โนโมโฟเบีย หรือโรคกลัวขาดมือถือ ต้องถือโทรศัพท์มือถือเอาไว้ติดตัวตลอดเวลา ทุกวันนี้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มีอาการเหล่านี้กันมาก ลองสังเกตตัวเองว่าเมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าคุณทำสิ่งใดเป็นอันดับแรก และทำสิ่งใดอันดับสุดท้ายก่อนนอน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อลูก ติดมือถือจนลงแดง
ติดมือถือจนลงแดง กับข้อเสียที่น่ากลัว
คนในยุคดิจิตอลติดสมาร์ทโฟนจนกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย มองไปทางไหนก็มีแต่คนทำท่าทางจดๆ จ้องๆ จิ้มจอสี่เหลี่ยม หลายคนมีอาการเสพติดมือถือ ชอบถ่ายรูป ชอบโพสต์ ชอบแชร์ และเช็คมือถืออยู่บ่อยๆ แค่ได้ยินเสียงเตือนเบาๆ แล้วไม่ได้หยิบขึ้นมาดูก็รู้สึกกระวนกระวายใจ อาการเหล่านี้เรียกว่า “โมโนโฟเบีย” โดยที่เราก็ไม่รู้ตัว
โนโมโฟเบีย ย่อมาจาก “no mobile phone phobia” เป็นศัพท์ที่ YouGov องค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2008 ใช้เรียกอาการที่เกิดจากความหวาดกลัวการขาดมือถือ จัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ให้กลุ่มวิตกกังวล
ถ้าอยู่ในที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือแบตเตอร์รี่หมด จะรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย บางคนอาจมีอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และจากการสำรวจทั่วโลก พบว่ามีคนเป็นโมโนโฟเบียมากขึ้น ตั้งแต่ยุคดิจิตอลเข้ามาครอบงำ รวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ชอบเล่นเกม ชอบทำกิจกรรม อัพเดตข่าวสาร และเป็นในกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ด้วยนิสัยที่ชอบคุย ชอบสนใจสิ่งรอบๆ ตัวมากกว่าผู้ชาย
มีคนจำนวนไม่น้อยที่เกิดอุบัติเหตุจากความประมาทขณะใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น พลัดตกท่าเรือ พลัดตกท่อระบายน้ำ หรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุรถชน
โรคโนโมโฟเบีย กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก และเยาวชน และพบในเด็กที่มีอายุน้อยลงมากขึ้นทุกที ซึ่งจากการสำรวจเด็กในเกาหลีใต้ 1,000 คน พบว่า เด็กอายุ 11-12 ปี มีโทรศัพท์เป็นของตัวเองสูงถึง 72% และใช้งานเฉลี่ย 5.4 ชั่วโมงต่อวัน
จากการศึกษาพบว่า เด็กจะมีปัญหาทางความคิด มีอาการซึมเศร้า กระวนกระวาย สมาธิสั้น อารมณ์ฉุนเฉียว และส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ และการเข้าสังคม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ความเสี่ยงจากการติดมือถือ
1.นิ้วล็อก เกิดจากการใช้มือกด จิ้ม สไลด์หน้าจอ ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ทำให้มีอาการปวดชาที่นิ้ว ปวดข้อมือ เส้นเอ็นข้อมืออักเสบ ถ้ารู้สึกว่านิ้วมือเริ่มแข็ง กำแล้วเหยียดไม่ได้ นั่นคือสัญญาณที่ต้องไปพบแพทย์
2.อาการทางสายตา เมื่อเกิดการเพ่งสายตาที่หน้าจอเล็กๆ เป็นเวลานานเกินไป ทำให้สายตาล้า เกิดอาการตาแห้ง เมื่อนานๆ เข้าจะทำให้จอประสาทตาเสื่อม และวุ้นในสายตาเสื่อมได้
