คุณพ่อ คุณแม่คงจะรู้จักกันดีกับ แมลงก้นกระดก หรือ ด้วงก้นกระดก ซึ่งมีพิษร้ายแรง เพราะเมื่อลูกน้อยถูกกัด หรือปล่อนสารพิษเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบอย่างรุนแรง แมลงชนิดนี้มักจะพบบ่อยในที่ที่มีอากาศชื้น โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว ที่มีการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมาก
ด้วงก้นกระดก
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559 พบเด็กชายวัย 11 ขวบ ถูกพิษจากด้วงก้นกระดกที่บริเวณอัณฑะ ทำให้เกิดแผลพุพอง บวม และทำให้ปัสสาวะไม่ออก ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวัง และติดตามดูสถานการณ์
ผู้ปกครองของน้องเล่าว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ลูกชายกลับมาจากโรงเรียน แล้วบอกว่าปวดแสบ ปวดร้อนที่บริเวณอวัยวะเพศ เมื่อเปิดดูก็พบว่ามีผื่นแดง และตุ่มน้ำ ซึ่งต่อมาก็เป็นแผลพุพอง บวม ทำให้ปัสสาวะไม่ออก จึงพาส่งโรงพยาบาล
นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังการระบาดของด้วงก้นกระดกในจังหวัดชุมพรอย่างใกล้ชิด เพราะในช่วงปลายฝน ต้นหนาว ด้วงก้นกระดกจะมีจำนวนมาก โดยเฉพาะใน 5 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอปะทิว อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก และอำเภอหลังสวน ซึ่งมีชาวบ้านหลายคนถูกพิษจากด้วงก้นกระดก แต่ไม่รุนแรง มีเพียงแผลพุพอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า ด้วงก้นกระดกระบาดแล้วใน 5 อำเภอของชุมพร เพราะเกิดน้ำท่วม จึงคาดว่าน่าจะไปท่วมรังที่อยู่ใต้ดิน จึงขึ้นมาอาศัยตามต้นไม้ และตามบ้านเรือน จึงเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง
นางเดือนเพ็ญ เคี่ยนบุ้น สาธารณสุขอำเภอสวี กล่าวว่า ลักษณะของด้วงก้นจะมีขนาดเล็ก ประมาณ 7 มิลลิเมตร สีดำสลับน้ำตาล ซึ่งมีพิษเป็นกรดชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแล้ว จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และทำให้เกิดแผลพุพอง วิธีแก้พิษคือ ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด หรือล้างด้วยสบู่ ห้ามขยี้ หรือเกา เพราะจะทำให้พิษกระจายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ ด้วงก้นกระดกนั้น ชอบอาศัยอยู่ตามกองขยะ กองหญ้า และชอบเล่นแสงสีขาว เช่น ไฟนีออน จึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ดังกล่าว หรือสามารถใช้สเปรย์ป้องกันแมลงฉีดพ่นได้ แต่อย่าโดนตัวแมลง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิธีป้องกันด้วงก้นกระดก” คลิกหน้า 2
วิธีป้องกันด้วงก้นกระดก
1.ติดมุ้งลวด และกางมุ้ง เมื่อจะเข้านอน หมั่นทำความสะอาดที่นอน หมอน มุ้ง ปัดที่นอน ก่อนนอนทุกครั้ง
2.ปิดประตู หน้าต่างให้สนิทก่อนฟ้ามืด เพื่อป้องกันด้วงก้นกระดกบินตามแสงไฟเข้ามาในบ้าน
3.เปลี่ยนหลอดไฟให้เป็นสีเหลืองแทนสีขาว หรือใช้แสงไฟเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแสงสลัว
4.ถ้าพบแมลงชนิดนี้ชุกชุม ให้ตรวจหา และกำจัดแหล่งน้ำ เพราะเป็นที่เพาะพันธุ์ของด้วงก้นกระดก
5.เมื่อพบแมลงชนิดนี้เกาะร่างกาย ห้ามตี หรือขยี้ด้วยมือเปล่า ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษเขี่ยออกไป แล้วรีบล้างผิวหนังบริเวณนั้นด้วยสบู่อย่างเร็วที่สุด
6.ปลูกดอกไพรีทรัม แซมกับต้นไม้ในสวนและผักสวนครัว เพราะกลิ่นของดอกไม้ชนิดนี้ จะทำลายระบบประสาทของด้วงก้นกระดก ทำให้สลบ หรือตายในที่สุด
7.ฉีดสเปรย์กำจัดแมลงสูตรไร้สารเคมี บริเวณหลอดไฟ และพื้นรอบเตียง
8.ล่อแมลงไม่ให้บินเข้ามาในบ้าน ด้วยการติดไฟล่อไว้ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวบ้าน
9.กำจัดแหล่งที่อยู่ของแมลงก้นกระดก ด้วยการตัดหญ้ารอบบ้านให้สั้นอยู่เสมอ
10.กำจัดเศษอาหาร และเศษผัก ใส่ถุงดำ มัดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปทิ้งนอกบ้าน เพราะเศษอาหารเป็นแหล่งอาหารของด้วงก้นกระดก
1.เมื่อลูกน้อยถูกด้วงก้นกระดกกัด หรือปล่อยสารพิษ ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด และสบู่หลายๆ ครั้ง แล้วประคบเย็น
2.ทาด้วยยาสเตียรอยด์ โดยปรึกษากับเภสัชกรที่ร้านขายยาก่อนซื้อ ถ้าอาการรุนแรงควรรีบพบแพทย์
3.รับประทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือยาปฏิชีวนะ ถ้ามีการติดเชื้อ เช่น มีน้ำเหลือง ตามคำสั่งแพทย์
4.รับประทานยาแก้แพ้ แก้คัน เพื่อลดอาการคัน วันละ 1 – 2 ครั้ง ควรปรึกษาเภสัชก่อนเสมอ
5.ถ้ามีแผลกว้างมาก เจ็บ แสบมาก อักเสบ เป็นหนอง มีไข้ หรือถูกกัดบริเวณตา ให้รีบพบแพทย์
เครดิต: ไทยรัฐ, มติชน, ThaiNews, สถานเสาวภา สภากาชาดไทย, กระปุก, หาหมอดอทคอม
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
อันตรายจาก ‘แมลงก้นกระดก’ และวิธีป้องกัน
สัตว์ร้ายในผัก อาหารที่ซื้อให้ลูก พ่อแม่ควรระวัง!
12 วิธีกำจัดแมลง และสัตว์ร้ายใกล้ลูกน้อย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save