การได้รับ “วิตามิน” อย่างครบถ้วน คือการรับประทานอาหารที่หลากหลาย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป เพราะวิตามินทุกชนิด มีความสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้ แต่การได้รับวิตามินที่มากเกินพอดีก็จะส่งผลร้ายให้ร่างกายได้เช่นกัน มาดูข้อดี ข้อเสีย 13 วิตามินที่ร่างกายขาดไม่ได้ กันค่ะ
วิตามิน 13 ชนิดที่ห้ามขาด-ห้ามเกิน
1.วิตามินเอ
แหล่งวิตามิน: ตับ ไข่ ปลา นมถั่วเหลือง นมวัว ผักผลไม้สีส้ม เหลือง เขียว เช่น ตำลึง ชะอม ผักโขม ฟักทอง ข้าวโพด มะม่วงสุก แครอท ฝรั่ง ส้ม
ห้ามขาด: เพราะจะมีปัญหาผิวหนัง หนังคางคก ตาบอดกลางคืน กระจกตาน่วม และภูมิต้านทานโรคต่ำ
ห้ามเกิน: เพราะจะทำให้อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ตาพร่า และเสียสมดุลการทำงานของกล้ามเนื้อ ฯลฯ
2.วิตามินบี 1
แหล่งวิตามิน: งา ถั่ว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี ธัญพืช เมล็ดทานตะวัน หมู ปลา ไก่ ตับ ไข่ มันฝรั่ง
ห้ามขาด: เพราะจะทำให้เป็นเหน็บชา
ห้ามเกิน: เพราะจะทำให้ง่วงนอน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นเร็ว ตัวบวม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3” คลิกหน้า 2
3.วิตามินบี 2
แหล่งวิตามิน: เนื้อสัตว์ ตับ ไต ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ถั่ว ผักสีเขียว หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย
ห้ามขาด: เพราะจะทำให้เป็นโรคปากนกกระจอก ปากแห้ง ลิ้นอักเสบ ดวงตาระคายเคือง
ห้ามเกิน: ยังไม่พบอาการชัดเจน แต่ถ้ามีมากในร่างกายอาจจะทำให้คัน ชา และแสบ
4.วิตามินบี 3
แหล่งวิตามิน: เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ตับ ไข่ จมูกข้าวสาลี ยีสต์ ลูกพรุน อะโวคาโด เห็ด
ห้ามขาด: จะเป็นโรคผิวหนังบางชนิด อ่อนเพลีย ปลายประสาทอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง นอนไม่หลับ อารมณ์ไม่ดี ความจำถดถอย
ห้ามเกิน: ส่งผลเสียต่อตับ มีปัญหาการควบคุมน้ำตาลในเลือด มีโอกาสปวดตามข้อ และอาการร้อนวูบวาบ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 7” คลิกหน้า 3
5.วิตามินบี 5
แหล่งวิตามิน: เนื้อสัตว์ เครื่องในวัว ผัก ยีสต์ ข้าวโพด บรอกโคลี อะโวคาโด มะเขือเทศ ไข่แดง นม ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน และธัญพืช
ห้ามขาด: เพราะจะเป็นโรคผิวหนัง น้ำตาลในเลือดต่ำ ปวดท้อง อาเจียน ตะคริว อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ สัมผัสรสชาติเพี้ยน
ห้ามเกิน: ท้องเสีย อาเจียน แสบร้อนกลางอก
6.วิตามินบี 6
แหล่งวิตามิน: เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ ตับ ข้าวกล้อง รำข้าว จมูกข้าวสาลี ยีสต์ งา ถั่วต่างๆ ผัก กะหล่ำปลี และกล้วย
ห้ามขาด: เพราะปากจะแห้งแตก โลหิตจาง ติดเชื้อง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน เป็นโรคเส้นประสาท
ห้ามเกิน: ส่งผลเสียต่อระบบประสาท เสียการรับรู้สัมผัส ฝันเหมือนจริงมากเกินไป นอนหลับไม่สบาย กระสับกระส่ายเวลานอน มึนงง มือเท้าชา