3.ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ คนส่วนใหญ่เวลาที่เล่นโทรศัพท์มือถือ มักก้มหน้า ค้อมตัวลง ทำให้คอ บ่า ไหล่ เกิดอาการเกร็ง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ถ้าเล่นไปนานๆ ก็อาจจะมีอาการปวดศีรษะตามมาด้วย
4.หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร เมื่อนั่งผิดท่า นั่งเกร็งเป็นเวลานาน และทำเป็นประจำจนติดนิสัย ทำให้เกิดอาการปวดอย่างมาก แจต้องผ่าตัดรักษา
5.โรคอ้วน สำหรับคนที่ติดมือถือขนาดหนัก นั่งเล่นอยู่เฉยๆ ทั้งวัน ไม่ลุกไปไหน ร่างกายก็จะไม่เกิดการเผาผลาญ อาหารที่รับประทานเข้าไปก็จะกลายเป็นไขมันที่สะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
อ่านต่อ คลิปอุทาหรณ์ ลูกน้อยติดมือถือจนถึงขั้น “ลงแดง!!” คลิกหน้า 2
ต่อไปนี้คือคลิปเหตุการณ์ตัวอย่าง ที่อยากจะให้คุณพ่อ คุณแม่ดูเอาไว้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ เมื่อหนูน้อยถูกแย่งโทรศัพท์มือถือออกไปจากมือ ก็มีอาการร้องไห้ ชักดิ้นชักงอ เหมือนคนลงแดง ใจแทบขาด แต่เมื่อยื่นโทรศัพท์มือถือกลับคืนให้อีกครั้ง ทารกน้อยกลับเงียบเป็นปลิดทิ้ง เหมือนเมื่อสักครู่ไม่ได้ร้องไห้เลย นี่คืออาการโนโมโฟเบียขั้นรุนแรง ที่คุณพ่อ คุณแม่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข และป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นเช่นนี้
#อาการลงแดง..ของคนติดเฟส ติดไลน์ ครับ..#ระยะสุดท้าย
โพสต์โดย Jakchai Banyensakul บน 31 ตุลาคม 2016
ลูกติดมือถือซะแล้ว ทำยังไงดี?
เพื่อเป็นการป้องกัน คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ปล่อยให้ลูกน้อยเสพติดมือถือจนเกินขนาด เรามาดูวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ลูกน้อยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันค่ะ
1.พยายามให้ลูกน้อยใช้มือถือเท่าที่จำเป็น โดยการหากิจกรรมอย่างอื่นมาทดแทน เช่น การอ่านหนังสือ การออกกำลังกาย หรือเล่นของเล่นสนุกๆ
2.ถ้าลูกรู้สึกเหงา ให้หาเพื่อนคุยให้ลูก แทนการใช้โทรศัพท์ เช่น ชวนเพื่อนมาเล่นที่บ้าน พาลูกไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ เพื่อไม่ให้ลูกหมกมุ่นอยู่กับหน้าจอ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
3.ตั้งกฎว่า ห้ามแตะต้องโทรศัพท์มือถือ เกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด เช่น ไม่เกิน 30 นาที หรือ เพิ่มความห่างในการเล่นโทรศัพท์มือถือให้ได้มากขึ้น
4.กำหนดให้ลูกน้อยนอนในห้องนอนที่ปลอดโทรศัพท์มือถือ ห้ามเล่นก่อนนอน และห้ามหยิบมาเล่นทันทีหลังจากลืมตา
5.ถ้าลูกน้อยมีอาการติดมือถืออย่างหนัก ไม่สามารถห่างจากโทรศัพท์มือถือได้จริงๆ ควรพาลูกน้อยไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้ตรงจุดที่สุด
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ชีวิตเปลี่ยน…เมื่อซื้อมือถือให้ลูกน้อย
หยุดเด็กตื่นมาดูมือถือกลางดึก ภัยเงียบส่งผลอ่อนเพลียที่โรงเรียน
เตือน! พัฒนาการลูกเสียจากมือถือของพ่อแม่
Save
Save
Save