ให้ลูกเล่นมือถือ ทำไมถึงกลายเป็นข้อเสีย ไม่อยากให้ลูกมีพัฒนาการถดถอย พ่อแม่ควรอ่าน!
ตื่นตัวกันหรือยังคะ? กับภัยมือถือที่ส่งผลกระทบกับพัฒนาการของลูก ถ้ายังละก็ … ตื่นตัวกันเถอะค่ะ เพราะข้อเสียนั้นมีมากกว่าข้อดีจริง ๆ!
เชื่อไหมคะว่า วันก่อนผู้เขียนได้ไปเห็นภาพ ๆ นึงมาแล้วรู้สึกว่า พ่อแม่สมัยนี้เลี้ยงลูกด้วยมือถือกันจริง ๆ ซึ่งในวันนั้นผู้เขียนเองมีโอกาสไปรับประทานอาหารที่ร้านแห่งหนึ่ง แล้วกำลังจะกลับบ้าน ขณะเดินออกจากร้านนั้น เห็นครอบครัว ๆ หนึ่งมีลูกเล็กที่กำลังนั่งอยู่ในรถเข็น ซึ่งในขณะนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็กำลังนั่งรับประทานข้าวกันอย่างสนุกสนาน ปล่อยให้ลูกเล็กคนนี้นั่งอยู่ในรถเข็นพร้อมกับจ้องโทรศัพท์ดูการ์ตูนตลอดเวลา
จริงอยู่ค่ะว่า มือถือ อาจจะสามารถช่วยให้ลูกลดความซนได้ แต่อย่าลืมนะคะว่า ในข้อดี ก็มักจะมีข้อเสียซึ่งอาจจะทำร้ายลูกของเราอยู่ได้มากเช่นกัน
อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติม ได้ที่หน้า 2
คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะ ไม่ใช่แต่ประเทศเราประเทศเดียวนะคะ ที่กำลังให้ความสำคัญกับการใช้มือถือของเด็ก ๆ ล่าสุดนั้น ประเทศญี่ปุ่นตื่นตัวกับภัยเงียบดังกล่าว จนถึงขั้นทำโปสเตอร์เพื่อเป็นการเตือนสติคุณพ่อคุณแม่ทุกคนแล้วละค่ะ ซึ่งเนื้อหาของโปสเตอร์นั้นก็ได้พูดถึงอันตรายของการใช้สมาร์ทโฟน และได้ถูกจัดส่งไปยังสถานพยาบาล 170,000 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น โปสเตอร์นี้ได้ตั้งคำถามว่า “เราจะสูญเสียอะไรไปเมื่อใช้เวลากับสมาร์ทโฟน?”
ให้ลูกเล่นมือถือ เสี่ยงกับพัฒนาการลูกด้านใดบ้าง?
สมาคมกุมารแพทย์แห่งญี่ปุ่น ได้ระบุว่า ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปมี 6 ด้านด้วยกัน คือ
- ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ
- ผลการเรียนย่ำแย่ลง
- สมรรถภาพทางกายลดลง
- สายตาแย่ลง
- พัฒนาการทางสมองช้าลง
- ความสามารถในการสื่อสารลดลง
ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น พบว่า ตั้งแต่ปี 2014 นักเรียนชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาที่ใช้เวลากับโทรศัพท์มากจะยิ่งมีผลการเรียนถดถอยลง นอกจากนี้ การจ้องมองจอภาพเป็นเวลานานยังมีส่วนทำลายสมองและทำให้ประสิทธิภาพเรื่องความจำถดถอยอีกด้วย
ผลการวิจัยเคยพบว่า โทรทัศน์ส่งผลลบต่อพัฒนาการของเด็ก เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้เด็กขาดพัฒนาการการด้านการสื่อสารและความคิดสร้างสรรค์ แต่สมาร์ทโฟนซึ่งมีจอขนาดเล็กจะยิ่งมีผลเสียมากกว่า
สมาคมกุมารแพทย์แห่งญี่ปุ่น ระบุว่า ผู้ปกครองควรจำกัดเวลาการดูโทรทัศน์ เล่นเกม และใช้สมาร์ทโฟนของเด็กให้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรให้ดูโทรทัศน์ หรือใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์โดยสิ้นเชิง
อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติม ได้ที่หน้า 2
ขอบคุณที่มา: BBC Thai
นอกเสียจากนี้ แสงของมือถือหรือที่เราเรียกกันว่า Blue Light นั้น สามารถทำให้ผู้ที่ดูหรือใช้งานมาก ๆ นั้น มีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
- จอประสาทตาเสื่อม การวิจัยทางการแพทย์เผยว่า แสงสีน้ำเงินสามารถแทรกผ่านสารสีที่พบในตาและเป็นอันตรายต่อดวงตาบริเวณเซลล์ที่ศูนย์กลางเรตินา โดยจะเข้าไปลดความเข้มข้นของสารสี เกิดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้จอประสาทตาเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น ที่สำคัญโรคนี้อันตรายถึงขั้นตาบอดได้เลย
- ตาขี้เกียจ คือ ภาวะที่ตานั้นไม่ได้ใช้งานนาน ๆ มันจะหยุดการทำงานแค่นั้น เช่น ถ้ามีตาข้างหนึ่งดี อีกข้างมีสายตาสั้นมาก ๆ ร่างกายจะใช้ตาข้างที่ดี แล้วไม่ใช้ตาข้างสายตาสั้นมาก ๆ ผู้ปกครองท่านใด ที่เลี้ยงลูกด้วย มือถือ หรือ แทบเล็ตควรจะป้องกันไว้ เอาไว้เสียตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยละค่ะ
- ดวงตาล้า หากดวงตาของคนเราต้องทำงานหนักจากการเพ่งมองภาพจากมือถือที่ประกอบขึ้นมาจากพิกเซลเล็ก ๆ ที่สั่นไหวอยู่ตลอดทุกวินาที ส่งผลให้ระบบสายตาทำงานลำบากและโฟกัสภาพบนจอได้ยาก ความคมชัดของภาพจึงลดลงและทำให้ตาอ่อนล้า นอกจากนี้อาจตามมาด้วยอาการปวดไหล่ ปวดหัว ระคายเคืองที่ตา เจ็บตา ตาพร่าหรือเห็นภาพซ้อน ตาอ่อนไหวต่อแสงแดด น้ำตาไหล ตาแห้ง และมองภาพไม่ชัดเจนได้ด้วย
รู้แบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองถามใจตัวเองดูนะคะว่า การปล่อยให้พี่เลี้ยงจอสี่เหลื่ยมเลี้ยงลูกนั้น จริง ๆ แล้วมันคือข้อดีหรือว่าข้อเสียกันแต่
ขอบคุณที่มา: สสส.
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่