แทรมโพลีน เป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ที่มีผืนผ้าใบขึงตึง ยึดด้วยเหล็ก และสปริง เป็นเหมือนเครื่องเล่น และเครื่องออกกำลังกาย วัสดุที่ใช้สามารถยึดหยุ่นได้ พลัง และกำลังในการเด้งมาจากสปริงที่ยึดติดกับเฟรมเหล็ก ใช้สำหรับกระโดด เพิ่มทักษะ และเสริมพัฒนาการเด็ก
แทรมโพลีน เครื่องเล่นมรณะ
เมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์เตือนเกี่ยวกับอันตรายของแทรมโพลีนที่มาพร้อมกับความสนุก เมื่อมีเด็กน้อยเล่นแทรมโพลีน แล้วประสบอุบัติเหตุนี้ขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “แทรมโพลีนมรณะ ยิ่งโดด ยิ่งสนุก ยิ่งสูง ยิ่งตาย” คลิกหน้า 2
ในประเทศไทยยังไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับรายงานการบาดเจ็บ แต่ในเว็บไซต์การแพทย์ของต่างประเทศ มีรายงานว่า พบผู้บาดเจ็บที่สูงมาก โดยเฉพาะในเด็กเล็กซึ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และสูงขึ้นถึง 5 เท่า อาจเป็นเพราะแรงสปริงที่มากขึ้น ทำให้มีแรงกระโดดได้สูงมากขึ้น
อันตรายมีตั้งแต่แบบเบาๆ คือเคล็ดขัดยอก ไปจนถึง กระดูกหัก กระดูกพลิก และขั้นรุนแรง เช่น อัมพาตครึ่งท่อนล่าง และอัมพาตทั้งตัว บางรายถึงขึ้นเสียชีวิต ในต่างประเทศจึงมีการเตือนให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
แทรมโพลีนนี้ สามารถส่งให้ผู้ใหญ่ลอยขึ้นไปในอากาศได้สูงถึง 9 เมตร เท่ากับคน 5 คนต่อตัวกันขึ้นไป หรือมีความสูงประมาณตึก 3 ชั้นครึ่ง จึงเป็นอันตรายทั้งกับเด็ก และผู้ใหญ่
ชมคลิปเหตุการณ์ เมื่อผู้ใหญ่เล่นแทรมโพลีน
ที่อเมริกา มีการรายงานจากแพทย์ และตีพิมพ์ รายงานในที่ประชุมวิชาการ ให้สื่อมวลชนรับรู้ และให้ประชาชนทราบ รวมถึงมีรัฐบาลเข้ามาดูแล จึงทำให้ตัวเล็กผู้บาดเจ็บจากแทรมโพลีนลดลง แต่ก็ยังอยู่ในจำนวนมาก
อ่านต่อ “แทรมโพลีนมรณะ ยิ่งโดด ยิ่งสนุก ยิ่งสูง ยิ่งตาย” คลิกหน้า 3
อัตราการบาดเจ็บจากแทรมโพลีน มีความเสี่ยงสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยิมนาสติก อาจเป็นเพราะยิมนาสติก เป็นกีฬาที่มีผู้ฝึกสอน คอยเฝ้า คอยป้องกันอันตราย สอนการเล่นอย่างถูกวิธี สิ่งไหนทำได้ หรือทำไม่ได้ แต่แทรมโพลีน เพียงจ่ายเงินซื้อก็สามารถเล่นได้แล้ว จึงมีความเสี่ยงมากกว่า ยิ่งในสถานที่ที่มีเด็กมากๆ อาจจะกระโดดทับกันเองได้ง่าย
- เล่นได้ครั้งละ 1 คน โดยเล่นได้ไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้น
- ห้ามคุณแม่ตั้งครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ และผู้ดื่มสุรามึนเมาเล่นโดยเด็ดขาด
- ต้องใส่ที่กันบาดเจ็บจากสปริงทุกครั้งที่เล่น
- คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองต้องเฝ้าดูลูกน้อยเล่นตลอดเวลา
- ห้ามเล่นผาดโผน โดยเฉพาะกลับหัว ตีลังกา พลิกหน้า พลิกหลัง
- ห้ามเล่นกับตาข่าย เช่น กระโดดลงมาจากตาข่าย กระโดดไปเกาะตาข่าย หรือปีนตาข่ายเล่น
- ห้ามพกของมีคม โทรศัพท์ กุญแจ ติดตัวโดยเด็ดขาด หรือนำสิ่งของออกจากกระเป๋าให้หมด
- ห้ามใช้ศีรษะลง หรือใช้เท้าลงข้างเดียว ห้ามนอนบนเครื่องเล่น ห้ามวิ่งเล่น
อ่านต่อ “แทรมโพลีนมรณะ ยิ่งโดด ยิ่งสนุก ยิ่งสูง ยิ่งตาย” คลิกหน้า 4
นอกจากนี้ยังพบว่า แทรมโพลีนสาธารณะ ตามสวนสนุก งานวัด เสี่ยงอันตรายกว่าที่มีอยู่ตามบ้านส่วนตัว อาจเป็นเพราะขนาดที่ใหญ่กว่า สปริงมีแรงดีดที่มากกว่า จำนวนคนที่เข้าไปเล่นพร้อมๆ กันมากกว่า จึงทำให้บาดเจ็บได้ง่าย ที่พบบ่อยที่สุดคือแขนหัก ขาหัก รองลงมาคือศีรษะ และลำตัว รวมไปถึงกระดูกสันหลังช่วงลำตัวที่อาจทำให้เป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่างได้ ดังนั้น ก่อนซื้อแทรมโพลีนให้ลูกน้อยเล่นเป็นของขวัญ คุณพ่อ คุณแม่ต้องคิดให้ดีก่อน เพราะแทรมโพลีนมีทั้งประโยชน์ และโทษ ถ้าเล่นไม่ดี
จากฐานข้อมูลการแพทย์สากล ยังไม่พบการค้นคว้าที่ยืนยันว่าแทรมโพลีนทำให้สูงขึ้น มีเพียงว่าเป็นการออกกำลังกาย ช่วยรักษาสมดุลให้ร่างกาย แต่ไม่ได้ให้เล่นผาดโผน ให้ใช้ประกอบกิจกรรมเพิ่มทักษะ การทรงตัว ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ
ส่วนใหญ่ที่เห็นว่าช่วยเพิ่มความสูงนั้น มักมาจากการโฆษณาว่าช่วยเพิ่มความสูงเหมือนเล่นบาสเก็ตบอล ซึ่งมีรายงานทางการแพทย์บางแห่งออกมาเปิดเผยว่า ไม่จริง สาเหตุที่นักกีฬาสูงนั้น เพราะสูงอยู่ก่อนที่จะมาเล่นบาสเก็ตบอลเท่านั้น
สิ่งที่ฐานข้อมูลค้นพบแน่ๆ คือ อันตราย และการบาดเจ็บจากเครื่องเล่นนี้ ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในเด็ก ซึ่งในต่างประเทศมีการสั่งห้ามเล่นโดยเด็ดขาด จนกระทั่งมีการร่างกฎหมายควบคุมการขายไปใช้เล่นที่บ้าน
เครดิต: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, Methee Wong, PubMed, ScienceDirect
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ลด 3 ภัยฮิตเครื่องเล่นสนาม!
เล่นบ้านลมไม่ระวัง ด.ช.พลัดตกพื้นอาการสาหัส
อันตราย !! จากการ อุ้ม เขย่าทารก “Shaken baby syndrome”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save
Save
Save
Save
Save
Save
Save