หลังจากมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด แพทย์! ได้ออกมาตรการ ป้องกันไข้หวัดใหญ่ บนรถสาธารณะ แล้ว!
นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน มีการพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่กันอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ทั้งในพนักงานและผู้โดยสาร โดยจัดชุดรณรงค์เพื่อป้องกันโรครวมกว่า 50,000 ชิ้นด้วยกัน
โดย นายแพทยสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมผู้บริหารจากกรมควบคุมโรค มอบชุดรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในยานพาหนะสาธารณะแก่กระทรวงคมนาคม โดยมี นายวิทยา ยาม่วง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ กระทรวงคมนาคม เป็นผู้แทนรับมอบ พร้อมนำคณะเยี่ยมชมรถโดยสารประจำทาง และมอบหน้ากากป้องกันโรคให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการยานพาหนะสาธารณะ ณ ป้ายรถโดยสารประจำทาง บริเวณด้านหน้ากระทรวงคมนาคม
อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติม >>
จากรายงานการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคปี 2560 ได้พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 199,391 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 304.75 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 55 ราย ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ
ส่วน 5 จังหวัดแรกที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ ระยอง จันทบุรี เชียงใหม่ และหนองคาย สำหรับในปี 2561 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ม.ค. 61 พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่แล้ว 2,619 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งในประเทศไทย มักมีผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 และคาดว่าจะมีผู้ป่วยสูงอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 นี้
นายแพทย์สุวรรณชัย ได้กล่าวต่อไปว่า ในกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการมอบชุดรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในยานพาหนะสาธารณะ โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงคมนาคม ซึ่งการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในยานพาหนะสาธารณะ นั้น มีความสำคัญมากเนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะถือเป็นสถานที่รวมตัวคนหมู่มาก
สำหรับการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคในยานพาหนะสาธารณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงคมนาคมพิจารณาดำเนินการใน 2 ส่วนสำคัญ
อ่านต่อ >> มาตรการการป้องกันโรค ได้ที่หน้าถัดไป
3 ขั้นตอนสำคัญที่ควรเร่งดำเนินการ
1. ขอให้หมั่นทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ราวจับ เบาะที่นั่ง โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป กรณีรถที่จอดเพื่อทำความสะอาดในอู่รถโดยสารประจำทางควรเปิดประตูหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
2. ตั้งจุดบริการหน้ากากป้องกันโรค และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ สำหรับผู้โดยสารที่ใช้บริการ โดยจัดวางไว้ในจุดที่หยิบใช้ได้สะดวก
3. แจกแผ่นพับ ติดสติ๊กเกอร์เพื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ผู้ใช้บริการทราบ
ทั้งนี้ในส่วนบุคลากรที่ทำงานนั้น หากพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ควรให้หยุดงานจนกว่าจะหาย กรณีเจ็บป่วยเล็กน้อยก็สามารถมาทำงานได้ แต่ควรสวมใส่หน้ากากป้องกันโรคและล้างมือบ่อย ๆ ด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้มอบ “ชุดรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในยานพาหนะสาธารณะ” ซึ่งประกอบด้วย หน้ากากป้องกันโรค จำนวน 50,000 ชิ้น เจลล้างมือขนาด 450 มิลลิลิตรจำนวน 2,000 ขวด และสื่อประชาสัมพันธ์แผ่นพับสติ๊กเกอร์ จำนวน 2,000 แผ่นอีกด้วย
และในโอกาสนี้ก็ได้แนะนำให้ประชาชนใช้ 4 มาตรการ ป้องกันโรคอันได้แก่
- ปิด คือการปิดปาก ปิดจมูก ทุกครั้งที่ไอหรือจาม
- ล้างมือบ่อย ๆ เมื่อสัมผัสกับสิ่งของที่ไม่ใช่ของตัวเอง หรือของผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าว
- เลี่ยง หมายถึงการหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- หยุด หมายถึง เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดทำงาน และหยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด
ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 นะคะ
อ่านต่อเนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ:
- ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ a กับ b ต่างกันอย่างไร ?
- รู้ไหมว่า ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ ต่างกันอย่างไร?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่