AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่ดีใจได้! รัฐเตรียมขยายสิทธิ ให้ลาคลอด ได้ 6 เดือน

คุณแม่ ๆ มนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย เตรียมดีใจได้เลยค่ะ รัฐบาล เล็งขยายวัน ลาคลอด จาก 90 วัน เป็น 180 วัน หรือ 6 เดือน ให้ เพื่อสอดรับกับกฎหมายใหม่ ที่ส่งเสริมให้แม่ให้นมบุตร 6 เดือน

ขอบคุณภาพจาก : matichon.co.th

โดย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้เผยหลังที่ประชุมว่า ได้รับทราบข้อเสนอถึงแนวทางการส่งเสริมการลงทุนสาธารณสุขเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทั้งด้านแพทย์แผนไทย ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง สถานพยาบาล การลำเลียงขนส่งทางการแพทย์ รับทราบการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบสุขภาพของประเทศ พร้อมรับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในประเด็นการควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก

พร้อมมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นการกำกับและบังคับใช้กฎหมาย ในเรื่องการส่งเสริมการให้นมแม่ในสังคมไทย รวมถึงการหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเด็นการขยายสิทธิการลาคลอดเป็น 180 วัน หรือ 6 เดือน

ทั้งนี้… ตามกฎหมายเดิมได้กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สามารถอนุญาตให้แม่ลาคลอดได้เพียง 90 วัน แต่ในกฎหมายฉบับใหม่นั้นส่งเสริมให้แม่ให้นมบุตรได้ 6 เดือน ดังนั้นจำนวนวันที่ขาดอยู่นี้กระทรวงสาธารณสุขและกรมอนามัยต้องพิจารณา เพื่อออกกฎกระทรวงหรือทำอย่างไรต่อไป เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนขยายสิทธิการลาคลอดให้แม่จำนวน 180 วัน

อ่านต่อ >> “สิทธิการได้รับค่าจ้าง/ค่าลดหย่อนภาษี และประโยชน์ของการใช้สิทธิลาคลอดที่แม่ควรรู้” คลิกหน้า 2


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.dailynews.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อีกทั้งในระหว่างที่คุณแม่ใช้สิทธิลาคลอดบุตร หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก็จะได้รับค่าจ้าง และค่าลดหย่อนภาษี รวมทั้งให้ประกาศเกียรติคุณของสถานประกอบกิจการที่ส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกด้วย

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาความเป็นไปได้ก่อน พิจารณาทั้งข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบอีกครั้ง โดยมีข้อแม้ว่า การลาใน 180 วันนั้น ต้องไม่ให้กระทบการว่าจ้างงานของคุณแม่ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือน ตุลาคมนี้ คาดว่าจะออกประกาศได้ภายในเดือน มี.ค. 2561”

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

สิทธิในการลาคลอด

สิทธิประโยชน์ที่คุณแม่จะได้รับขณะลาคลอด จะช่วยให้คุณแม่ที่ทำงานมีเวลาเตรียมตัวเป็นคุณแม่ได้อย่างเต็มตัวเพื่อดูแลลูกน้อยก่อนและหลังคลอดได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากภาครัฐและเอกชนในช่วงลาคลอดมี ดังนี้

ประโยชน์ของการใช้สิทธิลาคลอด

การลาคลอดเป็นโอกาสที่ดีที่คุณแม่จะได้พักฟื้นหลังจากการตั้งครรภ์และคลอดลูกและเป็นช่วงเวลาอันมีค่าที่คุณจะได้สร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อยเรียนรู้วิธีการดูแลลูกช่วงแรกๆ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะได้ใช้เวลากับลูกน้อยคนใหม่ ดังนั้นจึงควรใช้โอกาสนี้อย่างเต็มที่ อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาดีๆ เหล่านี้สูญเสียไป

สำหรับคุณแม่ที่รับราชการ

มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วันโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ (ซึ่งในปีหน้าจะเปลี่ยนเป็น 180 วัน จากที่พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ได้เผยในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2560)

  1. สำหรับข้าราชการ สามารถรับเงินเดือนได้ตามปกติ 90 วัน โดยรับจากส่วนราชการ
  2. พนักงานรับราชการ สามารถรับเงินเดือนได้ตามปกติ โดย 45 วันรับจากส่วนราชการ และอีก 45 วันรับจากสำนักงานประกันสังคม พร้อมมีสิทธิ์ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่รับเงินเดือน

นอกจากนี้ ยังสามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาทโดยไม่รวมค่ารักษาพยาบาลซึ่งเบิกแยกเป็นกรณีพิเศษได้พร้อมยังได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 50 บาทต่อบุตร 1 คนแต่ไม่เกิน 3 คน จนกว่าบุตรจะมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์

