มีคุณแม่ท่านหนึ่งโพสต์ฝากเตือนคุณพ่อ คุณแม่ในสื่อโซเชียลมีเดีย ถึงครอบครัวที่เลี้ยงน้องหมา น้องแมว โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ว่าให้ระมัดระวัง เห็บหมัด ที่อาจจะทำให้ลูกน้อยเป็นอันตรายได้ เมื่อคุณแม่พบเห็นความผิดปกติของลูกน้อย จึงพาลูกน้อยไปตรวจหาสิ่งผิดปกติกับคุณหมอ
เห็บหมัด เรื่องใกล้ตัวที่ต้องระวัง
ฝากเตือนบ้านที่มีน้องหมาหน้าฝนนะคะ
วันนี้พาลูกไปฉีดวัคซีน 6 เดือน และให้คุณหมอตรวจสุขภาพตามปรกติ แต่ทุกครั้งที่แม่พาน้องไปฉีด หรือเห็นอาการผิดปรกติของลูกเกาหูจะพามาหาหมอส่องหูทันที เพราะที่บ้านมีน้องหมาชิสุ 3 ตัว ซึ่งแยกสัดส่วนกับน้อง แต่ก็ยังอยู่ในบ้าน ป้องกันหมาทุกอย่าง หยดยา ฉีดยา แช่น้ำยา อะไรที่ว่าหายหมัด ทำหมด แต่เห็บหมัดมันไม่ได้อยู่แค่ตัวหมา มันจะฝังตัวเองตามรู ตามฝาผนัง พอช่วงหน้าฝนจะเยอะมาก แต่ไม่มีอะไรในหู หมอก็จะบอกเป็นพัฒนาการของเด็กที่จะเอามือปัดไปทั่ว เมื่อ 2 – 3 วันก่อน แม่เห็นน้องเอามือปัดหู ก็เลยหยดยาละลายขี้หูไป พอตอนเช้าน้องเกาจนหูแดง เลยพามาให้หมอส่อง คุณหมอเจอดำๆ ในหู เลยส่งมาส่องกล้อง แต่น้องยังเล็กเพิ่ง 6 เดือน ไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถคีบออกได้ เลยถูกแอทมิด ให้อดนม ตั้งแต่ 6 โมงเย็น เข้าห้องผ่าตัด ดมยาสลบ หมอให้ดมยาทางน้ำเกลือแป้บเดียวน้องก็หลับ คุณหมอก็ให้แม่ออกมารอข้างนอก ประมาน 20 นาที เสร็จ สิ่งที่คุณหมอเอาออกมาให้ คือเห็บตัวใหญ่ แต่มันตายแล้ว แต่มันยังคาอยู่ในหู ฝากเป็นอุทาหรณ์ ให้กับบ้านที่เลี้ยงน้องหมาดูแลดีๆ นะคะ ตอนนี้น้องปลอดภัยได้ทานนมหลับแล้วค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิธีป้องกันเห็บหมัดบุกบ้านเพื่อลูกน้อย” คลิกหน้า 2
วิธีป้องกันเห็บหมัดบุกบ้านเพื่อลูกน้อย
สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ภายในบ้าน และเป็นกังวลเรื่องเห็บหมัด ว่าอาจจะมาอันตรายให้ลูกน้อยมีอาการเจ็บป่วยได้ แม่น้องเล็กมีวิธีป้องเห็บหมัดจากเว็บไซต์ wikiHow มาฝากเพื่อลูกน้อยค่ะ
1.จัดบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่ปล่อยให้ข้าวของระเกะระกะ เพราะเห็บหมัดอาจซุกซ่อนอยู่ตามซอกตามมุมของบ้านได้ ทำความสะอาดบ้านให้สะอาด อย่าให้มีฝุ่นเกาะจับอยู่
2.ไม่ปล่อยให้เสื้อผ้าที่ยังไม่ได้ซักกองไว้ตามพื้น เพราะเห็บหมัดอาจซ่อนตัว ควรเก็บเสื้อผ้าที่ใช้แล้วใส่เอาไว้ในตะกร้าเพื่อเตรียมซักให้เรียบร้อย เพื่อความมั่นใจว่าซักเสื้อผ้าสะอาด ให้ซักด้วยน้ำร้อน หรือน้ำอุ่น
3.เห็บหมัดชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้น ลองสำรวจพื้นที่ ตัดหญ้าที่ขึ้นสูง พยายามให้แสงแดดส่องถึงภายในบ้าน เห็บหมัดจะเคลื่อนย้ายเพื่อหลบแดด
4.หมั่นตรวจร่างกายของลูกน้อย และสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ ว่ามีเห็บหมัดซ่อนอยู่หรือไม่ พยายามอย่าบีบจนเห็บหมัดแตก เพราะอาจจะแพร่เชื้อโรคมาสู่ลูกน้อย และสัตว์เลี้ยงได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิธีกำจัดเห็บหมัดแบบปลอดภัยเพื่อลูกน้อย” คลิกหน้า 3
วิธีกำจัดเห็บหมัดแบบปลอดภัยเพื่อลูกน้อย
ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ลองสังเกต และพบว่าสัตว์เลี้ยงในบ้านมีเห็บหมัดอยู่ และกังวลว่าจะเป็นอันตรายกับลูกน้อย แม่น้องเล็กมีวิธีกำจัดเห็บหมัดแบบปลอดภัยด้วยสมุนไพรธรรมชาติจาก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝากค่ะ
