AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

7 ทักษะฝึกลูกก่อนถึง เกณฑ์อายุเข้าอนุบาล 3 ขวบ

สพฐ. ประกาศหลักเกณฑ์ใหม่ ปีการศึกษา 2560 กับ เกณฑ์อายุเข้าอนุบาล และวิธีการนับอายุเด็ก พร้อมแนวทางปฏิบัติในการรับเด็กเข้าเรียนชั้นอนุบาล ที่เริ่มตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ตามรัฐธรรมนูญ

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกมาแถลงภายหลังการประชุมองค์กรหลัก ศธ. ว่า ตามมาตรา 54 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีการวางกรอบการดำเนินงานเรื่องของเด็กปฐมวัย

สพฐ. ประกาศ เกณฑ์อายุเข้าอนุบาล ปี’60 เริ่มที่ 3 ขวบ

โดยก่อนหน้านี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็ก เพื่อเข้ารับการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพฐ. รวมถึงแนวปฏิบัติในการรับเด็กเข้าศึกษา ปีการศึกษา 2560

สาระสำคัญของประกาศฯ ฉบับนี้

คือ ให้รับเด็กที่มีอายุไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ เข้าศึกษาในชั้นอนุบาล 1 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สพฐ. ส่วนการนับอายุเด็กเพื่อเข้าเรียน ให้นับตั้งแต่วันที่เด็กเกิดไปจนถึงวันเปิดภาคเรียนที่ 1 คือ วันที่ 16 พ.ค. 2560 ตามระเบียบ ศธ. ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2559

(ต้องเกิดวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไปจึงจะมีอายุต้องครบ 3 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2560)

แนวปฏิบัติการรับเด็กอนุบาลเข้ารับการศึกษา ปีการศึกษา 2560

ซึ่ง ดร.กมล ได้กล่าวถึงแนวปฏิบัติการรับเด็กอนุบาลเข้ารับการศึกษา ในปีการศึกษา 2560 แบ่งเป็น 3 แนวทาง ดังนี้

1. สถานศึกษาที่เคยรับเด็กอนุบาลอายุ 3 ปีบริบูรณ์อยู่แล้วก่อนปีการศึกษา 2560 ให้สามารถเปิดรับเด็กอายุ 3 ปีบริบูรณ์ต่อไปได้ ไม่เกินจำนวนห้องที่รับอยู่เดิม

2. สถานศึกษาที่ไม่เคยเปิดรับเด็กอายุ 3 ปีบริบูรณ์มาก่อน หากในเขตพื้นที่บริการไม่มีสถานศึกษา หรือศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดอื่นเปิดรับเด็ก ให้สามารถรับเด็กอายุ 3 ปีบริบูรณ์ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่บริการได้ตามความพร้อมของสถานศึกษา

3. พื้นที่ใดในเขตบริการของที่มีสถานศึกษาหรือศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดอื่น (นอกเขต) ที่จัดการศึกษาอนุบาลอายุ 3 ปีบริบูรณ์อยู่แล้ว แต่มีจำนวนเด็กเกินขีดความสามารถในการรับของสถานศึกษานั้นๆ ให้สถานศึกษาเปิดรับเด็กได้ตามความพร้อมของสถานศึกษา

ส่วนเด็กที่มีอายุไม่น้อยกว่า 4 ปีบริบูรณ์ และ 5 ปีบริบูรณ์ เข้ารับการศึกษาในชั้นอนุบาล 2 และชั้นอนุบาล 3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ให้อำนาจคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ เป็นผู้ให้ความเห็นชอบดำเนินการอย่างเหมาะสมซึ่งจากประกาศนี้ ก็มีประกาศของ สพฐ.ฉบับเดิม ได้มีการกำหนดเรื่องการรับเด็กเข้าเรียนก่อนระดับประถมศึกษาให้รับเด็กที่อายุไม่น้อยกว่า 4 ขวบ ทำให้ปกตินักเรียนอายุ 3 ขวบจะเข้าเรียนในระดับเตรียมอนุบาล (ปฐมวัย) กันก่อน 1 ปี

และจากเกณฑ์อายุที่ถูกกำหนดขึ้นนี้เอง ก็ได้มีคำถามจากคุณพ่อคุณแม่หลายคนว่า ควรส่งลูกไปโรงเรียนเมื่อไหร่?  ก่อนเรียนอนุบาล  ควรให้ลูกเรียนเตรียมอนุบาลก่อนไหม?  มาฟังคำตอบกันค่ะ

อ่านต่อ >> ลูกควรไปโรงเรียนตอนอายุเท่าไหร่? หน้า 2

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.manager.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

พ่อแม่ควรส่งลูกเข้าโรงเรียนอายุเท่าไหร่กันแน่!

โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ได้ให้คำตอบเรื่องนี้ไว้อย่างตรงไปตรงมาและไม่เกรงใจกระแสสังคมคือ อย่างเร็วที่สุดก็ 6 ขวบ และแท้จริงแล้วควรมีข้อห้ามห้ามส่งลูกไปจากเรา (พ่อแม่) ก่อนอายุ 3 ขวบเสียด้วยซ้ำ

แต่ก็คงเป็นที่เข้าใจได้ว่า คุณพ่อคุณแม่คงต้านกระแสสังคมได้ยาก เพราะปัจจุบันนี้มีคุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ส่งลูกไปสถานรับเลี้ยงเด็กเร็วมาก หรือส่งลูกไปโรงเรียนอนุบาลเร็วมาก อีกทั้งได้มีเรื่องของการพาไปกวดวิชาเพื่อเข้าเรียนชั้นอนุบาลและการสร้างห้องอัจฉริยะสำหรับเด็กอนุบาล

จะเป็นอย่างไรก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการของเด็กเล็กไว้บ้าง ก็จะสามารถผ่อนหนักเป็นเบา หรือช่วยทุเลาความเสียหายจากเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นได้บ้าง ซึ่งสำหรับเด็กที่ไม่ชอบวิชาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก เพราะการเป็นพ่อแม่คือต้องให้เวลากับลูกมากที่สุด  เล่นกับเขามากที่สุด  และอ่านหนังสือให้เขาฟังก่อนเข้านอนตั้งแต่แรกเกิด ทำเท่านี้ทุกอย่างจะดีเอง

♥ Must read : รู้มั้ย? คุณพ่อ คุณแม่ ครอบครองลูกน้อยได้กี่ปี?
♥ Must read :  365 วัน เตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนเข้าอนุบาล
♥ Must read : ควรเลือกโรงเรียนอนุบาลที่วันๆ เอาแต่เล่นกับเด็ก ทำไม?

เหตุผลที่ไม่ควรให้ลูกไปพ่อแม่ก่อน 3 ขวบ

ซึ่งเหตุผลที่คุณหมอไม่อยากให้ลูกต้องจากคุณพ่อคุณแม่ไปก่อนอายุ 3 ขวบ เพราะในช่วง 3 ขวบปีแรก เด็กมีภารกิจที่ต้องทำหลายข้อ โดยแต่ละข้อนั้นต้องอาศัยคุณแม่หรือคุณพ่อหรือปกครองซึ่งอุทิศตนทำหน้าที่ช่วยเหลือเด็ก เพราะภารกิจเหล่านี้เขายังทำเองไม่ได้และคุณครูที่โรงเรียนก็ช่วยไม่ได้ด้วยเช่นกัน โดยมี 3 ภารกิจหลัก ดังต่อไปนี้

3 ภารกิจเหล่านั้นคืออะไร?

ภารกิจที่ 1 คือเรียนรู้ที่จะไว้ใจสิ่งแวดล้อมและโลก (Trust)

เด็กไว้ใจโลกจึงจะพัฒนาต่อไปได้ จากที่เอาแต่กินนมไปจนกระทั่งเดินจากแม่สู่โลกกว้าง โลกจะน่าไว้ใจต่อเมื่อโลกนั้นปลอดภัยอย่างยิ่งใน 12 เดือนแรกของชีวิต จึงเป็นหน้าที่ของแม่ที่จะเลี้ยง อุ้ม กอด ให้นม ห่มผ้า เปลี่ยนผ้าอ้อม เปิดพัดลม เปิดแอร์ หยิบมดออกจากตัวเขา ไล่แมลงและยุง ฯลฯ นี่คืองานของแม่หรือพ่อหรือใครหนึ่งคนที่รักเขาประหนึ่งลูกของตนเอง ไม่ใช่งานของครู

