วันนี้มีบทความที่น่าตกใจจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาฝากกันคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ โดยทางมูลนิธิฯ ได้สุ่มซื้อเนื้อไก่สดและตับไก่มาจากตลาดสด ห้างสรรพสินค้า และห้างออนไลน์ มาสุ่มตรวจปริมาณการตกค้างของยาปฏิชีวนะ และได้ผลออกมาอย่างน่าตกใจว่าพบ สารตกค้างในไก่ มากถึง 40% ของกลุ่มตัวอย่างที่นำมาตรวจ! มีจำนวนไม่น้อยเลยนะคะ มาดูรายละเอียดกันดีกว่าค่ะ ว่ามูลนิธิฯ มีวิธีการตรวจอย่างไรบ้าง
ฉลาดซื้อพบ! สารตกค้างในไก่ เนื้อไก่สด ตับไก่ มากถึง 40%
ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 สำนักงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมมือกับเครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จัดงานแถลงข่าวผลทดสอบ ‘การตกค้างจากยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในเนื้ออกไก่และตับไก่สด’ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และห้างออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 จำนวนทั้งสิ้น 62 ตัวอย่าง แบ่งเป็นอกไก่สด จำนวน 32 ตัวอย่าง และตับไก่สด จำนวน 30 ตัวอย่าง เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด จาก 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolone Group) คือ เอนโรฟลอคซาซิน (Enrofloxacin) ซึ่งหากได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้มากเกินไป จะทำให้เกิด
- กลุ่มเตตราไซคลิน (Tetracycline Group) คือ ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) ซึ่งหากได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้มากเกินไป จะทำให้เกิด
- การดื้อยา
- การแพ้ยา
- อาจทำให้ฟันมีสีคล้ำ สามารถพบเห็นได้ในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่
- มีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
- มีผื่นคันบริเวณผิวหนัง
- กลุ่มเบต้า – แลคแทม (Beta – Lactam Groups) คือ อะม็อกซีซิลลิน(Amoxicillin) ซึ่งหากได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้มากเกินไป จะทำให้เกิด
- การดื้อยา
- การแพ้ยา
- ผื่นคัน ลมพิษ
- มีอาการหอบหืด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ พบ! สารตกค้างในไก่ เนื้อไก่สด ตับไก่ มากถึง 40%
พบ! สารตกค้างในไก่ เนื้อไก่สด ตับไก่ มากถึง 40%
จากตัวอย่างทั้งหมด 62 ตัวอย่าง พบปริมาณ สารตกค้างในไก่ ดังนี้
- ตรวจพบการตกค้างที่เกินเกณฑ์มาตรฐานของยาปฏิชีวนะ กลุ่มที่ 1 (เอนโรฟลอคซาซิน) จำนวน 5 ตัวอย่าง
- ตรวจพบการปนเปื้อนแต่ยังไม่เกินเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนดของยาปฏิชีวนะ กลุ่มที่ 2 (ด็อกซีไซคลิน) จำนวน 21 ตัวอย่าง
- ไม่ตรวจพบการปนเปื้อนการตกค้างของยาปฏิชีวนะ ทั้ง 3 กลุ่มเลย จำนวน 36 ตัวอย่าง
โดยพบการตกค้างและการปนเปื้อน ดังนี้
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง มีหลักเกณฑ์ในการตกค้างของยาปฏิชีวนะ ดังนี้
จากผลดังกล่าว นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ มพบ. กล่าวว่า จากผลการตรวจวิเคราะห์พบยาเอนโรฟลอคซาซิน (Enrolfloxacin) จำนวน 5 ตัวอย่าง ซึ่งไม่ได้เป็นรายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ใช้ยานี้ได้แต่ต้องไม่พบการตกค้างเลย โดยมีความผิดตามมาตรา 60 โทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ของ พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ส่วนผลวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Tetracycline (เตตราไซคลีน) พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดที่พบปริมาณเกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่ อย. ประกาศกำหนด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ตารางแสดงตัวอย่างที่ตรวจพบยาปฏิชีวนะ สารตกค้างในไก่
ตารางแสดงตัวอย่างที่ตรวจพบยาปฏิชีวนะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ข้อเสนอเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 5 ข้อ
ข้อเสนอเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 5 ข้อ ต่อ สารตกค้างในไก่
- ผู้บริโภคไม่ต้องการอาหารที่มีการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ เพราะการเกิดเชื้อดื้อยาเกิดได้ทั้งปริมาณการตกค้างทั้งน้อยและมาก
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต้องปรับปรุงมาตรฐานการตกค้างให้ยอมรับได้น้อยที่สุด
- กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องบังคับใช้แผนปฏิบัติการในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์ม
- สำนักงานงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ จะต้องเข้มงวด และติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ให้ตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนด รวมถึงเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการจัดการเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ และร้านค้าต่างๆ ควรตรวจสอบที่มาของอาหารก่อนนำเข้ามาจำหน่าย อีกทั้งในส่วนของร้านค้าในตลาด ทาง มพบ. จะทำหนังสือไปถึงสมาคมตลาดสดไทยเพื่อให้ตรวจสอบและเฝ้าระวังด้วย
คนเป็นแม่อย่างเรา ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกกินหรือดื่ม ล้วนแล้วแต่ต้องปลอดภัยและมั่นใจได้ว่าไม่ก่อให้เกิดปัญหาได้ในอนาคต ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อยนะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่
พบ! 10 ผักที่มีสารเคมีตกค้างมากที่สุด
อาหารและเครื่องดื่ม ที่มีประโยชน์ สำหรับเด็กวัย 4-12 ปี
12 อาหารบำรุงแม่หลังคลอด ทำอย่างไรให้น้ำนมมีคุณภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, ฉลาดซื้อ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่