1.เมล็ดน้อยหน่า บดเมล็ดน้อยหน่าให้เป็นผง แช่ด้วยน้ำที่มีแอลกอฮอล์ 1 ใน 10 ส่วน (10% แอลกอฮอล์) โดยใส่แค่พอท่วมผงเมล็ดน้อยหน่า แช่ทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงค่อยกรองคั้นเก็บส่วนน้ำ แล้วใช้ 10% แอลกอฮอล์หรือน้ำ เทล้างผงเมล็ดน้อยหน่า อีก 2 ครั้ง ด้วยปริมาตรเท่าเดิม จากนั้นกรองคั้นส่วนน้ำมารวมกันเป็นสูตรเข้มข้น ใช้ฉีดพ่นฆ่าเห็บบนตัวสัตว์ได้ทั้งเห็บตัวอ่อนและเห็บตัวแก่ พ่นสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์
2.เมล็ดมันแกว บดเมล็ดมันแกวให้เป็นผง เติมน้ำ 2 เท่า ของน้ำหนักผงเมล็ดมันแกว ต้มนาน 20 นาที ขณะต้มคอยเติมน้ำให้เท่าเดิม อย่าให้น้ำแห้ง กรองส่วนน้ำมาเก็บไว้ในตู้เย็น 7-20 วัน แล้วจึงนำมาผสมน้ำ 5 เท่า ฉีดพ่นบนตัวสุนัข ป้องกันเห็บตัวแก่ไม่ให้ออกไข่ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
3.น้ำมันตะไคร้ แกง โดยการกลั่นใบตะไคร้แกงด้วยไอน้ำด้วยชุดกลั่นสำหรับเกษตรกร ใบตะไคร้แกงสด 10 กิโลกรัม กลั่นน้ำมันได้ 40 ซีซี ผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 16 เท่า ใช้ฉีดฆ่าเห็บตัวอ่อนบนตัวโคและสุนัข ถ้าต้องการพ่นฆ่าเห็บตัวแก่ไม่ให้ออกไข่ด้วย ให้ผสมน้ำมันตะไคร้แกงด้วยแอลกอฮอล์ได้เพียง 4 เท่า ฉีดพ่นบนตัวโคและสุนัขสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ห้ามพ่นเข้าตาสัตว์ เนื่องจากผสมกับแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้แสบตา หากถูกตาสัตว์จะทำให้กระจกตาขุ่นและเป็นแผลได้
4.น้ำมันตะไคร้หอม ใช้ชุดเครื่องกลั่นด้วยไอน้ำสำหรับเกษตรกร ได้น้ำมัน 70 ซีซี จากใบตะไคร้หอมสด 10 กิโลกรัม นำน้ำมันตะไคร้หอมที่กลั่นได้มาผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 12 เท่า ใช้ฉีดฆ่าเห็บตัวอ่อนบนตัวโคและสุนัข ถ้าต้องการพ่นฆ่าเห็บตัวแก่ ให้ผสมน้ำมันตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ได้เพียง 3 เท่า ฉีดพ่นตามซอกมุม หลุม ของพื้นบริเวณที่สัตว์นอนหลับ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ถ้าจะพ่นที่ตัวสัตว์ต้องห้ามพ่นเข้าตา เนื่องจากผสมกับแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกัน
5.น้ำมันจากเปลือกผลส้ม บีบน้ำมันจากเปลือกผลส้มโอลูกเล็กๆ ที่เกษตรกรเด็ดทิ้ง ในกรณีที่ติดผลอ่อนมากเกินไป หรือบีบน้ำมันจากเปลือกผลส้มที่ซื้อมารับประทาน โดยบีบให้น้ำมันพุ่งใส่ขวดปากกว้าง แล้วดูดเก็บเฉพาะน้ำมันซึ่งลอยอยู่บนส่วนที่เป็นน้ำ นำมาผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 10 เท่า ของปริมาตรน้ำมัน ใช้ฉีดพ่นฆ่าเห็บโค หรือสุนัข ได้ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ ถ้ามีเปลือกผลส้มจำนวนมาก สามารถใช้วิธีการบีบด้วยไฮโดรลิกหรือโดยการกลั่นด้วยไอน้ำได้
6.มะขามเปียก เป็นสารสกัดจากพืชที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุดใน 6 ชนิดนี้ สกัดด้วยการแช่มะขามเปียกในน้ำ หรือใน 10% แอลกอฮอล์ โดยใช้น้ำหรือ 10% แอลกอฮอล์ในปริมาตร 5 เท่า ของน้ำหนักมะขามเปียก แช่ค้าง 1 คืน แล้วเทเฉพาะสารละลายมาใส่ขวดฉีดพ่นฆ่าเห็บตัวแก่ ตัวเห็บจะถูกสารสกัดจากน้ำมะขามเปียกกัดเป็นแผลตาย การใช้ 10% แอลกอฮอล์แช่สกัดจะทำให้สารละลายที่สกัดได้ไม่มีเชื้อราขึ้นด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!!
โรคฉี่หนู อันตรายใกล้ตัวลูกน้อยที่ชอบสัตว์เลี้ยง
แม่ใจสลาย เมื่อลูกน้อยถูกสุนัขที่มีเจ้าของกัด
พ่อแม่ระวัง! ปล่อยลูกโดนน้ำลายสุนัขและแมว อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่