อย่าลืม! เช็คเส้นทางให้ดีก่อน พาลูกเที่ยวสงกรานต์ ปีนี้! เพราะงานนี้ที่ประชุมครม. ประกาศดีเดย์!
“เทศกาลวันสงกรานต์” คือเทศกาลที่คนส่วนใหญ่รอคอย ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงานที่ต่างพากันดีใจที่จะได้ลากลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ลูกหลานกันนาน ๆ ส่วนเด็ก ๆ เอง ก็ดีใจที่จะได้เล่นน้ำกัน แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจและรู้จริงถึงประวัติความเป็นมาและขนบธรรมเนียมประเพณีนี้
ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้ตระหนักเห็นว่า คงจะเป็นการดีที่เราจะอธิบายและสอนลูกให้เข้าใจถึงประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีที่มีมากกว่าการเล่นน้ำสาดกัน จึงได้รวมรวมเอาข้อมูลคร่าว ๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคน ไม่ใช่เท่านั้นนะคะ ยังมีข่าวดีจากคณะที่ประชุมครม. เกี่ยวกับการใช้ทางด่วนมาฝากกันด้วยค่ะ
ข่าวดีสำหรับพี่น้องชาวไทยทุกคน เมื่อ พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้เตรียมมาตรการความปลอดภัยรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย.-18เม.ย. 61 เป็นเวลา 8 วัน เพื่อลดอุบัติเหตุของประชาชน
โดยในปี 61 คาดการณ์ว่าจะมีประชาชาชนเดินทางรวม 15,172,654 ล้านคน โดยเห็นชอบยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางดังนี้
- มอเตอร์เวย์ สาย 7 (กรุงเทพ-พัทยา)
- มอเตอร์เวย์ สาย 9 (บางปะอิน-บางพลี)
- ค่าผ่านทางพิเศษ บูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี)
โดยจะเริ่มตั้งเวลา 00.01 น.ของวันที่ 11 เมษายน ไปจนถึง 24.00น.ของวันที่ 18 เม.ย.61 ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังได้กำชับในที่ประชุมให้เปรียบเทียบปัญหาอุบัติตลอดทั้งปี และช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ แล้วนำมาปรับปรุงแนวทางดูแล
นอกจากนี้กระทรวงคมนาคม ยังขอความร่วมมือให้ผู้บริการรถไฟฟ้าในวันที่ 13 เม.ย.61 ยกเว้นค่าโดยสารให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เดินทางด้วยรถไฟฟ้าของ รฟม. สายสีน้ำเงิน เส้นทางบางซื่อ-หัวลำโพง และ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่), และยกเว้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้ง รวมถึง ยกเว้นค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงวัย ได้มีโอกาสออกมาเที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ได้มากขึ้น
ทำความรู้จักกับประวัติวันสงกรานต์
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ-กรานต” มีความหมายว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือย้ายขึ้น โดยมีนัยความหมายว่า การเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ โดยเทศกาลสงกรานต์ นั้นเป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่และคนไทยสืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับประเพณีตรุษจีนกันเลยทีเดียว จึงได้มีการรวมเรียกกันว่า “ประเพณีตรุษสงกรานต์” ซึ่งแปลว่าการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่นั่นเองค่ะ
สำหรับ วันมหาสงกรานต์ นั้น ในสมัยโบราณ คนไทยถือว่า วันขึ้น 1 ต่ำ เดือนอ้าย ซึ่งจะตรงในช่วงเดือน พฤศจิกายนหรือธันวาคม ให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ จนต่อมาในสมัยยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นวันสากล คือ วันที่ 1 มกราคม แต่ถึงอย่างไร คนโบราณก็ยังคงคุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยร่วมด้วย
กิจกรรมที่นิยมทำ
- การทำบุญตักบาตร ในวันมหาสงกรานต์นั้น ประชาชนส่วนใหญ่จะลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อที่จะจัดเตรียมอาหาร ไปตักบาตร ถวายพระ พอจัดเตรียมอาหารเสร็จก็จะ บรรจงลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามที่สวยงาม แล้วเอาวางเรียงลงในถาด เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน โดยแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงามมิดชิดเหมาะแก่การไปวัดของชาวบ้าน
- ก่อพระเจดีย์ทราย การก่อพระเจดีย์ทรายนั้นเป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำเพราะตอน เย็น ๆ ชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำแล้วขนทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อ เป็นพระเจดีย์นั่นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านมีความสามัคคีกันนั่นเอง
- สรงน้ำ รดน้ำ และเล่นน้ำ การสรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปี ใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำ มาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ
- การรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี เป็นต้น
ขอบคุณที่มา: Thaiquote และ MThai
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- ปลูกฝังและ สอนลูกทำทาน เพื่ออนาคตที่ดีในวันข้างหน้า
- 9 วิธีสอนลูกเรื่อง ความซื่อสัตย์ ช่วยลูกปลอดภัยจากกิเลส
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่