 

ภารกิจที่ 2 คือเรียนรู้ว่าแม่มีอยู่จริง พร้อมสร้างสายสัมพันธ์กับแม่ และสร้างตัวตน ตามลำดับ

การปรากฏตัวของคุณแม่เกือบตลอดเวลา  การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการหายตัวไปเป็นบางครั้งเพราะในชีวิตจริงแม่ก็ไม่สามารถอยู่กับลูกได้ตลอดเวลา  ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้ลูกรับรู้ว่าโลกนี้มีแม่แน่ๆ  ต่อให้หายตัวไปบ้างเดี๋ยวก็กลับมา ก็ช่วยให้ลูกรับรู้ว่าเขาสามารถเดินเตาะแตะไปจากแม่ได้ อย่ากลัวว่าแม่จะหายไป  หันมาดูเมื่อไรแม่ก็อยู่ตรงนั้นแหละ

♥ Must read : ลูกเข้าสู่ วัยทอง 2 ขวบ งอแงไร้เหตุผล เพราะอะไรต้องดู!

และครั้นเมื่อลูกใกล้อายุ 3 ขวบ เขาจะเป็นคนขึ้นมาจริงๆ เสียที เป็นมนุษย์ที่มีตัวตนของตนเองและเริ่มต้นที่จะเป็นอิสระจากคุณแม่ ซึ่งระหว่าง 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบนั้นเองจะเกิดกระบวนการที่สำคัญมากที่สุดครั้งหนึ่งของชีวิตมนุษย์นั่นคือกระบวนการแยกตัวเป็นบุคคลอิสระ (separation-individuation) และพร้อมจะไปจากคุณแม่ นั่นเอง

♦ ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เรื่องสำคัญที่สุดน่าจะเป็นสายสัมพันธ์ สายสัมพันธ์คือสายใยที่มองไม่เห็นโยงลูกไว้กับแม่  สายใยนี้ทอดไปได้ไกลแสนไกล และอยู่เหนือกาลเวลา นั่นแปลว่าถึงเวลาเขาไปโรงเรียน ไปหอพัก ไปเรียนต่างประเทศ  สายใยนี้ยังคงยึดโยงลูกไว้กับแม่ แม้ว่าแม่ตายแล้ว สายใยนี้ก็ยังยึดโยงลูกไว้กับแม่ พูดสั้นๆ คือ แม่อยู่ในใจเสมอ ♦

สายสัมพันธ์ทำหน้าที่ดึงลูกมิให้ออกนอกลู่นอกทาง และทำหน้าที่ประหนึ่งสมอเรือที่คอยยึดโยงเรือมิให้ล่มยามพบพายุร้าย แต่ที่น่าห่วง คือ การสร้างสายใยนี้ หากยังไม่ทันเสร็จก็ส่งลูกไปโรงเรียนคล้ายๆ ส่งเรือกระดาษออกทะเลไปนั่นเอง และบัดนี้เมื่อลูก 3 ขวบแล้วก็จริง แต่ก็ควรถ่วงเวลาไว้อีกอย่างน้อย 2 ปีก็ดี ด้วยเหตุเพราะเขายังต้องการเวลาทำภารกิจที่ 3

♥ Must read : 5 ขั้นตอนฝึกสมอง ให้ลูกพร้อมแยกจากแม่เมื่อไปโรงเรียนวันแรก

ภารกิจที่ 3 คือเตรียมความพร้อมของสมอง

หมายถึงเตรียมสมองและวิธีคิดขั้นพื้นฐานให้พร้อมก่อนที่จะไปโรงเรียน วิธีคิดเหล่านี้คือวิธีคิดแบบเด็กๆ  แต่วิธีคิดแบบเด็กๆ  มิใช่เรื่องเหลวไหลดังที่คนส่วนใหญ่ประมาทกัน  วิธีคิดแบบเด็กๆ  คือวิธีทำงานขั้นพื้นฐานของสมอง เปรียบเสมือนระบบปฏิบัติการที่ดีและจะเป็นแพล็ตฟอร์มสำหรับวิธีคิดระดับสูงในวันข้างหน้า โดยมี 4 วิธีสำคัญ ดังนี้…