7.วิตามินบี 7
แหล่งวิตามิน: เนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับ นม เนย ยีสต์ ข้าวกล้อง ถั่ว งา ผักใบเขียว
ห้ามขาด: ซึมเศร้า เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผิวหนังอักเสบ ลำไส้เล็กอักเสบ และผมร่วง
ห้ามเกิน: ยังไม่พบรายงาน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 วิตามินซี” คลิกหน้า 4
8.วิตามินบี 9
แหล่งวิตามิน: ถั่วต่างๆ ขนมปัง ธัญพืช ตับ ผัก เช่น แครอท ฟักทอง ผักสีเขียว เช่น ผักโขม บรอกโคลี ผักคะน้า ผักบุ้ง ผลไม้ เช่น ฝรั่ง ส้ม
ห้ามขาด: โลหิตจาง เม็ดเลือดจาง ภูมิต้านทานโรคต่ำ อ่อนเพลีย หงุดหงิด มีอาการทางประสาท ผมหงอกก่อนวัย หากขาดขณะตั้งครรภ์จะทำให้ลูกน้อยพิการได้
ห้ามเกิน: อาจอ่อนเพลีย เป็นไข้ ผิวผื่นแดงหรือคัน การหายใจผิดปกติ
9.วิตามินบี 12
แหล่งวิตามิน: เนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นม และไข่
ห้ามขาด: โลหิตจาง เม็ดเลือดแดงใหญ่
ห้ามเกิน: อาจเกิดสิวที่มีลักษณะเป็นผื่น
10.วิตามินซี
แหล่งวิตามิน: มะขามป้อม ฝรั่ง ส้ม มะนาว แคนตาลูป สับปะรด มะละกอ แตงโม กล้วย ผักสีเขียว มะเขือเทศ บรอกโคลี ตับ
ห้ามขาด: เลือดออกตามไรฟัน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดข้อ
ห้ามเกิน: ท้องเสีย ท้องอืด นิ่วในไต ผื่นผิวหนัง ข้ออักเสบ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค” คลิกหน้า 5
11.วิตามินดี
แหล่งวิตามิน: แสงแดดอ่อนๆ ตอนเช้า หอยนางรม ไข่ ตับ ปลาทะเล น้ำมันตับปลา นม และผลิตภัณฑ์จากนม เห็ด
ห้ามขาด: กระดูกบาง โรคกระดูกอ่อนในเด็ก โรคกระดูกน่วม และโรคกระดูกพรุน
ห้ามเกิน: เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึมลง และปวดข้อ
12.วิตามินอี
แหล่งวิตามิน: ผักสีเขียว น้ำมันพืช เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ มะละกอ อะโวคาโด พริกหวาน ถั่วเปลือกแข็ง นม เนย ไข่ และข้าว
ห้ามขาด: มีโอกาสเกิดโลหิตจาง การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ กล้ามเนื้อลีบ และโรคทางระบบสืบพันธุ์ เช่น เป็นหมันในผู้ชาย ทำให้แท้งในผู้หญิง เม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิด
ห้ามเกิน: ท้องอืด ท้องเสีย อาเจียน ปวดศีรษะ ตาพร่า อ่อนเพลีย และภาวะหัวใจวาย
13.วิตามินเค
แหล่งวิตามิน: ผักสีเขียวเข้ม เช่น ผักโขม คะน้า กวางตุ้ง ใบบัวบก ตับ ไข่แดง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก และน้ำมันตับปลา
ห้ามขาด: เมื่อเป็นแผลแล้วเลือดหยุดช้า เลือดออกง่าย บิด และลำไส้อักเสบ
ห้ามเกิน: เกล็ดเลือดจับตัวง่าย เพิ่มเลือดจับลิ่มถ้าได้รับวาร์ฟาริน ระคายเคืองผิวหนัง และทางเดินหายใจ
เครดิต: Well Magazine, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
รวมฮิต ติดชาร์ต ผักผลไม้วิตามินซีสูงเพื่อลูก
ขาดวิตามินซี เพราะดื่มแต่นมกล่อง ไม่รับประทานผักผลไม้
วิตามินอี กินให้ดีและปลอดภัย
Save
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save