ข่าวพบผู้เสียชีวิตจากการ เปิดแอร์นอนในรถ ที่ยังคงมีให้เห็นเป็นระยะ ทำให้เห็นว่า เรายังขาดความรู้ในเรื่องนี้อย่างแท้จริง หลายคนอาจสงสัยว่า เปิดแอร์นอนในรถ อันตรายอย่างไร? มาไขข้อข้องใจพร้อมกันค่ะ
สองสามี-ภรรยาดับ เพราะ เปิดแอร์นอนในรถ
เหตุการณ์ครั้งนี้ เกิดภายในปั๊มน้ำมันย่านบางนา โดยพบศพสองสามีภรรยาเสียชีวิตอยู่ที่เบาะที่นั่งด้านคนขับ และที่นั่งตอนหน้าของรถเก๋ง จากการตรวจสอบของแพทย์ ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย และเสียชีวิตมาแล้วกว่า 10 ชั่วโมง
พยานในที่เกิดเหตุเล่าว่า รถคันดังกล่าวเข้ามาจอดไว้ติดเครื่องทิ้งไว้ตั้งแต่ช่วงบ่าย จนกระทั่งรุ่งเช้า พนักงานปั๊มไปเคาะกระจกเรียก แต่คนในรถไม่ยอมตื่น จึงเปิดประตูรถออก ทำให้พบว่าคนทั้งสองเสียชีวิตแล้ว
เบื้องต้น จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน พบว่าท่อไอเสียของรถมีร่องรอยฉีกขาด ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่ทำให้ไอเสียไหลเข้ามาในรถ ประกอบกับไม่ได้มีการแง้มกระจกรถไว้ ทำให้ควันพิษกระจายอยู่ภายในห้องโดยสาร เมื่อสูดดมเข้าไปทำให้หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด
ก่อนหน้าที่เคยมีข่าวกรณี “2 แม่-ลูก เปิดแอร์นอนในรถ เสียชีวิต เพราะขาดอากาศหายใจ” ซึ่งต่อมาเมื่อตรวจสอบสาเหตุ พบว่า ท่อไอเสียส่วนท้ายรถที่อยู่ติดกับห้องโดยสารรั่ว จึงทำให้มีก๊าซไหลรั่วเข้าสู่ห้องโดยสารโดยผ่านทางระบบแอร์ของรถ
ซึ่งจากกรณีดังกล่าว ได้มีการทดลองว่าด้วยเรื่องคาร์บอนมอนอกไซด์ในรถทำให้เสียชีวิต พบข้อสรุปที่น่าสนใจและมีประโยชน์กับทุกครอบครัวอย่างมาก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ คาร์บอนมอนอกไซด์ในรถ ทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไร คลิก
ในครั้งนั้น ผศ.นพ. ธีระ กลลดาเรืองไกร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้มีการแจ้งผลสรุปจากเหตุการณ์ดังกล่าวโดย ซึ่งทางคุณหมอ Pranya Sakiyalak ได้นำข้อมูลแมาผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยให้เครดิตโพสต์จาก ผศ.นพ. ธีระ กลลดาเรืองไกร เกี่ยวกับ สรุปการทดลองว่าด้วยเรื่องคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ในรถที่ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนี้
1. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เกิดขึ้นได้จาก การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องจักร, เครื่องยนต์ ไอเสียรถยนต์ ควันไฟไหม้
2. เป็นก๊าซที่ไม่สี ไม่มีกลิ่น และไม่ระคายเคือง ทำให้ไม่ทราบเลยว่า มีก๊าซนี้อยู่ในบริเวณนั้น
3. เมื่อหายใจเข้าไป จะเข้าไปแย่งจับกับเม็ดเลือดแดง แทนที่ของออกซิเจน จึงทำให้ไม่มีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะสมอง
4. ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว (91%) , มึนหัว (77%), คลื่นไส้อาเจียน(47%) อาการอื่นๆ เช่น สับสน ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้
5. ถ้าจำเป็นต้องจอดรถ สตาร์ทรถไว้ และเปิดแอร์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ คำแนะนำจากหมอ จอดรถเปิดแอร์อย่างไรให้ปลอดภัย คลิก
คำแนะนำจาก ผศ.นพ.ธีระ กลลดาเรืองไกร รองผู้อำนวยการ ร.พ.ศิริราช
สรุป คือ
– ถ้าจอดรถอยู่กับที่ สตาร์ทรถไว้ และ เปิดแอร์
—> ควรเปิดระบบหมุนเวียนอากาศ….จากภายนอกรถ
– ถ้าจอดรถอยู่กับที่ สตาร์ทรถไว้ และเปิดแอร์ “แต่จอดอยู่ตามท้ายรถยนต์อีกคัน ซึ่งสตาร์ทรถอยู่ด้วยเหมือนกัน”
—> ควรเปิดระบบอากาศ เป็นหมุนเวียนภายในรถแทน
อ่านต่อ นอนในรถ ให้ปลอดภัย ต้องแบบนี้ คลิก
นอนในรถ อย่างไรให้ปลอดภัย
หากง่วงมากจนขับรถต่อไปไม่ไหว หรือเจ้าตัวน้อยหลับอยู่ที่เบาะหลังขณะจอดรถ คุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไรให้ลูกรักนอนหลับอย่างปลอดภัย เรามีคำแนะนำมาฝาก
- ไม่เปิดแอร์นอนเวลารถอยู่จอดนิ่งๆ เด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้พัดลมของเครื่องปรับอากาศดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาอยู่ในตัวรถ และทำให้คนในรถขาดออกซิเจนจนเสียชีวิต จึงไม่ควร เปิดแอร์นอนในรถ เด็ดขาด
- แง้มกระจก เพื่อให้อากาศถ่ายเทแทน แม้ว่าการลดกระจกลงเล็กน้อย อาจไม่ทำให้รถเย็นเท่ากับเปิดแอร์ แต่ก็ปลอดภัยกว่า แต่ต้องระวังอย่าเปิดกระจกกว้างเกินไป อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีมาทำอันตรายได้
- ใช้พัดลมของเครื่องปรับอากาศ ช่วยได้ ถึงจะเปิดแอร์ไม่ได้ แต่ยังสามารถเปิดพัดลมของเครื่องปรับอากาศเพื่อช่วยหมุนเวียนอากาศภายในรถได้ โดยบิดกุญแจไปที่ on เพื่อให้ระบบไฟทำงาน แล้วกดปุ่ม A/C เพื่อเปิดพัดลม สำหรับวิธีนี้ ไม่ควรนอนนาน เพราะแบตเตอรี่รถอาจหมดได้
- จอดในที่ปลอดภัย จะนอนให้สบายคลายง่วง ต้องนอนให้ปลอดภัยด้วย เลือกที่จอดให้เหมาะ ไม่จอดในที่เปลี่ยว หรือที่ที่อาจถูกเฉี่ยวชนได้
- อย่าลืมล็อครถ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพเข้ามาลักทรัพย์ หรือทำอันตราย ควรล็อครถให้เรียบร้อย ก่อนนอนหลับ
- อย่าจอดรถนอนกลางแดด หากง่วงในเวลากลางวัน ควรหาที่จอดในที่ร่ม เพราะการจอดรถกลางแดดจะทำให้เกิดความร้อนมากกว่าปกติ ทำให้เสียชีวิตจากภาวะฮีทสโตรกได้
ที่มา : ผศ.นพ. ธีระ กลลดาเรืองไกร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
ขอบคุณข้อมูลจาก : คลินิก หมอจตุพร หูคอจมูก ภูมิแพ้
ขอบคุณภาพจาก : คุณหมอ Pranya Sakiyalak , http://hilight.kapook.com/, http://news.ch7.com, moneyguru.co.th
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่