คุณพ่อหนุ่ม กรรชัย ถึงกับเครียด หลังน้อง มายู ดื้อ เอาแต่ใจ ไม่พอใจอะไรก็จะลงไปร้องกรี๊ด จนต้องพาไปพบจิตแพทย์เด็ก พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่ได้เลี้ยงลูกแบบตามใจ
ซึ่งอาการที่น้อง มายู ดื้อ นี้เป็นเรื่องนี้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้นานแล้ว แต่ก็เริ่มเป็นหนักขึ้น หลังจากที่คุณพ่อหนุ่ม กรรชัย นำ น้องมายู มาเป็นพิธีกรจิ๋วในรายการ ดาวินชี่ ถอดรหัสเด็ก ก็ทำเอาคุณพ่อหนุ่มเองเกิดอาการกังวล เพราะน้องมายูเองก็เริ่มมีพฤติกรรมเอาแต่ใจ จนคุณพ่อเองก็รับมือไม่ไหว ถึงขั้นต้องปรึกษาจิตแพทย์ และก็ได้รับคำตอบจากคุณหมอว่าเป็นปกติตามวัยของเด็กแต่ละคนเลยทำให้โล่งใจ พร้อมทั้งยืนยันว่าทั้งพ่อและแม่ไม่ได้ตามใจ เพราะแอบกังวลกลัวคนภายนอกจะมองว่าเลี้ยงลูกตามใจ
โดยคุณพ่อหนุ่ม เผยว่า ตนต้องขอบคุณหลายคนที่ให้ความเอ็นดู น้องมายู ปกติตนและเมย์ต่างคนต่างทำงาน น้องมายูต้องอยู่กับพี่เลี้ยงที่บ้าน ตนเลยคิดว่าเอาลูกมาทำงานด้วยดีกว่า ซึ่งพอเอาลูกมาทำงานด้วยก็ปวดหัวมาก อย่างตอนแรกให้เขานั่งเก้าอี้ใกล้ ๆ เรา แต่พอเจอเพื่อนก็จะเดินไปเล่นกับเพื่อน หรือบางครั้งตนเผลอน้องก็กระโดดจนหัวฟาดพื้นขอบเวที จนเวลาไปถ่ายรายการ เมย์ต้องมาด้วย
นอกจากนี้ น้องเองบางครั้งก็เอาแต่ใจหนัก ถ้างอนก็จะทิ้งตัวลงไป ไม่ก็จะกรี๊ดจนจัดการไม่ได้ เราก็ได้แต่ปล่อยให้เขาหายเอง เรื่องนี้ตนยอมรับว่ากังวล จนพาลูกไปหาจิตแพทย์เด็ก ซึ่งคุณหมอบอกว่าน้องไม่เป็นอะไร ทุกอย่างเป็นไปตามพัฒนาการ อย่างไรก็ตาม มีคนบอกว่าถ้าน้องไปโรงเรียนจะดีขึ้น ตนก็เริ่มส่งน้องไปเรียนเตรียมอนุบาล เพื่อได้เจอสังคมบ้าง
ชมคลิป >> “คุณพ่อหนุ่ม พูดถึงพฤติกรรมน้องมายู ดื้อ จนต้องพบจิตแพทย์” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
คลิปสัมภาษณ์ พ่อหนุ่ม กังวลน้อง มายู ดื้อ เอาแต่ใจ ถึงขั้นพาปรึกษาจิตแพทย์!!
ขอบคุณคลิปจาก : gossipstar.mthai.com
ขอบคุณภาพและคลิปจาก : IG @kanchai
ทั้งนี้ปัจจุบันน้องมายู อายุ 3 ขวบ ซึ่งพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ ก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วตามที่จิตแพทย์บอกกับคุณพ่อหนุ่มกรรชัย แต่สิ่งที่ต้องปรับก็คือการลักษณะการเลี้ยงดูและรับมือของคนเป็นพ่อเป็นแม่ เมื่อเจอพฤติกรรมของลูกแบบนี้
สาเหตุที่ลูกดื้อเพราะ!
