AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อย่าปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว อันตรายไม่รู้ตัว

เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่เป็นอุทาหรณ์ให้พ่อแม่ได้ดี เมื่อมีหนูน้อยคนหนึ่ง กำลังกวาดพื้นบริเวณด้านหน้าของอาคาร อยู่ๆ ก็มีผู้ชายคนหนึ่งเดินผ่านมา แล้วเข้ามาทำร้ายเด็กน้อยโดยไม่ทันตั้งตัว สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนที่พบ อย่าปล่อยให้ลูกน้อยอยู่คนเดียว ป้องกันอันตรายให้ลูกน้อย

จากคลิปผู้ชายคนดังกล่าว เตะหนูน้อยจนล้มลง แล้วใช้เท่าเหยียบบริเวณศีรษะอย่างแรง หลายๆ ครั้ง จากนั้นใช้ไม้ฟาดที่เด็กน้อยหลายหน หนูน้อยพยายามลุกขึ้นมาแต่ทำไม่ได้ จนกระทั่งมีผู้ใหญ่หลายคนวิ่งออกมาช่วยหนูน้อย สร้างความตกใจให้กับคนที่พบเห็น ผู้ชายที่ทำร้ายหนูน้อยเดินออกไปอย่างช้าๆ เหมือนไม่กลัวเกรงอะไร ทุกคนจึงไล่ตามจับผู้ชายคนดังกล่าวเอาไว้ได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

คุณพ่อ คุณแม่ควรระมัดระวัง อย่าให้ลูกน้อยอยู่ตามลำพังคนเดียว แม้กระทั่งหน้าบ้านของตัวเอง ก็อาจไม่ปลอดภัย เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า คนที่เดินผ่านไปผ่านมาตามท้องถนน เป็นคนดี หรือคนร้าย เขาอาจจะไม่ได้เข้ามาทำร้ายลูกของเรา แต่อาจจะมาลักพาตัวลูกน้อยเราไป หรือขโมยทรัพย์สินมีค่าจากลูกน้อย ก็เป็นได้ เรามาเรียนรู้กฎหมาย และสิทธิเด็กที่คุณพ่อ คุณแม่ควรรู้ เมื่อมีคนทำร้ายร่างกายเด็กกันค่ะ

อ่านต่อ “การทำร้ายร่างกายในทางการแพทย์” คลิกหน้า 2

การทำร้ายร่างกายในทางการแพทย์

เมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวเรื่องครูทำร้ายเด็กจนได้รับบาดเจ็บ จึงมีการออกกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กออกมาปกป้องไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ในทางการแพทย์ การทารุณกรรมเด็ก คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเด็ก เช่น ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ล่วงละเมิดทางเพศ หรือทำให้เสียชีวิต หรือทำให้บอบช้ำทางจิตใจ และชักจูงให้กระทำความผิด ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะเด็ก คือบุคคลที่อายุไม่เกิน 18 ปี และไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส

ในประเทศไทย ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองเด็ก โดยมีกฎหมายตั้งแต่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 เพื่อช่วยเหลือ และคุ้มครองเด็ก ให้มีชีวิต และได้รับการพัฒนาอย่างเสมอภาค ได้รับการดูแล ลดการถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ประเภทของการทารุณกรรม

1.การทำร้ายร่างกาย การทำให้ หรือปล่อยให้เด็กได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจเกิดจากความตั้งใจทำ ไม่ใช่อุบัติเหตุ

2.การล่วงละเมิดทางเพศ ทำกิจกรรมทางเพศกับเด็ก โดยที่ไม่ยินยอมพร้อมใจ ไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเข้าใจในการกระทำเหล่านั้น เพื่อทำให้ตัวเองพอใจ

3.การทำร้ายจิตใจ ผู้ปกครองของเด็ก เฉยเมย ไม่สนใจ ข่มขู่ ทำให้หวาดกลัว ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคมซ้ำๆ

4.การทอดทิ้ง ไม่เอาใจใส่ในสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีพ เช่น อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ทำให้เด็กเกิดอันตรายทางร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการเจริญเติบโต และพัฒนาการ

การทำร้ายร่างกายเด็ก

ทางการแพทย์ จะวินิจฉัย และดูแลเด็กที่ถูกทำร้ายอย่างเหมาะสม เพราะเด็กจะทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย และจิตใจ บางคนอาจถึงขั้นเสียชีวิต และบางคนอาจกลายเป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่

อ่านต่อ “ครูลงโทษเด็กด้วยวิธีรุนแรงได้หรือไม่?” คลิกหน้า 3

ครูลงโทษเด็กด้วยวิธีรุนแรงได้หรือไม่?

เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังสำหรับคุณครู เพราะตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการลงโทษเด็ก 2548 ระบุว่าห้ามไม่ให้ลงโทษนักเรียนด้วยวิธีรุนแรง หรือกลั่นแกล้งด้วยความโกรธ การลงโทษเด็กควรมี 4 ขั้น ได้แก่

1.ว่ากล่าวตักเตือน

2.ทำทัณฑ์บน

3.ตัดคะแนนความประพฤติ

4.ให้เด็กทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การตบหน้า ตบศีรษะ ใช้สันไม้บรรทัดตีศีรษะ หยิก ใช้ไม้ตีขา น่อง ก้น อย่างรุนแรงจนเกิดรอยบวมช้ำเลือด หรือสั่งลงโทษให้วิ่งรอบสนามกลางแดดหลายๆ รอบจนเด็กเป็นลมหมดสติ เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ผิดวินัย ผิดจรรยาบรรณ และผิดกฎหมายอาญา ในข้อหาทำร้ายร่างกาย และจิตใจผู้อื่น ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้จะเป็นความผิดลหุโทษ (ความผิดสถานเบา) แต่ก็เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่สามารถยอมความได้ ยกเว้นผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ หรือไม่แจ้งความ แต่ก็ยังมีความผิด เพราะมีความผิดทางวินัยร้ายแรง อาจถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ และสามารถฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งได้

หลีกเลี่ยงการใช้วิธีรุนแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยไม่สนใจเด็ก เพราะคิดว่าตีไม่ได้ จึงไม่ตักเตือน ไม่ใส่ใจ ถ้าคุณครูปล่อยไปแบบนี้ก็ผิดทางวินัยเหมือนกัน เนื่องจากทอดทิ้งในหน้าที่ความเป็นครู ไม่เอาใจใส่เด็กๆ คุณครูจะต้องอบรมสั่งสอนให้เด็กมีความรู้ มีคุณธรรม และเป็นคนดีของสังคมต่อไป

อ่านต่อ “พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก” คลิกหน้า 4

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

เด็ก คือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะจากการสมรส ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หมวดที่ 2 เรื่องการปฏิบัติต่อเด็ก เอาไว้ดังนี้

มาตราที่ 25 ระบุพฤติกรรมที่ผู้ปกครองไม่ควรกระทำ

1.ห้ามทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล ไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยง ในที่สาธารณะ โดยไม่รับคืน

2.ห้ามทิ้งเด็กไว้โดยไม่มีการป้องกัน หรือไม่ดูแลสวัสดิภาพ หรือไม่ได้ให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม

3.ห้ามละเลยให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต และสุขภาพอนามัย จนอาจจะเกิดอันตรายกับร่างกาย และจิตใจได้

4.ห้ามปฏิบัติต่อเด็กในทางที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการเด็ก

5.ห้ามปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

มาตราที่ 26 ระบุว่าห้ามใครก็ตามกระทำการต่อไปนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่

1.กระทำการทารุณกรรมต่อร่างกาย หรือจิตใจเด็ก

2.จงใจละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต หรือการรักษาพยาบาล จนเกิดอันตรายแก่ร่างกาย และจิตใจ

3.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร มีความเสี่ยงต่อการกระทำความผิด

4.ห้ามโฆษณา หรือเผยแพร่ว่าจะรับเด็ก หรือยกเด็กให้คนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ ยกเว้นได้รับอนุญาตแล้วทางราชการ

5.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอมให้เด็กไปขอทาน เร่ร่อน เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด หาผลประโยชน์

6.ใช้ จ้าง วานเด็กให้ทำงาน หรือทำสิ่งที่อาจจะเกิดอันตราย ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และขัดขวางพัฒนาการ

7.บังคับ ยุยง ให้เด็กเล่นกีฬา หรือกระทำการเพื่อหาประโยชน์ทางการค้า โดยมีลักษณะทารุณกรรมต่อเด็ก

8.ใช้ หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนัน หรือเข้าไปในสถานที่เล่นพนัน ค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามไม่ให้เด็กเข้า

9.บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม ยินยอมให้เด็กแสดงการกระทำลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเพื่อการใดก็ตาม

10.จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุรา หรือบุหรี่แก่เด็ก ยกเว้นการกระทำทางการแพทย์

อ่านต่อ “คำแนะนำจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก” คลิกหน้า 5

คำแนะนำจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

ในมาตรา 44 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 แนะนำผู้ปกครองที่รับเด็กปกครองดูแลให้ปฏิบัติอย่างเหมาะสม ดังนี้

1.ระมัดระวังไม่ให้เด็กเข้าไปในสถานที่ที่จูงใจให้เด็กประพฤติตัวไม่สมควร

2.ระมัดระวังไม่ให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน ยกเว้นมีเหตุจำเป็น หรือไปกับผู้ปกครอง

3.ระมัดระวังไม่ให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลที่จะชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย

4.ระมัดระวังไม่ให้เด็กกระทำการอันเป็นเหตุให้เด็กประพฤติเสียหาย

5.จัดให้เด็กได้รับการศึกษา อบรมเลี้ยงดูตามสมควรแก่อายุ สติปัญญา และความสนใจของเด็ก

6.จัดให้เด็กประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัด และความสนใจของเด็ก

7.จัดให้เด็กทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

กฎหมายสิทธิเด็กที่พ่อแม่ควรรู้

กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ได้กำหนดสิทธิพื้นฐานของเด็กไว้ 4 ประการ คือ

1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด ได้รับการเลี้ยงดูทั้งร่างกาย และจิตใจ มีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย ได้รับการดูแลด้านสุขภาพจากบริการทางการแพทย์

2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา ทั้งด้านการศึกษาที่ดี และโภชนาการที่เหมาะสม

3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง ให้รอดพ้นจากการทารุณทุกรูปแบบ เช่น การทำร้าย การนำไปขาย ใช้แรงงาน หาผลประโยชน์โดยมิชอบ

4.สิทธิในการมีส่วนร่วม เด็กมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นต่อสังคมในเรื่องที่มีผลกระทบกับเด็ก

เครดิต: ThaiMusic, วงการแพทย์, กฎหมายไทย, วิกิซอร์ซ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