พบ! หนอนตัวแบนนิวกินี แล้วในประเทศไทย ติดอันดับ 1 ใน 100 สัตว์รุกรานของโลก!
คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะส่งสัยว่า เจ้านอนตัวแบนที่ว่านี้ คือหนอนอะไร แล้วทำไมถึงต้องระวัง ทีมงาน Amarin Baby and Kids จึงได้รวบรวมเอาข้อมูลเกี่ยวกับหนอนชนิดดังกล่าวมาฝากกันค่ะ
หนอนตัวแบนนิวกินี คือะไร?
หนอนชนิดนี้ เป็นหนอนที่มีถิ่นกำเนิดในนิวกินี เมื่อโตเต็มที่แล้วมีลำตัวยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ปลายแหลมทั้งสองด้านแต่ด้านที่เป็นหัวจะแหลมเล็กกว่า สีด้านหลังเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายสีน้ำตาลอ่อนพาดกลางลำตัวตามแนวยาว ด้านท้องสีขาวและมีจุดสีขาวเล็ก ๆ ค่อนไปทางด้านหางซึ่งเป็นส่วนปาก หนอนชนิดนี้กินหอยทากเป็นอาหารหลักและถ้าไม่สามารถหาหอยทากกินได้ ก็สามารถกินทากเปลือยและไส้เดือนได้ หนอนชนิดนี้มีสองเพศในตัวเดียว แต่การสืบพันธุ์ต้องมีหนอนสองตัวจึงจะวางไข่ได้ นอกจากนั้นถ้าหนอนตัวขาดก็จะสามารถเติบโตแยกร่างได้ มักจะออกหากินในเวลากลางคืน หนอนชนิดนี้นอกจากจะเป็นภัยต่อหอยทากท้องถิ่นของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นพาหะแพร่เชื้อ Angiostrongylus cantonensis หรือพยาธิปอดหนู พยาธิหอยโข่ง ซึ่งติดต่อสู่คนได้ โดยพยาธิดังกล่าวนี้มีหนูเป็นพาหะหลักจึงไม่สามารถเจริญเติบโตจนครบวงจรในร่างกายมนุษย์ได้ แต่ตัวอ่อนจะไปอาศัยอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางของผู้ติดเชื้อและตายลง ทำให้เกิดการ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และถ้ามีการติดเชื้ออย่างรุนแรงก็สามารถนำไปสู่อาการเรื้อรังของโรคจนอาจทำให้เสียชีวิตได้
อ่านเนื้อหาข่าวเพิ่มเติม คลิก!
สำหรับรายงานการพบในประเทศไทยนั้น เริ่มจากคุณมงคล อันทะชัย ได้แปะภาพหนอนตัวแบนนิวกินีกำลังกินหอยทากในบริเวณบ้านแถบอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จึงได้สอบถามไปยังกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสอบถามว่าเป็นสัตว์ชนิดใด ซึ่งอาจารย์ยิ่งยศ ลาภวงศ์ ได้ระบุชนิดว่าเป็นหนอนตัวแบนนิวกินี ต่อมาทางกลุ่มสยามเอ็นสิส โดย ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์และนายจิรวัฒน์ ผลเพิ่มพูล ได้ตามไปเก็บตัวอย่างที่บ้านคุณมงคลเพื่อยืนยัน จนมั่นใจว่าเป็นชนิดดังกล่าวจริง ๆ
และภายหลังจากที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้มีการเผยแพร่รายงานการพบ “หนอนตัวแบนนิวกินี” ซึ่งเป็น 1 ใน 100 สัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลกในประเทศไทยนั้น ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมและผู้เชื่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำ ซึ่งหนอนชนิดนี้นั้น สามารกำจัดได้ 2 วิธีด้วยกันคือ
- ใช้น้ำร้อนลวก
- หยอดด้วยเกลือป่น
ข้อควรระวังคือ ห้ามใช้การสับหรือหั่นโดยเด็ดขาด เพราะแต่ละชิ้นจะเติบโตเป็นตัวใหม่ได้และจะกลายเป็นยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นไปอีก
อ่านต่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร คลิก!
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร?
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ Meningitis เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม ทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ และเป็นไข้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพบมากในเด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ และบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในระยะแรกเริ่มอาจคล้ายคลึงอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยจะแสดงอาการมากขึ้นเมื่อผ่านไปหลายชั่วโมงหรือเป็นเวลา 2-3 วันแล้ว พบได้ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป มีดังนี้
- คอแข็ง
- มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ
- ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน
- ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- ชัก
- แพ้แสงหรือไวต่อแสง
- ไม่มีความกระหายหรืออยากอาหาร
- ปวดหัวอย่างรุนแรงผิดปกติ
- ง่วงนอน หรือตื่นนอนยาก
- ผิวหนังเป็นผื่น พบได้ในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
ในเด็กแรกเกิดจนกระทั่งอายุไม่เกิน 1 เดือน ก็สามารถเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน อาจมีอาการดังนี้
- ร้องไห้ตลอดเวลา
- มีไข้สูง
- ตัวและลำคอแข็ง
- นอนหลับมากเกินไป หรือหงุดหงิดง่าย
- เฉื่อยชา เคลื่อนไหวน้อย
- กระหม่อมนูน
- ดื่มนมได้น้อยลงมาก
สำหรับวิธีป้องกันนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรแนะนำให้ลูกล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรค หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น และส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญ อย่าลืมเตือนลูกหลาน หากพบหนอนในลักษณะดังกล่าว ห้ามจับหรือสัมผัสโดยเด็ดขาด
เครดิต: TNews และ Siamensis
อ่านต่อเนื้อหาอื่นเพิ่มเติม:
- ลูกป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเพราะว่ายน้ำ
- ลูกเล่นน้ำในบ่อ เสี่ยง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่