อ่านต่อ “วิธีคิดแบบเด็กๆ ที่ลูกเราควรมี พร้อม 7 ทักษะง่ายที่พ่อแม่ควรสอนลูกก่อนเข้าโรงเรียน” คลิกหน้า 3

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีคิดแบบเด็กๆ  ที่สำคัญได้แก่

  1. animism คิดว่าอะไรเคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต ดังนั้นให้เขาเล่นตุ๊กตุ่นตุ๊กตาให้อิ่ม
  2. ego-centricism คิดว่าเรื่องราวรอบตัวล้วนเกี่ยวพันกับตัวเอง ดังนั้นเรายังต้องใช้เวลาช่วง 2-5 ขวบทำให้เขารู้ว่าเขามีบ้านและกติกาของบ้าน มีสังคมและกติกาของสังคมที่จะต้องเรียนรู้ เขามิใช่ศูนย์กลางของจักรวาลดังที่เข้าใจ
  3. magical thinking คิดเชิงเวทมนตร์ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่นี่คือวิธีคิดที่เปี่ยมล้นจินตนาการและไร้ขอบเขต เปรียบเสมือนทำสนามฟุตบอลกว้างไว้ก่อน อย่างอื่นว่ากันทีหลัง
  4. phenomenalistic causality คิดว่าเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดพร้อมกันเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน พูดง่ายๆ ว่าจับแพะชนแกะ ปล่อยเขาจับแพะชนแกะให้พอก่อนที่จะต้องไปพบเหตุและผลจริงๆ ที่โรงเรียน

และภารกิจทั้ง 3 ประการนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่ง 3 ขวบ  จะเกิดอย่างเข้มข้นตั้งแต่ลูกอายุ 6 เดือนจนถึง 2 ขวบครึ่ง  วิธีช่วยให้ลูกทำภารกิจ 3 ประการนี้สำเร็จก็ด้วยการที่พ่อหรือแม่ควรให้เวลาลูกอย่างมากที่สุด เล่นด้วยกันมากที่สุด และอ่านหนังสือนิทานก่อนนอนทุกคืน  ของง่ายๆ  นี่คืองานของแม่หรือพ่อหรือใครหนึ่งคนที่รักเขาประหนึ่งลูกของตนเอง ไม่ใช่งานของครู!!!

เรื่อง : นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

7 ทักษะที่ควรสอนให้เด็กเรียนรู้ก่อนเข้าโรงเรียน √

แลเมื่อทั้ง 3 ภารกิจ ดังที่กล่าวมาข้างต้นครบแล้ว ก่อนถึงวันแรกที่ลูกใส่ชุดนักเรียน Amarin Baby & Kids อยากจะชวนคุณแม่และลูก ๆ มาเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนกันหน่อย เพราะมีแค่อุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน เสื้อผ้าคงไม่พอ คุณแม่นั้นควรฝึกทักษะของลูกให้พร้อม ด้วย 7 ทักษะพื้นฐานง่ายๆ ดังนี้

♥ Must read : เช็กลิสต์และเตรียมของใช้ลูก ก่อนไปโรงเรียนอนุบาลวันแรก!
♥ Must read : สิ่งที่ต้องสอนลูกก่อนวัย 3 ขวบ เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าโรงเรียน

1. ฝึกจับดินสอ/เขียนชื่อตัวเอง

เด็ก ส่วนใหญ่จับดินสอผิดวิธี เพราะมักจะยึดเอาความสะดวกไว้ก่อน หากคุณแม่ไม่สอนวิธีจับดินสอที่ถูกวิธีให้กับลูก ลูกก็อาจจะติดนิสัย จับดินสอแบบผิด ๆ ไปจนโต ซึ่งคุณแม่ควรสอนวิธีจับที่ถูกวิธีให้กับลูกตั้งแต่ตอนนี้ โดยเริ่มจากใช้นิ้วกลางรองดินสอ และใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งบังคับทิศทาง ส่วนนิ้วนางกับนิ้วก้อยวางพักไว้บนโต๊ะ เห็นไหมล่ะว่าการจับดินสอแบบถูกวิธีนั้นไม่ยากเลย และยังได้ลายมือสวย ๆ เป็นของแถมอีกต่างหาก