เป็นพัฒนาการปกติของเด็กวัยนี้ 1-3 ที่เด็กกำลังเรียนรู้และทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองยังไม่ใช่ “ดื้อ” เพียงแค่เขาอยากเป็นตัวของเขาเอง บางครั้งลูกยังไม่เข้าใจสิ่งที่พ่อแม่สอน ลูกจะเรียนรู้โดยการเลียนแบบ ควรสอนด้วยการกระทำมากกว่าการพูดห้าม เพราะการห้ามลูกทำสิ่งนั้นสิ่งนี้บ่อยๆ ลูกก็จะเบื่อและทำปฏิกิริยาโต้ตอบไม่ทำตาม พ่อแม่จึงไม่ควรปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนเป็นพระราชา
ทั้งนี้การเลี้ยงดูของพ่อแม่ด้วยความใจอ่อน และยอมตามใจในช่วงเริ่มแรกของชีวิตวัยเด็ก และไม่กำหนดขอบเขตที่ชัดเจน ปล่อยให้ลูกร้องไห้ อาละวาด แสดงอารมณ์ร้ายๆ แสดงให้เห็นว่าพ่อแม่ยอมให้ลูกอยู่เหนือกว่า ทำอะไรก็ได้ตามใจ นั่นคือการปลูกฝังนิสัยเอาแต่ใจให้ลูกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาของสังคมในอนาคต หรือการถูกพ่อแม่บังคับตีกรอบออกคำสั่งมากเกินไป เมื่อลูกทำตามไม่ได้ คับข้องใจ อาจมีพฤติกรรม “หูทวนลม” หรือก้าวร้าวตอบโต้ได้เช่นกัน
ส่วนการที่ลูกถูกทอดทิ้งละเลย ทำให้รู้สึกว่าไม่มี ใครรัก ไม่มีความสุข กังวลใจ หมดกำลังใจที่จะทำตามความคาดหวังของผู้ใหญ่ จะมีพฤติกรรมเฉื่อย ดื้อต่อต้านได้ และ/หรือมีผู้ใหญ่รุนแรงกับลูก เช่น ทำโทษรุนแรง ประณาม สบประมาท ทำให้ลูกรู้สึกโกรธอยาก กลั่นแกล้ง แก้แค้น และยั่วยุให้ผู้ใหญ่โกรธ ทำให้มีความสัมพันธ์ไม่ดีต่อกัน ถ้าลูกและพ่อแม่ไม่มีความรักและความนับถือเป็นพื้นฐาน ก็ย่อมนำไปสู่การไม่เชื่อฟังได้ง่าย
รวมไปถึงการปกป้องลูกมากไป บางคนกลัวลูกผิดพลาด เลยทำให้ทั้งหมด จนลูกไม่สามารถช่วยตัวเองได้ กลายเป็นเด็กเฉื่อยชาไม่รับผิดชอบไปในที่สุด
อ่านต่อ >> “8 วิธีรับมือและแก้ไขไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- ใช้จิตวิทยาในการเลี้ยงเด็กดื้อ เอาใจตัวเอง
- 4 วิธีปราบลูกดื้อ วางอำนาจ เอาแต่ใจ จากนักจิตวิทยาต่างประเทศชื่อดัง (มีคลิปเหตุการณ์จริง)
- ชมคลิป นักจิตวิทยาต่างประเทศแนะ! วิธีแก้ปัญหาลูกดื้อ ตอน “หนูเป็นใหญ่ในบ้าน”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีแก้ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง
1. ยอมรับทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกแต่ละวัยให้มาก โดยเฉพาะลูกในช่วงวัย 6 ขวบแรก หากพ่อแม่สอนและฝึกไม่ตามใจลูกทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง ลูกจะโตขึ้นมาโดยไม่ติดนิสัยเหล่านี้ตามมาด้วยนั่นเอง
2. หลังจากที่ลูกโตเกิน 3 ขวบ นิสัยเอาแต่ใจตัวเองควรที่จะค่อยๆ หายไป แต่ถ้ายังแสดงออกถึงความเอาแต่ใจอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อคูณแม่ควรพูดคุยกับลูกจริงจัง ว่าลูกควรเลิกพฤติกรรมอะไรบ้าง และมีท่าทีจริงจัง เพราะหากลูกดื้อโดยไม่รู้ตัวอยู่บ่อยๆ เช่น เมื่อสั่งแล้วลูกไม่ทำ พ่อแม่ก็จะทำให้เอง ลูกก็จะกลายเป็นคนเพิกเฉย ไม่ใส่ใจคำพูด ของพ่อแม่ไปในที่สุด
3. เมินเฉย ทำเป็นไม่สนใจเมื่อลูกน้อยเกิดอาการอาละวาด วิธีการเมินเฉยต่อพฤติกรรมนั้นเป็นวิธีการจัดการปัญหาที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง ให้ทำเป็นมองไม่เห็น หรืออุ้มเขาเข้าไปในห้องด้วยท่าทางสงบ ไม่แสดงกิริยาเกรี้ยวกราดหรือดุเขา ที่สำคัญห้ามตามเกมของลูกคุณเป็นอันขาด อย่าสัญญาว่าจะซื้อสิ่งของให้เพื่อเป็นเงื่อนไขให้เขาหยุดร้องไห้ เพราะนั่นยิ่งจะไปกระตุ้นพฤติกรรมที่การอาละวาดเมื่อต้องการทำตามใจตนเองให้มากขึ้น ซึ่งหากลูกน้อยของคุณได้เรียนรู้ว่าถึงแม้เขาจะโวยวายอาละวาดอย่างไร ก็ไม่มีทางได้ในสิ่งที่ต้องการ พฤติกรรมลูกงอแง เอาแต่ใจแบบนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายไปเองในที่สุด
4. ฝึกให้ลูกหัดพูด หัดช่วยเหลือตนเอง การสอนให้เด็กช่วยเหลือตนเองจะทำให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการเล่นและการรับฟังคนอื่นได้มากขึ้น โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ เมื่อจำเป็น ซึ่งคุณควรอดทนรอลูกเมื่อเขายังไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เช่น การติดกระดุม หรือใส่เสื้อผ้าเอง ควรเข้าไปช่วยเมื่อจำเป็นเท่านั้น เป็นอีกวิธีแก้นิสัยลูกงอแง เอาแต่ใจ อาละวาดได้
5. พูดคุยกับผู้ใหญ่ในบ้านเพื่อหยุดพฤติกรรมอาละวาด หากในบ้านของคุณมีทั้งปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่คอยเลี้ยงลูกของคุณอยู่ละก็ จงทำความเข้าใจกับทุกคนเพื่อให้ปฏิบัติกับเด็กเมื่อเขาเกิดอาการอาละวาดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากมีใครคอยตามใจแล้วล่ะก็ เด็กจะไม่เลิกพฤติกรรม เด็กงอแง เอาแต่ใจอาละวาดอย่างแน่นอน
6. สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีอยู่เสมอ มอบความรักความอบอุ่น กอดและบอกรักลูก ชมลูกอย่างจริงใจทุกครั้ง ที่มีโอกาส เพราะการที่ทำให้ลูกรู้ว่ามีคนรู้และเข้าใจ ลูกจะรู้สึกมั่นคงได้รับความรักตอบสนอง ทำให้เคารพและเชื่อฟัง
7. เสริมสร้างความมั่นใจและการแก้ปัญหาให้ลูก สอนลูกมีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ เพราะทุกอย่างไม่สามารถเป็นได้ดังใจ สอนให้ลูกรู้จักการรอคอย ควบคุมอารมณ์โกรธ และไม่ชมลูกเกินจำเป็น ควรให้คำชมเมื่อลูกทำความดี หรือสามารถทำสิ่งที่ยากได้สำเร็จ จงจำไว้ว่าการรักลูก ต่างจากการตามใจลูก แสดงความรักต่อลูก ด้วยการสอนให้ลูกเก่ง ซื่อสัตย์ ใส่ใจความรู้สึกของคนอื่น
8. ไม่เอาชนะลูกแบบตรงๆ ควรมีเทคนิคชักจูง ให้ลูกอยากทำ การบอกซ้ำๆ หรือคะยั้นคะยอ จะเร้าอารมณ์ทำให้เด็กต่อต้าน ผู้ใหญ่ไม่ควรคาดหวัง ให้เด็กทำตามทันที ควรให้เวลาและโอกาสด้วย รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการต่อล้อต่อเถียงที่จะนำไปสู่การทะเลาะวิวาท จนเกิดเหตุรุนแรง และลงเอยด้วยการทำโทษเด็ก การกระทำแบบนี้จะนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน เป็นเหตุสำคัญของการดื้อต่อต้าน
สุดท้ายมีคุณพ่อคุณแม่หลายคนคิดว่าเมื่อลูกดื้อเอาแต่ใจ ควรใช้วิธีลงโทษ ด้วยการตี แต่นั้นเป็นการแก้ไขที่ผิด วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้เด็กว่าง่ายคือ การให้เหตุผล เป็นวิธีที่ถูกต้อง คุณพ่อสามารถหาความรู้ว่าด้วยเรื่องการให้เหตุผลในเว็บไซต์ Amarin Baby & Kids หรือค้นหาจากเว็บเสิร์ชเอนจิ้น ด้วยคำค้นว่า จิตวิทยาเชิงบวก หรือ Positive Psychology ค่ะ
นอกจากเรื่องการให้เหตุผลแล้ว หลักการที่จิตวิทยาเชิงบวกมักใช้ คือ ให้เด็กรับผิดรับชอบการตัดสินใจของตนเอง พูดง่ายๆ ว่าตนเองทำอะไรไว้ก็ต้องยอมรับผลที่เกิดขึ้นเสียดี ๆ ด้วยวิธีนี้เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้เองว่าพฤติกรรมที่พึงประสงค์ คืออะไร ซึ่งไม่ว่าพ่อแม่จะสอนหรือให้เหตุผลอะไร พ่อแม่ก็ต้องพูดตรงกัน นั้นจะยืนยันหลักการให้ลูกรับผิดรับชอบผลของการกระทำ ซึ่งสิ่งนี้คนเป็นพ่อแม่ยิ่งต้องการความอดทน มั่นคง และสม่ำเสมอ หมายถึงอดทนนานพอที่จะเห็นลูกค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตนเองว่า ถ้าทำอะไรแล้วจะเกิดอะไรขึ้นและทำอะไรน่าจะดีกว่า
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!