หมายเหตุ:กรุณาตรวจสอบสวัสดิการเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่ท่านสังกัดอยู่

สำหรับคุณแม่ที่ทำงานในบริษัทเอกชน

มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน (เปลี่ยนเป็น 180 วันในปีหน้า เช่นเดียวกับคุณแม่ที่เป็นข้าราชการ) โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์เช่นกัน

ส่วนค่าใช้จ่ายตามกฎหมายแล้วบริษัทจะต้องทำบัตรประกันสังคมให้ทุกท่านคุณสามารถใช้บัตรประกันสังคมเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบของบัตรได้ทันทีโดยจะได้รับสิทธิ์ค่าทำคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาทสำหรับบุตรที่คลอดหลัง 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ยังได้รับเงินช่วยเหลือการหยุดงานเพื่อคลอดบุตร  โดยนายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ 45 วัน และ อีก 45 วัน ประกันสังคมจะจ่ายให้ (โดยผู้ประกันที่เป็นหญิงมีสิทธิเบิกค่าคลอดได้ 2 ครั้งและผู้ประกันตนชายเบิกค่าคลอดบุตรได้ 2 ครั้ง) สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน คิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท

อ่านต่อ >> ประโยชน์ของการใช้สิทธิลาคลอดสำหรับคุณแม่ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจและคุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สำหรับคุณแม่ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจ

คุณแม่ทำงานในรัฐวิสาหกิจสามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาท ไม่รวมค่ารักษาพยาบาลโดยส่วนนี้คุณแม่เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามระเบียบพนักงานรัฐวิสาหกิจ  และยังได้รับเงินช่วยเหลือบุตรจำนวน 50 บาทต่อคนต่อเดือน พร้อมสิทธิ์ลาคลอดได้ 60 วันโดยรับเงินเดือนตามปกติ และลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วันโดยไม่ได้รับเงินเดือน

สำหรับคุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ

ในกรณีที่คุณแม่ประกอบอาชีพอิสระสามารถใช้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคโดยในส่วนของการฝากครรภ์ การสร้างภูมิคุ้มกันโรคของเด็กสามารถเข้ารับบริการได้ฟรี  หรือชำระ 30 บาท สำหรับการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง พร้อมการตรวจรักษารวมถึงค่าห้องและค่ายา

การทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์

หากคุณแม่ทำงานอยู่ในพื้นที่หรือตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์เช่น ทำงานในโรงงานหรือทำงานในตึกที่ต้องขึ้นลงบันไดบ่อยๆเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์  คุณแม่มีสิทธิ์ขอย้ายแผนกหรือย้ายโต๊ะทำงานเป็นการชั่วคราวช่วงก่อนหรือหลังคลอดโดยยื่นเรื่องควบคู่กับใบรับรองแพทย์ ทั้งนี้ กฎหมายคุ้มครองคุณแม่ตั้งครรภ์ยังห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานระหว่าง 22.00-06.00 น. รวมถึงห้ามทำงานล่วงเวลาทำงานในวันหยุด หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลที่มีความสั่นสะเทือน, งานขับเคลื่อน, งานแบกหามหรือยกของหนักเกิน 15 กิโลกรัมหรืองานในเรืออีกด้วย

ในกรณีที่ต้องลางานเพื่อไปพบสูติแพทย์เพื่อตรวจครรภ์

สิทธิ์ในการลาคลอด 90 วันนั้น นับรวมวันหยุดราชการที่อยู่ในช่วงวันลาโดยคุณแม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนจากนายจ้างตามปกติหากมีการเลิกจ้างเนื่องจากตั้งครรภ์ถือว่าผิดกฎหมาย

นอกจากสิทธิ์ในการลาคลอดในโรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากครรภ์มักมีบริการคอร์สเตรียมคลอดให้กับคุณแม่เรียนฟรีโดยส่วนใหญ่จะเรียนครั้งแรกช่วงระยะครรภ์ 3 เดือน และอีกครั้งช่วง 6-9 เดือนซึ่งแต่ละโรงพยาบาลอาจมีตารางเรียนที่แตกต่างกันคุณแม่สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลที่คุณฝากครรภ์

การสงเคราะห์บุตร

♦ หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้คุณแม่มีสิทธิ คือคุณได้จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 หรือมาตรา 39 สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาทต่อบุตรหนึ่งคน  สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

♦ เงื่อนไขบุตรที่ได้รับการสงเคราะห์

เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน(บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)ในกรณีที่ผู้ประกันตนชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสบุตรจึงมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนชายสามารถดำเนินการให้บุตรเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ 3 วิธีคือ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.dumex.co.th