♥ Must read : เทคนิคการฝึกสอนลูกวัยอนุบาลหัดเขียนชื่อตัวเอง

สำหรับการฝึกให้ลูกเขียนชื่อ คุณพ่อคุณแม่ ควรเขียนตัวอย่างชื่อเล่น ชื่อจริง และนามสกุล ให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง จากนั้นคุณแม่จับมือลูก ๆ แล้วลากเส้นตามตัวอักษร หรือจะทำชื่อเป็นเส้นประ แล้วให้ลูก ๆ ลากไปตามเส้นประก็ได้ ฝึกไปเรื่อย ๆ จนกว่าเขาจะเขียนคล่อง แล้วค่อยเปลี่ยนให้ลูกเขียนชื่อตัวเองบนกระดาษเปล่าดู ถ้าเขียนได้แล้ว แสดงว่าลูกของคุณพร้อมที่จะไปโรงเรียนได้แล้วค่ะ

2. การล้างมือ

เพราะการ ล้างมือเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะในชีวิตประจำวันคุณแม่ใช้มือจับสิ่งของต่าง ๆ มากมาย อาจมีเชื้อโรคติดมากับมือ ดังนั้นเพื่อช่วยป้องกันเชื้อโรคให้กับลูก ๆ ก็ควรสอนให้เขารู้จักวิธีล้างมือด้วย คุณแม่ควรสอนไปทีละขั้นตอน ทั้งวิธีฟอกสบู่ และวิธีล้างมือ เพื่อปลูกฝังสุขอนามันที่ดีให้กับลูก ๆ ของคุณ

♥ Must read : ฝึก “วินัย” ลูก ให้ความสามารถนำทางชีวิตด้วยตัวเอง
♥ Must read : 6 เทคนิคง่ายๆ ฝึกลูกนั่งกระโถน ก่อนวัย 1 ขวบ

3. การแต่งตัว

ใน เช้าที่เร่งรีบคุณแม่ทั้งหลายคงหัวปั่นกันน่าดู ถ้าไม่สอนให้ลูก ๆ ใส่เสื้อด้วยตัวเอง อาจจะเริ่มจากวิธีการสวมเสื้อยืดธรรมดาก่อน วิธีนี้จะช่วยให้เขาเรียนรู้การใส่เสื้อด้วยตัวเองได้ง่ายขึ้น และเมื่อลูก ๆ ใส่เสื้อยืดจนชำนาญ ก็เปลี่ยนจากเสื้อยืด เป็นเสื้อแบบที่มีกระดุม อย่างเช่น เสื้อเชิ๊ต หรือเสื้อโปโล เป็นต้น

♥ Must read : ฝึกลูกน้อยวัยขวบเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูป
♥ Must read : ฝึกลูก  เลิกขวดนม ง่ายๆ ภายใน 1 ขวบ!! ป้องกันฟันผุ

4. การกินข้าว

หลาย ๆ โรงเรียนนิยมใช้จานหลุมมากกว่าจานธรรมดา เพราะสามารถใส่ทั้งอาหารคาว อาหารหวานได้ในถาดเดียว ดังนั้นคุณแม่ทั้งหลายก็ควรฝึกให้ลูก ๆ เคยชินกับการกินข้าวแบบจานหลุมด้วย

5. การเปิดปิดสิ่งของ

ควรสอนให้ลูกรู้จักวิธีเปิดปิดสิ่งของ ทั้งอาหารและสิ่งของ โดยเริ่มจากของง่าย ๆ อย่างเช่น วิธีเปิดกล่องสี วิธีเปิดฝาขวดนม วิธีแกะถุงขนม หรือวิธีแกะเปลือกลูกอม เพื่อให้เขาสามารถช่วยตัวเองได้ ในช่วงเวลาที่ไปโรงเรียน

