AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เอกสารทำใบขับขี่รถยนต์ ต้องใช้อะไรบ้าง?

จะทำใบขับขี่ หรือจะต่ออายุ รู้หรือยังว่า เอกสารทำใบขับขี่รถยนต์ เขาใช้อะไรกันบ้าง ล่าสุดมีเปลี่ยนอีกแล้วด้วยนะ!

 

 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหน ที่กำลังคิดจะไปทำใบขับขี่ หรือจะไปต่ออายุใบขับขี่ ทราบกันหรือยังคะว่า เอกสารที่เขาใช้นั้นมีอะไรบ้าง ล่าสุดมีเปลียนแปลงอะไรบ้างแล้วหรือยัง วันนี้เราจะไปหาคำตอบนี้พร้อม ๆ กันค่ะ

แต่ก่อนที่เราจะไปดูกันนั้น ในความคิดของคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ อาจจะคิดว่า การต่อใบขับขี่เป็นเรื่องยุ่งยากต้องตื่นแต่เช้าไปจองคิว วัน ๆ เสียเวลาไปหลายชั่วโมง ขั้นตอนการทำใบขับขี่ที่ง่ายที่สุดเห็นทีก็จะมีแค่การหาใบรับรองแพทย์เท่านั้น 100 – 150 บาท ก็สามารถไปทำได้แล้ว

หากคุณแม่คิดเช่นนั้นละก็ … บอกเลยค่ะว่า มันไม่อัพเดท!! เพราะตอนนี้ กรมการขนส่งทางบก  เขามีอะไรปรับเปลี่ยนเยอะแยะแล้วจริง ๆ

อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

 

หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของการทำใบขับขี่นั้น คงหนีไม่พ้นขั้นตอนการจัดเตรียมเอกสาร ที่มักจะทำให้คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านหัวหมุน และรู้สึกเบื่อหน่าย … แต่สำหรับท่านไหนที่ยังไม่รู้วันนี้เราจะไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะว่า เขาใช้เอกสารอะไรกันบ้าง

เอกสารทำใบขับขี่รถยนต์

– บัตรประชาชนตัวจริง
– สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
– ใบรับรองแพทย์ (อายุไม่เกิน 1 เดือน)
– ใบรับรองการอบรม (กรณีผู้ทำการอบรมนอกกรมขนส่ง)

ซึ่งใบรับรองแพทย์นั้น สมัยก่อนแค่จ่ายไม่กี่ร้อยก็ได้มาครอบครองกันแล้ว แต่ล่าสุดไม่ใช่แล้วนะคะ!! โดยกรมการขนส่งทางบก ได้ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. เป็นต้นไป การยื่นคำขอรับใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ตามแบบที่ แพทยสภารับรอง (2551) เท่านั้น ซึ่งผู้ขอรับใบรับรองแพทย์ต้องรับรองประวัติตนเอง การผ่าตัดโรคประจำตัวที่สำคัญ และลงลายมือชื่อในใบรับรองแพทย์ ยืนยันความถูกต้อง เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

โดยนายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ผู้ ขอรับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ประกอบการยื่นคำขอดำเนินการเพื่อแสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ โดยต้องเป็นใบรับรองแพทย์ ตามแบบมาตรฐานที่แพทยสภารับรอง(2551) ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้การตรวจสอบลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตขับรถ และใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

อ่านต่อ >>ขั้นตอนการทำใบขับขี่


เครดิต: ข่าวสดออนไลน์

 

เครดิต: Workpoint News

ขั้นตอนการทำใบขับขี่รถยนต์

ขั้นตอนแรก: จองคิวอบรม สามารถทำได้ 3 ช่องทางดังนี้

  1. จองด้วยตัวเองที่กรมการขนส่งทางบก
  2. จองผ่านทางโทรศัพท์ โดยติดต่อไปยังหมายเลขดังต่อไปนี้
    • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (ฝั่งตรงข้ามตลาดนัดจตุจักร) หมายเลข 0-2271-8888 ต่อ 4201-4 หรือสอบถาม  1584
    • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล) หมายเลข ติดต่อหมายเลข 0-2415-7337 ต่อ 204-205
    • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (ถนนสวนผัก ตลิ่งชัน) หมายเลข 0-2433-4773
    • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (ถนนสุขุมวิท ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1) หมายเลข 0-2333-0035
    • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (ถนนสุวินทวงศ์ หนองจอก) หมายเลข 0-2543-5512
  3. จองผ่านระบบออนไลน์ที่ dlt.go.th

ขั้นตอนที่สอง: ยื่นเอกสาร

ขั้นตอนที่สาม: ทดสอบสมรรถนะทางด้านร่างกาย ได้แก่

อ่านต่อ >>ขั้นตอนการทำใบขับขี่

 

 

ขั้นตอนที่สี่: การสอบข้อเขียน

การสอบข้อเขียนนั้น เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก จะมอบหนังสือรวมป้ายจราจร และกฎจราจรเบื้องต้นให้อ่าน ก่อนทำการสอบ บางที่จะเป็นบอร์ดให้ยืนอ่านกัน ซึ่งในข้อสอบจะสุ่มป้ายจราจรและกฎจราจรที่เราอ่านมาเป็นข้อสอบ จำนวน 50 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัย มีให้เลือก ก-ง จะผ่านเกณฑ์การสอบที่ 45 คะแนน หรือคิดเป็น 90% ของข้อสอบทั้งหมด

ขั้นตอนที่ห้า: เข้ารับการอบรม

หากสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ขั้นตอนทั้งหมดจะถูกหยุดลงและให้กลับมาสอบใหม่วันหลัง กำหนดเวลาไว้ไม่เกิน 90 วัน หากเรามีใบรับรองการอบรมมา จะผ่านเข้าไปสู่การสอบภาคปฏิบัติได้เลย หากไม่มีก็ต้องเริ่มอบรมใช้เวลาทั้งสิ้น 5 ชั่วโมง

ขั้นตอนที่หก: สอบปฏิบัติ

ขั้นตอนนี้มีทั้งสิ้น 3 ด่านด้วยกันนั่นคือ ขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง ขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า  และขับรถถอยเข้าซอง

ขั้นตอนสุดท้าย: ชำระค่าธรรมเนียมและถ่ายรูปติดบัตร

โดยมีค่าคำขอ 5 บาท ค่าใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 200 บาท และค่าซองใส่ใบขับขี่ 100 บาท (แจ้งไม่รับก็ได้) รวมทั้งสิ้น 305 บาท

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ไม่ยากวุ่นวายและซับซ้อนอย่างที่คิดเลยใช่ไหมละคะ ดังนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการนำร่องไปสู่ขั้นตอนต่าง ๆ นั้นก็คือ การจัดเตรียมเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วนนั่นเองค่ะ

เครดิต: Kapook

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids