บาดทะยักเกิดจากบาดแผลที่สกปรกหรือมีเชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกาย อาการของบาดทะยัก คือ ตัวเกร็ง หน้าเขียว ถ้าเป็นรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิตได้ วัคซีนป้องกันบาดทะยักคุณหมอจะฉีดคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เข็ม เข็มแรกจะห่างจากเข็มที่ 2 ประมาณ 1 เดือน และเข็มที่ 2 จะฉีดก่อนคลอดประมาณ 3 เดือน ส่วนเข็มที่ 3 จะฉีดหลังคลอดไปแล้ว วัคซีนป้องกันบาดทะยักในแม่ตั้งครรภ์สามารถป้องกันบาดทะยักให้แก่ทารกในครรภ์ ได้
2.วัคซีนคอตีบ (Diphtheria) โรคคอตีบมีความรุนแรงสามารถทำให้แม่และลูกเสียชีวิตได้ อาการคือ หายใจไม่ออก มีการอุดตันทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบวัคซีนคอตีบเป็นวัคซีนที่ไม่มีอันตรายใด ๆ จึงเป็นวัคซีนที่คุณหมอแนะนำให้แม่ตั้งครรภ์ฉีดเพื่อช่วยป้องกันโรคคอตีบทั้งในแม่และทารกในครรภ์ เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดร่วมกับวัคซีนบาดทะยักโปรแกรมการฉีดจะเป็นเช่นเดียวกับการฉีดบาดทะยัก
3.วัคซีนไอกรน (Pertussis) โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ มีการไอถี่ ๆ หากเป็นมากจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวอาจถึงแก่ชีวิตได้ การฉีดวัคซีนไอกรนจะฉีดขณะคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อป้องกันลูกที่คลอดออกมา เพราะหากทารกที่คลอดออกมาใน 3 เดือนแรกและคุณแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนไอกรนภายใน 3 เดือนแรกอาจทำให้เสียชีวิตได้ การฉีดวัคซีนไอกรนให้คุณแม่ตั้งครรภ์จะส่งผลไปถึงลูกที่คลอดออกมาประมาณ 2-6 เดือน
4.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไข้หวัดใหญ่จะมีความรุนแรงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มากกว่าคนธรรมดา ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจะมีมากกว่า เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจวาย ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้คุณแม่และทารกเสียชีวิตได้ วัคซีนนี้สามารถฉีดให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ในทุกฤดูกาล ไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นฤดูหนาวที่มีไข้หวัดใหญ่ระบาดเท่านั้น วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะป้องกันได้ทั้งแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ สามารถฉีดได้ทุกอายุครรภ์ ฉีด 1 เข็มสามารถคุ้มกันโรคได้ 1 ปี
5.วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) อาการของไวรัสตับอักเสบบีจะแสดงอาการแตกต่างกันออกไป ถ้าเป็นขั้นรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ อาการขั้นรุนแรง คือ ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลียมาก ตับวาย หากเป็นตับอักเสบเรื้อรังอาจเกิดตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ สำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่แล้วเมื่อลูกคลอดออกมาก็จะมีเชื้อนี้อยู่ด้วย หากแม่ตั้งครรภ์ไม่เคยฉีดวัคซีนนี้หรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบี ควรฉีดวัคซีนนี้เพื่อป้องกันทั้งแม่และลูก
อ่านต่อวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเด็ก>>
วัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็ก
- วัคซีนบีซีจี (BCG) วัณโรคสามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการหายใจหรือเข้าทางบาดแผล เด็กจึงต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ที่บริเวณไหล่ซ้าย ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด เพื่อป้องกัน การอาเจียน มีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง และคอแข็ง
- ตับอักเสบบี (HBV) เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องไปพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์และตรวจเลือด หาภาวะการติดเชื้อโรคต่าง ๆ รวมทั้งพาหะไวรัสตับอักเสบบีด้วย เพราะโรคตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ตั้งแต่ในครรภ์ผ่านสายรก ถ้าคุณแม่มีเชื้อหรือพาหะ เด็กต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ตั้งแต่เกิด และอีกครั้งตอนอายุ 1 และ 6 เดือน หรือฉีดเป็น วัคซีนรวมกับคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน ตอนติดเชื้อแล้ว แรก ๆ จะไม่แสดงอาการ แต่เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเพื่อทำลายเซลล์ ตับจนตับ อักเสบ ตับแข็ง และเป็นโรคมะเร็งตับได้
- คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดเซลล์ (DTwP) โรคคอตีบ น้ำลายจากการไอ จาม หรือน้ำมูกของผู้ป่วย เป็นอีกสิ่งที่เด็กควรระวังพาหะ เพราะเมื่อเด็กได้รับเชื้อแบคทีเรียแล้วจะมีเยื่อสีขาวปนเทาอุดหลอดลม จนเกิดอาการเจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก ไอ มีไข้ต่ำ ๆ และหลอดลมอักเสบโปลิโอชนิดกิน (OPV) คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถรู้ว่าอาหารและน้ำดื่มที่ลูกรับประทานเข้าไปนั้นสะอาดแน่แท้แล้วหรือไม่ เพราะอาจมีเชื้อไวรัสโปลิโอเล็ก ๆ แฝงอยู่ในนั้น เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปทำลายเซลล์ประสาทไขกระดูกสันหลังและระบบประสาทต่าง ๆ จนกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพาตได้ เด็กต้องกินหรือหยอดวัคซีนชนิดนี้เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน แล้วต้องหยอด เพื่อกระตุ้นอีก 2 ครั้ง คือ 18 เดือน และในช่วง 4-6 ปี
- โปลิโอชนิดกิน (OPV) คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า อาหารและน้ำดื่มที่ลูกรับประทานเข้าไปนั้นสะอาดแน่นอนแล้วหรือไม่ เพราะอาจมีเชื้อไวรัสโปลิโอเล็ก ๆ แฝงอยู่ในนั้นก็เป็นได้ เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปทำลายเซลล์ประสาทไขกระดูกสันหลังและระบบประสาทต่าง ๆ จนกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพาตได้ ทำให้ลูกต้องกินหรือหยอดวัคซีนชนิดนี้เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน แล้วต้องหยอด เพื่อกระตุ้นอีก 2 ครั้ง คือ 18 เดือน และในช่วง 4-6 ปี
- หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR) โรคหัดและโรคหัดเยอรมัน แม้ทั้ง 2โรค จะมีชื่อเรียกคล้าย ๆ กัน แต่เกิดจากเชื้อไวรัสคนละตัว เมื่อติดเชื้อหัดเยอรมัน ลูกจะมีไข้สูง 1 -2 วัน และผื่นขึ้น 3-5 วัน แล้วยุบได้เองโดยไม่เหลือรอยทิ้งไว้แตกต่างจากหัด ที่เด็กจะมีไข้ 3-4 วัน และจะมีผื่นขึ้นทั้งตัวเมื่อยุบแล้วจะเหลือรอยสีน้ำตาลทิ้งไว้ แม้ว่าอาการหัดเยอรมัน จะรุนแรงน้อยกว่าหัด แต่หากมารดาติดเชื้อตั้งแต่ท้องอาจจะทำให้ลูกในครรภ์พิการได้ ลูกจึงควรรับการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 9-12 เดือน ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันได้ตลอดไป ส่วนโรคคางทูมนั้น เพียงแค่ผู้ป่วยโรคนี้ไอหรือจามใส่หน้า หรือเผลอไปสัมผัสสิ่งของจะทำให้เชื้อไวรัสเข้าร่างกายทำให้ต่อมน้ำลายบริเวณแก้มหน้าหู เหนือขากรรไกร (พาโรติด) บวมอักเสบ จนโย้ลงมากลายเป็นคางทูมได้ ทั้งนี้เด็กเล็กจะต้องฉีดวัคซีนแบบวัคซีนรวม 3 โรค เมื่ออายุ 9-12 เดือนขึ้นไป และฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้ง เมื่ออายุ 4-6 ปี
- ไข้สมองอักเสบเจอี (JE) โรคของสัตว์บางชนิดที่ระบาดมายังคนได้โดยติดต่อผ่านทางยุงตัวเล็ก ๆ ที่บินไปกัดสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบอยู่ ได้แก่ หมู วัว ม้า และควาย ทำให้ได้รับเชื้อไวรัสเข้ามาทางเลือด แล้วเมื่อยุงบินมากัดเด็กเชื้อเหล่านั้นจะเข้ามาในร่างกายของลูก ก็จะแบ่งจำนวนเพิ่มจำนวนเรื่อย ๆ จนทำให้ลูกรู้สึกปวดศีรษะ อาเจียน และมีไข้สูง ตลอดเวลา ถ้าเชื้อแบ่งตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขึ้นสมอง จนเป็นโรคไข้สมองอักเสบ ส่งผลให้เสียชีวิตได้ ลูกจะต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ 2 เข็ม ระหว่างอายุ 9-18 เดือน โดยฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2-2 1/2 ปี
ดังนั้น เมื่อถึงเวลาตามที่คุณหมอนัด อย่าลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนกันด้วยนะคะแม่ ๆ
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- วัคซีนรวม 6 โรค ปลอดภัย ไม่เจ็บตัวบ่อย ลดภาระค่าใช้จ่าย
- วัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี ที่พ่อแม่ต้องรู้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่