6. การวาดรูป/ระบายสี

เริ่มสอนจากการลากเส้นง่าย ๆ ก่อน เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง และเส้นหยัก เมื่อลูกฝึกจนชินมือแล้ว ก็ต่อด้วยการวาดรูปทรงจากเส้นต่าง ๆ เช่น การใช้เส้นตรงวาดรูปสี่เหลี่ยม ใช้เส้นโค้งวาดรูปวงกลม เพื่อให้เขารู้จักการปะติดปะต่อเรื่องราวต่าง ๆ และถ้าอยากจะเพิ่มระดับให้ยากขึ้น ก็ฝึกให้ลูก ๆ วาดภาพบ้าน ภาพคน ภาพต้นไม้ก็ได้

ทั้งนี้การใช้สีสัน ต่าง ๆ นอกจากจะช่วยทำให้เด็ก ๆ จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีผลต่อความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย ดังนั้นคุณควรให้ลูกรู้จักกับการระบายสีตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่เขาจะเข้าโรงเรียนโดยเริ่มจากสีที่ใช้ง่าย ๆ อย่างเช่น ดินสอสี หรือสีเทียน และถ้าหากลูก ๆ ของคุณแม่ชอบการระบาย ก็อาจจะฝึกการใช้สีอื่น ๆ เช่น สีน้ำ หรือสีโปสเตอร์เพิ่มเติม

♥ Must read : รวมแบบฝึกหัดอนุบาล กว่า 60 แบบฝึก

7. การใช้กรรไกร

อาจ จะดูอันตรายเกินไปหน่อย ถ้าจะปล่อยให้ลูกใช้กรรไกรตั้งแต่ครั้งแรก ดังนั้นคุณแม่ควรฝึกการใช้คีมคีบของไปก่อน โดยเริ่มจากการคีบของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ช่วยคุณแม่คีบผักใส่หม้อต้มซุป หรือคีบของเล่นเล็ก ๆ เก็บใส่กล่องก็ได้ หลังจากที่ใช้คีมคีบของจนคล่องแล้ว ก็ให้ลูก ๆ ตัดของกับกรรไกรดูบ้าง ในช่วงแรกอาจจะให้ฝึกตัดซองขนมไปก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนมาตัดรูปทรงต่าง ๆ จากกระดาษก็ได้

สุดท้ายนี้ แท้จริงแล้ว ในทางปฏิบัติ ช่วง 4-5 ขวบเป็นเวลาที่เด็กจะได้ฝึกช่วยตนเองอย่างจริงจัง  กินข้าว แปรงฟัน แต่งตัว ฝึกทำงานบ้านส่วนที่เป็นเรื่องของตัวเอง เก็บที่นอน เทกระโถน เก็บจานของตนเอง ฝึกทำงานบ้านส่วนที่เป็นของสาธารณะ ช่วยกวาดบ้านถูบ้าน ล้างถ้วยล้างจาน ซักผ้าตากผ้า และฝึกทำตามกติกาสังคมนอกบ้าน รู้จักรอคอย รู้จักเข้าคิว รู้จักแบ่งปัน เรื่องเหล่านี้ที่จริงแล้วเราควรทำมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เขาใช้มือใช้เท้าได้ดี และเข้มข้นขึ้นทุกปีที่ผ่านไป  ผลลัพธ์สุดท้ายที่เราจะได้คือเขาภูมิใจที่ช่วยตนเองและควบคุมอารมณ์ตนเองได้  นี่จึงเป็นความพร้อมที่แท้ก่อนไปโรงเรียน

ส่วนในทางทฤษฎี เด็กๆ จะพร้อมปะทะมนุษย์คนอื่นได้อย่างดีคือเพื่อนๆ ที่โรงเรียนเมื่ออายุมากกว่า 6 ขวบขึ้นไป  เรียนรู้วิธีปะทะสังสรรค์ ทะเลาะเบาะแว้งตบตี และคืนดีช่วยเหลือกันและกัน   ธรรมชาติของพัฒนาการจะเป็นผู้ดูแลพฤติกรรมเหล่านี้ให้เองเพราะเด็กๆ  อยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอยู่แล้ว   ส่งไปโรงเรียนเร็วเกินไปเขาทำเรื่องพวกนี้ไม่เป็น  เกิดปัญหาอารมณ์แทรกซ้อนเสียเปล่าๆ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : sotiya.ac.th