นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวหลังการประชุม DDC Forum เกี่ยวกับอันตรายจาก เครื่องทำน้ำอุ่น ระบบแก๊ส โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศเย็น ประชาชน และนักท่องเที่ยวต่างนิยมไปเที่ยวพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ จึงอาบน้ำอุ่น และพบผู้ที่อาบน้ำเสียชีวิต
เครื่องทำน้ำอุ่น ระบบแก๊ส
จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรค และภัยสุขภาพของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปี 2551-2559 มีรายงานว่าตลอด 9 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ทั้งหมด 16 เหตุการณ์ พบผู้ป่วย จำนวน 27 คน และผู้เสียชีวิต จำนวน 6 คน ขณะอาบน้ำในห้องน้ำ เพราะใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส ที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เป็นเพศหญิง 61% พบตามสถานที่พักตากอากาศ รีสอร์ท โรงแรม ที่พักราชการ สถานที่ปฏิบัติธรรม รวมถึงในบ้าน และในโรงเรียนด้วย
จากการรายงานล่าสุดเมื่อปี 2559 พบผู้ป่วย 4 คน หลายเหตุการณ์มีการอาบน้ำต่อเนื่องกันหลายคน ซึ่งพบตั้งแต่ เด็ก อายุ 2 ขวบ – ผู้ใหญ่ อายุ 54 ปี ส่วนใหญ่เกิดในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม โดยเฉพาะในปี 2558 ได้รับการรายงานว่า มีผู้ป่วยสัมผัสกับแก๊สพิษจากการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส จำนวน 4 เหตุการณ์ จากจังหวัดทางภาคเหนือ พบผู้ป่วย 10 คน เสียชีวิต 2 คน
สาเหตุที่ทำให้ป่วย และเสียชีวิต คือ เกิดจากเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส เผาไหม้ออกซิเจนเพื่อทำความร้อน และสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซต์ขึ้นมา ทำให้ห้องน้ำที่ไม่มีระบบระบายอากาศที่ดี เกิดการสะสมของก๊าซพิษ และเมื่อคนสูดดมเข้าไป ก็จะทำให้เม็ดเลือดแดงจับออกซิเจนได้น้อยลง ร่างกายเมื่อขาดออกซิเจนก็เกิดอาการ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ซึม หมดสติ และเสียชีวิต
กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมากที่สุด คือ คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง หอบหืด ถุงลงโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง เมื่อได้รับแก๊สพิษจะมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “คำแนะนำในการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส” คลิกหน้า 2
คำแนะนำในการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส
1.เปิดพัดลมดูดอากาศทุกครั้งที่อาบน้ำ ถ้าไม่มีพัดลม ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส
2.ถ้าอาบน้ำติดต่อกันหลายคน ให้เปิดพัดลมดูดอากาศ และเปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที
3.ไม่ควรอาบน้ำนานเกิน 10 นาที เพราะอาจจะเกิดการสะสมของแก๊สพิษในระดับที่อันตรายถึงชีวิตได้
4.ควรมีคนอยู่ในบริเวณที่สามารถเรียก ขอความช่วยเหลือได้ ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน
6.การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ ให้รีบพาคนป่วยไปยังพื้นที่โล่ง ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก นอนราบ คลายเสื้อผ้าให้หลวม ให้ออกซิเจนถ้ามีถังออกซิเจน ถ้าเกิดหมดสติ หรือหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้รีบช่วยทำให้ฟื้น แล้วส่งโรงพยาบาลโดยด่วน หรือถ้ามีเรื่องฉุกเฉินให้โทรแจ้งสายด่วน โทร.1669
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “แช่น้ำร้อนผิดวิธี เสี่ยงเลือดสุกถึงตาย!” คลิกหน้า 3
แช่น้ำร้อนผิดวิธี เสี่ยงเลือดสุกถึงตาย!
กระทรวงสาธารณสุข เร่งมาตรการคุ้มครองความปลอดภัย คนที่ใช้อ่างอาบน้ำอุ่น ให้ระวัง โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม เตือนประชาชน 3 กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรแช่น้ำร้อน ได้แก่ คนที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน คุณแม่ตั้งครรภ์ และคนที่เป็นโรคผิวหนัง
เนื่องจากการลงแช่น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่าร่างกาย คือสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ถ้าร่างกายปรับตัวไม่ทัน จะกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะในโรงแรมที่มีก๊อกน้ำร้อน น้ำเย็น ที่ให้ผู้ใช้ผสมเอง โดยสาเหตุที่ไม่ให้ 3 กลุ่มเสี่ยงลงแช่น้ำร้อน มีดังนี้
1.คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่มีผลต่อหลอดเลือด และหัวใจ โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวาน จะมีความเสี่ยงเกิดบากแผลพุพองที่ผิวหนัง ที่เท้า และมีการติดเชื้อตามมาได้
3.คนที่เป็นโรคผิวหนัง อักเสบ ติดเชื้อ หรือมีบาดแผล อาจทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น
นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ควรสังเกตอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส และไม่ควรแช่อยู่ในน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งวิธีที่ถูกต้องคือ ก่อนลงแช่น้ำร้อน ให้อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย 20 นาที แล้วใช้มือจุ่มทดสอบความร้อนของน้ำ แล้วค่อยๆ หย่อนตัวลงไปช้าๆ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว และแช่ประมาณ 10 นาที
เครดิต: Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ, ผู้จัดการออนไลน์, MThai
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
[Baby&Kids Easy Steps] อาบน้ำเด็กแรกเกิด อย่างถูกวิธี
มาอาบน้ำลูกรักเบบี๋กันเถอะ
คลิปสุดน่ารัก…เมื่อเด็กแฝดอาบน้ำ ดูแล้วต้องอมยิ้ม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save